พฤติกรรมผู้บริโภค คือ อะไร !? เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุค “ดิจิทัล”

พฤติกรรมผู้บริโภค คือ อะไร!? เปลี่ยนแปลงไป..อย่างไร ในยุค “ดิจิทัล”

พฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นหัวข้อที่ มีการศึกษากันมาอย่างยาวนาน และการันตีในฐานะของนักการตลาดได้ว่า หัวข้อหรือการพูดถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคนี้ จะดำเนินต่อเนื่องไปอีกยาวนานในอนาคตอีกด้วย สาเหตุของความสำคัญและการศึกษาในหัวข้อนี้ ค่อนข้างจะเป็นประเด็น ให้เราต้องนำมาขบคิดเนื่องจากว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคไม่ได้เจาะจงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่นั่น หมายถึง พฤติกรรมของมนุษย์ทั้งหมดที่อยู่ในสังคมในขณะนั้นๆ

 

พฤติกรรมผู้บริโภค คือ ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และ การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไปหรือกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม ในโลก ในแง่มุมของการจับจ่ายใช้สอย ดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านการใช้สินค้าและบริการต่างๆ

 

ดังนั้น จากนิยามของ พฤติกรรมผู้บริโภค ที่มีอยู่นี้ทำให้เรามองลึกลงไปได้ว่าการศึกษาในหัวข้อนี้ก็เปรียบได้ง่ายๆกับการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมของ จิตวิทยา สังคมวิทยา มนุษย์วิทยา ประสาทวิทยา และ ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกับ ชีวิตประจำวันของมนุษย์แต่นำหยิบยกขึ้นมาพูดเฉพาะในหัวข้อของการบริโภคที่เกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยซื้อหากินดื่ม การรับรู้ การเข้าถึง สื่อต่างๆ หรือที่เรียกว่า “การบริโภค” นั่นเอง

 

พฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภค

 

แล้วพฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบันแตกต่างไปอย่างไรบ้างกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในอดีต ถ้าจะมองกันอย่างง่ายๆ และนึกภาพตามการวิวัฒนาการของมนุษย์ผ่านยุคต่างๆตั้งแต่ ยุคเหล็ก ยุคอุตสาหกรรม ยุคเทคโนโลยี และมาจนถึงยุคปัจจุบันที่เรียกว่า ยุคดิจิทัล

 

วันนี้เราขอเสนอมุมมองสำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

 

9 พฤติกรรมผู้บริโภค ในยุคดิจิทัล

 

1. พฤติกรรมการสั่งซื้อและชำระเงิน เพื่อ ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์  100%

 

ในปัจจุบัน ถ้าใครลองสังเกตการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเองก็ดี หรือ คนรอบข้างก็ดีจะมีการสั่งซื้อหรือชำระเงินเพื่อให้ได้สินค้าที่ตัวเองต้องการ ผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น มากขึ้นทุกขณะ และในไม่ช้าเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นไปอีก ตัวอย่าง เช่น การมี 5G เข้ามาใช้ในประเทศไทย ก็จะยิ่งทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปมากกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว

 

สังเกตง่ายๆว่ามีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เติบโตจากการทำธุรกิจขายของออนไลน์อย่างเดียว โดยไม่มีหน้าร้านแล้วประสบความสำเร็จมีมากขึ้นทุกวัน จึงทำให้เป็นที่สรุปได้ง่ายๆ ว่า พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง แต่บางส่วน ที่เป็นผู้บริโภคในกลุ่มของผู้ใช้หัวโบราณหรือไม่ถนัดและเคยชินกับเทคโนโลยีอาจจะยังไม่พร้อมเต็มที่นัก ในการดำเนินกิจกรรมแบบนี้บนโลกออนไลน์ แต่ก็บอกได้เลยว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้น เกิดพฤติกรรมการสั่งซื้อและชำระสินค้าแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

ดังนั้น หากคุณเป็นธุรกิจหรือเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าต่างๆ และยังไม่เริ่มต้นที่จะให้บริการ หรือ มีระบบชำระเงินสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์แล้วล่ะก็ รับประกันได้ว่าธุรกิจของคุณจะหายไปจากโลกนี้ในอีกไม่นาน เพราะพฤติกรรมผู้บริโภค หันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการ เลือกสินค้า สั่งซื้อสินค้า รวมถึง การชำระเงินเพื่อจ่ายค่าสินค้านั้น เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

พฤติกรรม ผู้บริโภค
พฤติกรรม ผู้บริโภค

 

2. พฤติกรรมการใช้ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าต่างๆเพื่อทดลองสินค้า แต่ เมื่อจะสั่งซื้อ จะดำเนินการบนโลกออนไลน์

 

สำหรับในหัวข้อนี้ อยากให้คุณทุกคนลองสังเกตตัวเอง และ คนรอบข้างว่ามีพฤติกรรมแบบนี้หรือไม่? คือ ยังใช้ชีวิตประจำวันหรือโอกาสพิเศษๆ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ในการช้อปปิ้งหรือเดินห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่ปรากฏว่าเมื่ออยากได้สินค้าอย่างหนึ่งขึ้นมาแบบกระทันหัน ที่ไม่ได้ตั้งตัวมาก่อน เมื่อถึงที่ร้านหรือหน้างานและเตรียมพร้อมจะซื้อสินค้านั้นแล้ว จะเกิดอาการ ที่ว่า อยากจะตรวจสอบว่าสินค้าชิ้นที่อยากได้อยู่นี้ในโลกออนไลน์ เขาขายอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ หรือ มีร้านขายของออนไลน์ร้านไหนบ้าง ที่ให้ ราคาถูก กว่าสินค้าที่กำลังจะซื้อ

 

และ ในบางครั้งหากพบว่า สินค้าที่ประกาศขายอยู่ในโลกออนไลน์นั้น มีราคาถูกกว่าและสามารถจัดส่งแบบด่วนภายในไม่กี่วันก็ได้รับสินค้า เขาเหล่านั้น รวมถึงตัวคุณเองก็เถอะ จะเปลี่ยนการตัดสินใจจากการสั่งซื้อที่หน้าร้านทันที มาเป็นการสั่งซื้อแบบออนไลน์ได้เพียงชั่วพริบตา และนี่แหละ คือ พฤติกรรมผู้บริโภคที่ทำให้ร้านค้าทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า หรือ Shopping Mall ใหญ่ๆกลายเป็นที่สำหรับจัดแสดงสินค้าเพียงเท่านั้น

 

เพราะท้ายที่สุดแล้ว เมื่อลูกค้าหรือผู้บริโภคสนใจสินค้านั้น ก็จะใช้ร้านค้าเหล่านั้นใน การทดลองใช้ หยิบจับ หรือ ได้สัมผัส ดูตัวอย่างของจริง เพียงเท่านั้น และ ไปทำการสั่งซื้อในโลกออนไลน์ เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นแบบนี้ คุณจึงต้องวางแผนอย่างรัดกุมเพื่อให้การตลาดของคุณนั้น ทำไปได้ทุกทิศทุกทางไม่เสียโอกาสโดยที่มีหน้าร้าน แต่ไม่สามารถสร้างยอดขายใดๆได้เลย เพราะนั่น จะทำให้คุณตกหลุมพลางทางธุรกิจและโดนสื่อดิจิทัล เข้ามาครอบงำจนอาจจะหายไปจากโลกนี้ก็เป็นได้

 

พฤติกรรม ของ ผู้ บริโภค
พฤติกรรม ของ ผู้ บริโภค

 

3. พฤติกรรมการ ให้คำติชมหรือร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ ผ่าน สังคมออนไลน์เช่น Pantip หรือ Social Network ส่วนตัว

 

ในสังคมปัจจุบัน ลูกค้าหรือผู้บริโภคทุกคน ล้วนแล้วเป็น เจ้าของสื่อ ด้วยตนเองทั้งสิ้นลายคนยังงง กับคำว่า “เจ้าของสื่อ” Media Owner เพราะว่า ดูจะห่างไกลตัวเองเกินไป แต่ความจริงแล้ว หากคุณเป็นผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีอินเตอร์เน็ตให้บริการรวมอยู่ด้วย และ เป็นเจ้าของมือถือแบบสมาร์ทโฟนมีกล้องและ สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ นั่นหมายความว่า คุณกลายเป็นเจ้าของสื่อได้แล้วโดยอัตโนมัติ

 

เพราะไม่ว่าเรื่องราวของชีวิตหรือการเป็นผู้บริโภคในการช้อปปิ้งเลือกซื้อสินค้าคุณสามารถให้คำติชมหรือร้องเรียนเรื่องราวต่างๆไปบนโลกออนไลน์ได้ทันที หากคุณไม่พอใจในสินค้าหรือธุรกิจแบรนด์เหล่านั้น แต่ในทางกลับกัน หากคุณประทับใจ มีความชื่นชมและนิยมชมชอบในแบรนด์สินค้าหรือการให้บริการของธุรกิจเหล่านั้นคุณก็สามารถใช้สื่อออนไลน์ที่คุณมีอยู่ ประชาสัมพันธ์และให้คำนิยมกับร้านเหล่านั้นได้ทันที

 

เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นปกติประจำวันและสามารถพบเห็นได้อยู่แล้วในทุกๆวันนี้ ลองสังเกตง่ายๆว่า หากคุณจะค้นหาสินค้าบางอย่าง ตัวอย่าง เช่น ครีมกันแดดดีๆ ซักยี่ห้อหนึ่ง ถ้าคุณเข้าไปใน Google คุณก็จะค้นหาในลักษณะนี้ คือ “ครีมกันแดด Pantip” หรือ “รีวิว ครีมกันแดด” แล้วคุณก็จะได้พบกับ เนื้อหาหรือ Content มากมาย ที่บ้างก็มีส่วนที่ผู้บริโภคสร้างขึ้นมาเอง (User Generated Content) หรือ บ้างก็เป็นการนำเสนอและโฆษณาประชาสัมพันธ์จากแบรนด์โดยตรง (Brand’s content)

 

แต่ในส่วนเหล่านี้ คุณก็สามารถเข้าถึงเนื้อหา การติชม การทดลองใช้ การรีวิว รวมทั้ง ความคิดเห็นส่วนตัวของบุคคลที่สามที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าหรือแบรนด์นั้นได้อย่างง่ายดาย และในอีกด้านหนึ่ง สำหรับตัวผู้ประกอบการหรือเจ้าของสินค้าเองก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินกิจการไปอย่างบริสุทธิ์จริงใจและเปิดเผยได้อย่างโปร่งใส เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่การดำเนินกิจการของคุณ มีปัญหา มีการหมกเม็ด หรือ ไม่จริงใจต่อผู้บริโภค คุณก็อาจเป็นที่พูดต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และ นั่นจะยิ่งทำให้แบรนด์สินค้าหรือธุรกิจของคุณประสบความพังพินาศได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น จงระลึกไว้เสมอ ว่า ปัจจุบันผู้บริโภคเป็นเจ้าของสื่อ ดังนั้น จงทำธุรกิจด้วยความบริสุทธิ์ใจและจริงใจต่อผู้บริโภค สุดท้ายก็จะย้อนไปดั่งคำโบราณที่ว่า ลูกค้า คือ พระเจ้า

 

4. พฤติกรรมการหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาสินค้า ตลอดเวลา แม้ในขณะ ช้อปปิ้งในช่องทางออฟไลน์หรืออยู่ในร้านค้า

 

คุณเป็นบ้างไหม? เมื่อจะซื้อสินค้าอะไรก็ตามที จะต้องเปิดมือถือและค้นหาข้อมูลก่อนว่า ปัจจุบันเขาขายกันอยู่ที่ราคาเท่าไหร่? และ มีร้านค้าในโลกออนไลน์ร้านไหนบ้าง? ที่ให้ราคาดีกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ พฤติกรรมนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่เฉพาะบนโลกออฟไลน์หรือทั่วๆไปเท่านั้น แต่มันควบรวมไปถึงพฤติกรรมบนโลกออนไลน์ด้วยซ้ำเพราะหากคุณต้องการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์บางอย่าง แล้วท่องไปในโลกอินเทอร์เน็ต มันจะไม่มี ที่ที่เดียวที่ปรากฏสินค้านั้น แต่สินค้านั้นจะไปโผล่หรือปรากฏให้เห็นได้ในหลากหลายช่องทาง เช่น Marketplace  Facebook หรือ แม้กระทั่งไลน์กลุ่ม LINE Group

 

สินค้าที่คุณอยากได้อาจจะกระจายอยู่ตามช่องทางเหล่านั้น รวมถึง ราคาและการบริการทางด้านการขนส่งก็จะมีรูปแบบแตกต่างไปด้วย สุดท้ายก็ย้อนกลับมาที่ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ พฤติกรรมผู้บริโภค ก็เปลี่ยนไปในรูปแบบเดียวกัน เพราะเมื่อเจอสินค้าบางอย่างที่ผู้บริโภคอยากได้ขึ้นมา ก็มีโอกาสเป็นอย่างสูง ที่ผู้บริโภคคนนั้นจะทำการเปรียบเทียบราคาก่อน มันไม่ใช่เรื่องแปลกอย่างแน่นอน ถ้าคุณไม่พยายามทำการตลาดให้โปรโมชั่น หรือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้ผู้บริโภคคนนั้นรู้สึกว่าต้องซื้อทันที ชำระเงินทันที เพราะ ถ้าผู้บริโภคนึกขึ้นได้ว่า เขาสามารถตรวจสอบราคาได้ก่อน ก็เป็นอันว่า ถ้ามีเว็บไหนหรือช่องทางออนไลน์ไหนที่สามารถให้ราคาได้ถูกกว่าคุณ คุณก็จะกลายเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตัวสินค้านั้น ไปโดยปริยาย โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยแม้แต่น้อย

 

ดังนั้น คำแนะนำในการจัดการกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในลักษณะนี้ ก็คือ คุณควรจะมีโปรโมชั่นและให้ข้อมูล รวมถึง มีการกระตุ้นให้ลูกค้าทำการชำระหรือสั่งซื้อสินค้านั้นทันที ก่อนที่เขาจะเปลี่ยนใจออกไปหน้าเว็บอื่นๆ เพราะผู้บริโภคสมัยนี้มีอำนาจยิ่งกว่าพระเจ้าซะอีก

 

พฤติกรรม ผู้บริโภค
พฤติกรรม ผู้บริโภค

 

5. พฤติกรรมการตอบสนองต่อโปรโมชั่นสินค้าผ่านคน “รับหิ้ว”

 

ปัจจุบัน ห้างร้านหรืองานอีเว้นที่มีการเปิดตัวสินค้าใดๆก็ตาม และ มีการจัดโปรโมชั่นเพื่อให้คนที่มาร่วมงานหรือกำลังช็อปปิ้งอยู่ในห้างและร้านค้าเหล่านั้น ได้รับสินค้าราคาพิเศษ หรือ ได้แม้กระทั่งสิทธิพิเศษบางอย่าง ของพรีเมี่ยม หรือ คูปองส่วนลดอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นโปรโมชั่น เสริมมาให้ในการร่วมงานครั้งนั้น ยังมีหลายแบรนด์สินค้าและธุรกิจหลากหลายที่พยายามทำในรูปแบบเดียวกันนี้ นั่นคือ จัดอีเว้น จัดงานเปิดตัวสินค้า หรือ จัดโปรโมชั่น ลดกระหน่ำ เพื่อดึงคนมาที่ร้านมากๆ แต่ ผลปรากฏว่า ก็จะมีเพียงกลุ่มคนบางส่วนหรืออาจจะได้จำนวนคนที่ไม่ได้ตามเป้า

 

แต่อย่าลืมว่า มีพฤติกรรมผู้บริโภคอีกรูปแบบหนึ่ง ที่แฝงมากับกลุ่มคนเหล่านี้ด้วยนั่น คือ การสั่งซื้อจากคน “รับหิ้ว” บางท่านอาจจะยังไม่เคยได้ยินคำว่า คนรับหิ้ว ก็จะขออธิบายไว้คร่าวๆตรงนี้ เลยว่า

 

คนรับหิ้ว คือ ลักษณะคล้ายพ่อค้าคนกลางทั่วไป นั่นคือ เขาสามารถไปอยู่ในร้านค้า หรือ งาน Event งานเปิดตัวสินค้าใดๆก็ตาม และ เขาจะใช้ช่องทางออนไลน์ของตัวเขาเอง หรือ แม้กระทั่งช่องทางออนไลน์ของร้านค้าและงานอีเวนท์เหล่านั้น ในการเปิดรับคำสั่งซื้อแบบฉับพลันทันที นั่นคือ เขาจะแจ้งว่า พวกเขาสามารถ “รับหิ้ว” สินค้าที่มีโปรโมชั่นพิเศษและราคาดีๆในงานให้กับคนที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้ โดยคิดค่าส่วนต่างหรือค่าจัดส่งเพิ่มเติมขึ้นมาอีกเล็กน้อยเท่านั้น

 

นั่นทำให้ ผู้บริโภคที่ไม่ได้มีโอกาสมาร่วมงานหรือไม่สามารถไปร่วมงานได้ทันในช่วงเวลานั้นๆ สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านคนรับหิ้วเหล่านี้ได้ และ สินค้าที่เป็นโปรโมชั่นเหล่านั้น หากบวกเพิ่มค่าจัดส่งหรือค่าส่วนต่างอีกเล็กน้อยให้กับคนรับหิ้ว มันก็ไม่ได้เป็นสาระสำคัญอะไรกับลูกค้าหรือผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าเหล่านั้น ดังนั้น ในฐานะผู้ประกอบการ เราจำเป็นจะต้องมีเทคนิคทางการตลาด หรือ กลยุทธ์ที่ทำให้กลุ่มของคนรับหิ้วเหล่านั้นสามารถเป็นทีมประชาสัมพันธ์และตัวแทนการขายของเราเพิ่มเติมได้อีกด้วย

 

โดยอาจจะให้พิเศษสำหรับคนที่มารับหิ้วที่อยู่ในงาน เป็นอะไรก็ได้ เพื่อจูงใจให้เขาเหล่านั้นได้ขายออกไปมากๆ ให้งานอีเว้นท์เรายิ่งประสบความสำเร็จในด้านยอดขายได้มากขึ้นไปอีก หรือ แม้กระทั่งให้ทีมงานของตัวเอง หรือ จัดทีมงานของตัวคุณเองเป็นหน่วยรับหิ้วให้พร้อมก่อนเปิดตัว Event หรือการโปรโมชั่นของตัวเองให้พร้อมไว้เลย การกระทำเหล่านี้จำเป็นจะต้องมีการวางแผนไว้อย่างดี เพื่อให้ธุรกิจและแบรนด์ของคุณได้ประโยชน์ให้มากที่สุด รวมถึง ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษที่เขาพึงจะได้อีกด้วย

 

พฤติกรรมการบริโภค
พฤติกรรมการบริโภค

 

6. พฤติกรรมในการเกาะกระแสสังคมต่างๆไม่ว่าจะเป็นสถานที่สินค้าหรือบริการ ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น

 

สินค้าและบริการบางอย่างในยุคนี้ อาจจะไม่ได้ดีหรือพิเศษอะไรมากมายนัก แต่เป็นกระแสทำให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าต้องการอยากมีไว้ครอบครอง หลายท่านที่กำลังคิดว่ามีพฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นจริงเหรอ? ในเมื่อสินค้าหรือบริการก็ไม่ได้เลิศเลอ และ เป็นแบบทั่วไปหาที่ไหนก็ได้ สามารถได้รับความนิยมหรือเป็นกระแสจนถึงขนาดลูกค้าต้องมารอต่อคิวเพื่อใช้บริการหรือซื้อสินค้ากันเลยทีเดียวแบบนี้ก็ได้เหรอ? ในฐานะ ที่ปรึกษาการตลาด ต้องตอบตรงนี้เลย ว่า มีเทคนิคและกลยุทธ์ทางการตลาดมากมาย ที่ใช้ในการสร้างกระแสให้ตัวสินค้าก็ไปตามกระแสสังคมต่างๆ รวมทั้งกระตุ้นให้ลูกค้าสนใจอยากได้จนกระทั่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงจนถึงขนาดเรียกได้ว่าเป็น Trend creator กันเลยทีเดียว

 

รูปแบบที่เห็นกันได้ชัดเจนที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ ร้านอาหารหรือสินค้าที่เป็นกลุ่ม อาหารต่างๆ ที่เมื่อเกิดเป็นกระแสแล้ว ก็จะทำให้มีคนต้องการทดลองกินหรือได้เข้าไปถ่ายรูปเพื่อบอกกับสังคมออนไลน์ ว่า เขาได้มาลองสิ่งนี้แล้วแม้ว่าลูกค้าหรือผู้บริโภคเหล่านั้นยังไม่เคยแม้แต่ได้รับรู้รสชาติหรือฟังคำรีวิวต่างๆ แค่ขอให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่เกิดขึ้นก็พอใจแล้ว พฤติกรรมผู้บริโภคในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาแล้วยาวนาน แต่ว่า เริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นเมื่อมีสื่อออนไลน์เข้ามาเป็นส่วนผสม ยิ่งสังคมไทยแล้วล่ะก็ เราเคยได้ยินกันมาแล้วอย่างมากมายกับคำว่า “ไทยมุง”

 

ยิ่งมีกระแสตรงไหน คนไทยก็ชอบมุง มุงแม้กระทั่งยังไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังมุงดูอยู่นั้นมันเป็นอะไรกันแน่ แต่ขอให้ได้ตามกระแสเขาก่อน ไม่ตกยุค รวมอยู่ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ หรือ เป็นกลุ่มคนแรกๆที่ได้ทดลองใช้ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับสิ่งเหล่านั้น ก็จะยิ่งน่าภาคภูมิใจเข้าไปใหญ่ พฤติกรรมของไทยมุง ลักษณะนี้ คุณสามารถหยิบจับมาใช้เป็น กลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างไม่ยาก แต่ ต้องวางแผนและเข้าใจถึงกลุ่มผู้บริโภคให้เหมาะสมกับตัวสินค้าของคุณอย่างชัดเจนและ รับรองว่าคุณสามารถใช้ประโยชน์ หรือ หาจุดเด่นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในข้อนี้ได้อย่างแน่นอน

 

พฤติกรรม ผู้ บริ โภค
พฤติกรรม ผู้ บริ โภค

 

7. พฤติกรรมความเคยชินในการจับจ่ายใช้สอยหรือซื้อสินค้าด้วย เงินดิจิตอล หรือเงินในรูปแบบ ดิจิทัล

 

ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย หลายแห่งเริ่มทยอย ปิดสาขา ต่างๆ ลงกันอย่างน่าใจหาย เพราะอะไรน่ะเหรอ??! คุณก็น่าจะสังเกตได้ด้วยตัวคุณเอง ลองดูในมือถือคุณ คุณก็จะพบ ว่า อย่างน้อยที่สุด คุณจะมีแอพพลิเคชั่นของธนาคารอย่างน้อย 1 แห่งในมือถือ นั่นหมายความว่า ธนาคารไม่จำเป็นต้องเปิดสาขาให้มากมายอีกต่อไป เพราะธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่ สามารถทำได้ผ่านมือถือของคุณเอง และทำได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องออกไปนอกบ้าน ฝ่าฟันรถติดหรือปัญหาการจราจร หรือ แม้กระทั่งฝนตกก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณอีกต่อไป

 

และ พฤติกรรมนี้ก็ยังส่งผลไปเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยหรือสั่งซื้อสินค้าในโลกออนไลน์อีกด้วย เพราะ หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ไม่มีเว็บไซต์ในรูปแบบ Ecommerce ไม่มีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านการเลือกสินค้าเข้าตะกร้าในรูปแบบที่เว็บไซต์ใหญ่ๆทำกัน คุณก็ยังสามารถให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที โดยการโอนเงินในรูปแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารต่างๆ หรือ ระบบพร้อมเพย์ที่ภาครัฐพยายามสนับสนุน หรือ แม้กระทั่ง Application และระบบต่างๆที่เอกชนนำเสนอกันอยู่ทุกวันนี้ อย่างเช่น True wallet หรือ LINE pay รวมทั้ง Application ที่บุกตลาดเข้ามาในประเทศไทยบ้านเราอย่าง App ของจีน เช่น WeChat pay หรือ Alipay

 

เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็น การใช้เงินในรูปแบบดิจิตอลเท่านั้น เพียงคุณฝากเงินเข้าไปในรูปแบบดิจิตอล ตัวเลขก็จะปรากฏขึ้นในแอปเหล่านั้น คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถโอนเงินไปมา และ ชำระสั่งซื้อสินค้าได้ทันทีอีกด้วย ยิ่งง่ายขึ้นมากเท่าไหร่ การช้อปปิ้งหรือการซื้อสินค้าต่างๆก็เกิดขึ้นได้ง่ายเท่านั้น นอกจากนี้ ที่เราเห็นกันว่าการชำระเงินผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆนี้ว่าๆง่ายแล้วยังมีเงินรูปแบบเงินดิจิตอล ออกมาให้เราได้ศึกษาและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับธุรกิจอีก นั่นก็คือ สกุลเงินจำพวกดิจิตอล เช่น bitcoin หรือ อีเธอเรียม

 

ปัจจุบันสกุลเงินเหล่านี้ สามารถใช้สั่งซื้อสินค้าหรือบริการได้แล้วมากมายหลากหลายรูปแบบและอาจจะเป็นที่นิยมมากขึ้นไปอีกในอนาคตคน ดังนั้น หากคุณยังไม่ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค หรือ ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมการจ่ายเงินของผู้บริโภคได้แล้วล่ะก็ เป็นไปได้ว่าธุรกิจของคุณอาจจะมีรายรับน้อยลงน้อยลงจนในที่สุดต้องปิดตัวไปเลยก็ได้

 

พฤติกรรม ของ ผู้ บริ โภค
พฤติกรรม ของ ผู้ บริ โภค

 

8. พฤติกรรมการเข้าถึงและรับรู้รวมทั้งตัดสินใจผ่านเทคโนโลยีเสมือนหรือ AR & VR ในการบริโภคสินค้า

 

ในกรณีนี้ อยากจะหยิบยกวีดีโอ มาเป็นคลิปให้คุณได้ศึกษาด้านล่างนี้ ว่าปัจจุบันผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานที่ ร้านค้า หรือ ห้างสรรพสินค้าเพื่อทดลองสินค้าด้วยตัวเขาเองกันแล้ว เพราะสมัยนี้ เทคโนโลยีในรูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า VR หรือ Virtual Reality และ AR หรือ Augmented Reality เข้ามาเป็นประโยชน์ให้กับทางผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์สินค้ารวมถึงสนับสนุนพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคในยุคนี้ด้วย

 

 

ตัวอย่างในคลิป คือ คุณสามารถทดลองใส่รองเท้า ได้ด้วยการโหลด Application และเปิดกล้องถ่ายรูปถ่ายไปยังเท้าเปล่าของคุณ คุณก็จะได้เห็นว่ามีรองเท้ามาสวมใส่ในเท้าของคุณ ในทันที แถมยังสามารถ เลือกสี เลือกแบบ ที่คุณต้องการได้อีกด้วย เทคโนโลยีนี้ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีในฝันอีกต่อไป ปัจจุบันมีหลากหลายแบรนด์สินค้า ที่พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาเป็นประโยชน์ให้กับธุรกิจและบริการของตัวเองกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัวอย่าง เช่น ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ไม่จำเป็นต้องพาลูกค้าไปถึงสถานที่ได้สามารถทำให้ลูกค้าได้รับรู้และรู้สึกถึงสถานที่จริงได้ผ่านการสวมแว่น VR

 

และ เทคโนโลยีเสมือนจริงเหล่านี้ ก็จะพาคุณเข้าสู่โลกดิจิตอลที่เหมือนจริงจนคุณแทบจะแยกไม่ออกเลยว่าอันไหนคือความจริงอันไหนคือสิ่งที่สร้างขึ้น ปัจจุบันนี้ มันเกิดขึ้นแล้ว และ มันจะยิ่งทวีความเหมือนจริงเข้าไปอีก รวมทั้ง ธุรกิจและแบรนด์สินค้าอีกหลากหลายจะกระโดดเข้ามาใช้เทคโนโลยีนี้ กันอย่างจริงจัง และ รับประกันได้ว่า เมื่อประเทศไทย เปิดตัวการใช้งานเทคโนโลยี 5G ธุรกิจหลากหลายจะต้องหันมาสนใจเรื่องของ Virtual Reality กันอีกอย่างมหาศาล

 

พฤติกรรมผู้บริโภค ก็จะยิ่งเปลี่ยนไปจากเดิมมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังนั้น ในฐานะผู้ประกอบการยุคใหม่อย่างคุณหากไม่สนใจเทรนของเรื่อง VR แล้ว แล้วก็คุณอาจจะล้าหลังหรือย้อนกลับไปเป็น 100 ปีเลยก็ได้ ดังนั้น จงศึกษาเรื่องราวเหล่านี้และถ้าหากมีความสามารถเพียงพอที่จะพัฒนาและประดิษฐ์คิดค้น รวมถึง สร้างสรรค์นำเอาเทคโนโลยีเสมือนมาใช้กับธุรกิจของคุณได้แล้วล่ะก็ มันก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ทางธุรกิจของคุณเอง รวมถึง พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอีกด้วย

 

9. พฤติกรรมลดความภักดีต่อแบรนด์สินค้าและคำนึงถึงประโยชน์เป็นหลัก

 

ความยิ่งใหญ่และความเอาแต่ใจของลูกค้าสมัยนี้ ค่อนข้างเห็นได้ชัด จนถึงขนาดที่นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาด ส่วนใหญ่ ต้องพูดกันว่า ปัจจุบันผู้บริโภคหรือลูกค้าไม่มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้าอีกต่อไป จากประโยคนี้ และ ประเด็นที่พูดถึงกันอยู่นี้ ถ้าเราลองศึกษากันอย่างจริงจัง ก็จะพบสาเหตุว่าทำไม ลูกค้าถึงลดความภักดีต่อ แบรนด์ สินค้าลงไปมาก สาเหตุหลักๆ ก็เนื่องมาจาก ว่า ปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการจับจ่ายใช้สอยหรือเลือกสินค้าที่เขาต้องการอย่างมากมายมหาศาล

 

แบรนด์ใหญ่ๆ ที่ในอดีต ครองพื้นที่สื่อ จนเรียกว่า Mass marketing คือ ไปทางไหนก็จะเห็นแต่สินค้าเหล่านั้น เปิดทีวี เปิดวิทยุ ก็จะ ได้เห็น ได้ยิน แต่โฆษณาของสินค้าเหล่านั้น ในลักษณะนี้ ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไปกับผู้บริโภคในยุคนี้ เนื่องจากว่าสื่อมวลชนหรือสื่อในช่องทางปกติ ไม่ได้มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคอีกต่อไปแล้ว สื่ออย่าง Social Media และ ช่องทางออนไลน์ เกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล รวมทั้งอำนาจในการบริโภคสื่อเหล่านั้น ก็เป็นทางเลือกที่ให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้เอง

 

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงมีช่องทางหลากหลายมากมายในการรับสื่อ ไม่จำเป็นต้องใช้สื่อหลักอย่างโทรทัศน์และวิทยุอีกต่อไปแล้ว การมีอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อในหลากหลายรูปแบบ สำหรับผู้บริโภคไทย ก็จะมีสื่อช่องทางออนไลน์ที่เป็นกระแสหลักๆ อย่าง เช่น Facebook YouTube LINE หรือ Twitter  ช่องทางเหล่านี้ แม้จะดูเป็นแค่ Application ที่ใช้ในการส่องดูเรื่องราวของเพื่อนๆหรือชาวบ้าน แต่ก็ยังเป็นสื่อที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถส่งโฆษณาหรือสร้างการรับรู้ของแบรนด์สินค้าของตัวเองได้

 

ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคมีอำนาจถึงขนาดนี้ ก็ไม่จำเป็นแล้วที่แบรนด์สินค้าดังๆ หรือ ที่ติดตลาดอยู่ในปัจจุบันจะมียอดขายมากที่สุด เพราะแบรนด์เล็กๆที่เกิดใหม่ หรือธุรกิจสินค้าและบริการใดๆก็ตาม ที่สามารถตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภคที่กำลังมองหาความพิเศษหรือความเฉพาะตัว และ แสดงความเป็นตัวตนของพวกเขาเหล่านั้นได้ ผู้บริโภคเหล่านี้ก็พร้อมที่จะจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้นโดยไม่รีรอ ต่อให้สินค้าหรือบริการเหล่านั้นจะมีราคาที่แพงหรือสูงกว่าสินค้าดังๆหรือสินค้าที่เป็นที่รู้จักกันในตลาด สาเหตุนั่นก็เพราะว่า มีบางอย่างในสินค้าแบรนด์เล็กๆที่กระจายอยู่ในสื่อออนไลน์ที่ตอบโจทย์ของผู้บริโภคเหล่านั้นได้มากกว่า ตรงกว่า แม่นยำกว่า รวมถึงให้ความรู้สึกที่ดีในการแก้ปัญหาพวกเขาเหล่านั้นได้มากกว่าแบรนด์ดังๆทั่วไป

 

และนี่ก็คือสาเหตุที่ว่า ทำไมนักการตลาดหรือที่ปรึกษาการตลาด ในปัจจุบันต้องหันมาพูดคำว่า ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันไม่มีความภักดีต่อไป แล้วในฐานะผู้ประกอบการอย่างคุณ จะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในรูปแบบนี้ได้อย่างไร ก็ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า นี่แหละคือ ช่องโหว่ของตลาด ที่คุณสามารถเข้าไปเติมเต็ม และ ช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์เหล่านั้น และ มันจะกลายเป็นจุดเด่นของธุรกิจของคุณ ที่จะยิ่งส่งเสริมให้คุณมียอดขายมากขึ้น ดังนั้น ที่ต้องทำก็คือสำรวจตลาด วิเคราะห์ วิจัยผู้บริโภค แล้วหาช่องว่างเหล่านั้น เพื่อเติมเต็มตลาดที่ยังว่างอยู่ และ หวังว่าคุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนี้กลายมาเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดให้กับธุรกิจของตน

 

พฤติกรรมของผู้บริโภค
พฤติกรรมของผู้บริโภค

 

จากบทความที่คุณได้อ่านมาแล้วทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งสำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคปัจจุบันและเห็นได้ชัดที่สุดจนเราหยิบยกนำมาพูดเป็นประเด็นและนำเสนออยู่นี้ในมุมมองของนักการตลาด ก็ต้องบอกว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ทำให้เกิดกลุ่มใหม่ๆที่น่าศึกษากันอย่างยิ่งในเชิงของการตลาด เพราะถ้าเรายิ่งศึกษาลงไป แล้วก็จะมีกลุ่มก้อนเกิดใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของกลุ่มกลุ่มนั้นเกิดขึ้น และ ยิ่งน่าศึกษาน่าเข้าไปเจาะรวมทั้งยังสามารถนำมาเป็นประโยชน์ให้กับธุรกิจและสินค้าในการเปิดตัวสินค้าหรือธุรกิจบริการใดๆ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นได้ด้วย

 

จะขอยกตัวอย่างไว้คร่าวๆ เพื่อคุณจะสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษากลุ่มเหล่านี้ได้ ตัวอย่าง เช่น กลุ่มมิลเลนเนียล Millenial หรือกลุ่มเด็กยุคใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ตและ Social Media  หรือไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเพศทางเลือกต่างๆ อย่างเช่น LGBTQ ที่ก็มีพฤติกรรมการบริโภคและซื้อสินค้าแตกต่างไปจากกลุ่มทั่วไปด้วย อีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ และมีกำลังซื้อสูงมากๆ นั่นก็ คือ กลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มวัยสีเงิน นั่นเอง กลุ่มนี้มีการเติบโตที่สูงมากเพราะทุกวันนี้ ผู้สูงอายุมากขึ้นทุกวันรวมทั้ง เทคโนโลยีและการพยาบาลดีขึ้นจึงทำให้อัตราการตายลดน้อยลง ดังนั้นกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มที่สำคัญกลุ่มหนึ่งที่นักการตลาดเริ่มมองเห็นโอกาส

 

สรุปง่ายๆ ก็คือ หากเราศึกษา พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มันก็จะยิ่งช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าสินค้าหรือบริการของเรา เหมาะกับคนกลุ่มไหน และในทางเดียวกัน เราก็จะยิ่งรับรู้ได้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคหรือมนุษย์อย่างเราๆ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ไม่ได้ช่วยเพียงแค่การดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ในเรื่องของ มนุษยธรรม จริยธรรม ต่างๆก็เป็นผลพลอยได้ในการนำประเด็นของเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคมาศึกษากันอย่างจริงจังอีกด้วย ที่สุดนี้หากคุณเป็นผู้ประกอบการก็ขอให้คุณใส่ใจในลูกค้าของคุณอย่างจริงจัง ศึกษาพฤติกรรมของพวกเขา แก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ให้กับลูกค้าของคุณได้อย่างตรงไปตรงมา และ มันจะคือคำตอบที่ดีที่สุดที่คุณใช้ทำความเข้าใจ พฤติกรรมผู้บริโภค นั้นเอง

 

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ พฤติกรรมผู้บริโภค ในบทความนี้ง่ายๆด้วยการคอมเม้นและฝากความคิดเห็นไว้ด้านล่างบทความหรือ ง่ายๆที่สุด คือ ทักไลน์ มาคุยกันได้โดยตรงที่ LINE ID : @brandingchamp <<คลิ๊กเลย ผมตอบเองโดยตรง คุยกันได้ง่ายๆสนุกสนานไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆเพราะผมอยากเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างคุณ

 

พฤติกรรม-ผู้-บริ-โภค
พฤติกรรม-ผู้-บริ-โภค

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *