เกษียณเร็ว แล้วไง? เมื่อไทย กลายเป็น สังคมอายุยืน เรียบเรียงโดย อาจารย์แชมป์
เกษียณเร็ว แล้วไง? เมื่อไทย กลายเป็น สังคมอายุยืน เรียบเรียงโดย อาจารย์แชมป์
สังคมอายุยืน
สังคมอายุยืน ในประเทศไทย อะไรจะเปลี่ยนไปบ้าง คำตอบอยู่ที่ว่า อายุยืน มันเป็นยังไง พาไปต่างประเทศกัน ไปประเทศญี่ปุ่น เคยมีพิธีเรียกว่า ซากาซึกิ Sakazuki คือ พิธีที่เอาจอกเหล้าสาเก ให้แก่คนที่มีอายุครบ 100 ปีในวันเกิด เริ่มมาตั้งแต่ปี 1963 ซึ่งก็คือ 50 ปีกว่าแล้ว ทำไปอยู่พักหนึ่ง ในที่สุดญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2015 เลิกไป เพราะว่ามีผู้สูงอายุที่อายุเกิน 100 ปีเยอะเกินไป แจกไม่ไหว แล้วตอนนี้คนญี่ปุ่น ที่มีอายุเกิน 100 ปีมีถึงประมาณ 700 คน
ไปดูทางโลกตะวันตกบ้าง เกิดอะไรกันขึ้นทางตะวันตก พิธีการคล้ายๆกันแต่ต้นทุนถูกกว่า คือ สมเด็จพระราชินีอังกฤษ จะส่งพระราชสาส์นอวยพรแก่คนที่มีอายุครบ 100 ปี แต่เดิมต้องใช้เลขา 1 คน ในการร่างจดหมาย ตอนนี้อังกฤษก็มีคนอายุ 100 ปีเต็มไปหมด เช่นเดียวกัน จึงต้องมีคนช่วยร่างจดหมายถึง 7 คน
ในประเทศพัฒนาแล้ว การมีอายุยืนนาน มาพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
มาดูอายุคาดการณ์ ของคนรุ่นที่เกิดปี 2010 เกิดเมื่อประมาณ 9 ปีที่แล้ว ถ้าเขาเป็นเด็กอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ในญี่ปุ่นเขาจะมีอายุคาดการณ์ 107 ปี แต่ถ้าเป็นคนเกิดในสหรัฐอเมริกาจะมีอายุ 104 ปี
ที่ประเทศพัฒนาแล้วคนที่เกิดและอายุ 9 ปีตอนนี้ จะมีอายุขัย ประมาณเกิน 100 ปี อายุคาดการณ์นี้ ไม่ใช่ที่เราได้ยินกันโดยทั่วไปเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์ เพราะในหนังสือพิมพ์จะรายงานอายุคาดการณ์ที่เรียกว่าคาดการณ์ตามช่วงเวลาทำ Life expectancy ซึ่งไม่ได้คิดผลของการที่เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น
แต่ตัวเลขนี้ เป็นอายุคาดการณ์ที่คิดตามรุ่นอายุ โคฮอท (Cohort Life expectancy) ซึ่งคิดถึงผลของการพัฒนาเทคโนโลยี แต่ว่า คนที่เกิดตอนนี้ กว่าที่เขาจะแก่จะมีเทคโนโลยี มาช่วยให้เขาแก่ช้าลง
เมื่อประเทศพัฒนาแล้ว มีอายุคาดการณ์ตามรุ่นอายุเกินกว่า 100 คำถาม ก็คือ เราทราบไหมว่า คนไทย มีอายุคาดการณ์ตามรุ่นอายุ คำตอบ ก็คือ เราไม่ทราบ นักประชากรในประเทศไทยเรายังไม่ได้มีการเก็บข้อมูล มากพอที่จะให้รู้ว่า โคฮอท ชีวิตของคนไทยเป็นเท่าไหร่ รู้แต่ว่า อายุขัยตามช่วงเวลา เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 4 เดือนครึ่ง
ปัจจุบันเราจึงมีอายุขัยคาดการณ์ ตั้งแต่วันที่เกิด ไปถึง 75 ปีแล้ว ถ้าประมาณการโดยอาศัยความสัมพันธ์ของอายุคาดการณ์ตามรุ่นอายุ ซึ่งแสดงด้วยความสัมพันธ์กับอายุคาดการณ์ตามช่วงเวลา ใช้ความสัมพันธ์นี้ ลองมาประมาณการดูว่า อายุคาดการณ์ตามรุ่นของไทยแบบเตาๆ คำตอบที่ได้ อายุคาดการณ์ของคนไทยมีช่วงอยู่ตั้งแต่ 80 ถึง 90 ปี แสดงว่าคนไทยที่เกิดในปี 2559 อาจจะมีอายุคาดการณ์เกือบ 100 ปีไปแล้ว
เช่นเดียวกันถ้าเป็นอย่างนั้นก็แปลว่า ต่อไป การที่คนมีอายุ 100 ปีในประเทศไทยอาจจะกลายเป็นค่าเฉลี่ย ที่เราจะมีอายุสูง ขณะนี้ พยานหลักฐานหนึ่งที่อาจจะชี้ว่า ข้อสันนิษฐานนี้ อาจจะไม่ได้มากเกินไป คือ
ปัจจุบัน เรามีคนไทยที่มีอายุยืนมากขึ้น คนไทยที่มีอายุยืน 100 ปี ปัจจุบัน ตามข้อมูลของการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติมีถึง 9041 คนที่ปี 2560 เกือบหมื่นกว่าเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราถอยนิดนึงดูคนอายุ 90-99 ปี ที่อีกไม่นานเขาจะมีอายุ 100 ปี ถ้าเขารอดมาได้ มีคนอย่างนี้อยู่อีกเกือบ 170000 คน
ในปัจจุบันนี่คือ สิ่งที่เราก็ตกใจกันแล้ว ถ้าเกิดเราไปดูข้อมูลคนอายุยืนเช่นคนเกิน 100 ปี ตามทะเบียนราษฎร์ข้อมูลจะเยอะมากกว่านี้อีก ตัวเลขจะสูงกว่านี้อีก แต่เราเลือกเชื่อข้อมูลของการสำรวจมากกว่า ก็เป็นไปได้ว่าคนที่มีอายุเกิน 100 ปีตามทะเบียนราษฎร์ อาจจะสิ้นชีวิตไปแล้ว แต่มีคนไม่ได้ไปแจ้งชีวิตให้เท่านั้นเอง
สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อคนไทย อายุมากขึ้น สุขภาพโดยรวมจะดีขึ้นด้วย นี่เป็นข่าวดี ถ้าปีนี้เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่าค่าการเฉลี่ยในการมีสุขภาพดีขึ้น อายุค่าการเฉลี่ยเพิ่มสูง การสำรวจยังชี้ว่า ผู้สูงอายุ ที่ตอบว่าตัวเองนั้น มีสุขภาพไม่ดี มีสัดส่วนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ไม่ใช่อายุยืนขึ้น สุขภาพโดยรวมดีขึ้นเท่านั้น ประสาทสัมผัสของผู้สูงอายุก็ชัดขึ้น เช่น มองเห็นชัดโดยไม่ต้องใส่แว่นมากขึ้น ได้ยินชัดโดยไม่ต้องใส่หูฟังก็มากขึ้น สามารถทานอาหารได้โดยใส่ฟันปลอม นี่คือ สัญญาณที่ดี
แต่ก็มีสัญญาณไม่ค่อยดี เช่นเดียวกัน ผู้สูงอายุ ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เบาหวานเยอะขึ้น เป็นโรคความดันโลหิตสูงขึ้น โรคเหล่านี้ เป็นโรคเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งก็แปลว่า หากเราวางแผนรักษาสุขภาพให้ดี คนไทยก็จะสามารถสุขภาพดีขึ้นได้ด้วย
สาเหตุที่ผู้สูงอายุของไทยจำนวนนึง ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมาก ก็เป็นเพราะว่า การออกกำลังกาย การออกกำลังกายลดลงในช่วงกลุ่มต่างๆ และการทำกิจวัตรพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหาร การแต่งตัว ใช้ห้องน้ำด้วยตัวเองก็ลดลงไป
ในอีกด้านนึง เราดูเรื่องสุขภาพมาแล้ว มาดูเรื่องการศึกษาและการทำงานผู้สูงอายุของไทย สาเหตุที่ผู้สูงอายุทำงาน อาจจะมีหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นการที่ท่านอยากจะหาความหมายในชีวิต ยังเห็นว่าตัวเองแข็งแรงอยู่ หรือ อาจจะเป็นเพราะว่าไม่มีทางเลือก เพราะถ้าไม่ทำงานแล้วจะไม่มีรายได้
เราจะเห็นว่าเดี๋ยวนี้ ผู้สูงอายุ มีรายได้หลักมาจากการทำงานมากขึ้น ได้เงินจากบุตรหลานลดลง จากคู่สมรสลดลง ยอดเงินออมของตัวเองลดลงด้วยต้อง ทำงานนานยิ่งขึ้นด้วย
ในด้านสังคมและด้านครอบครัว ผู้สูงอายุของไทย อยู่โดยลำพังมากยิ่งขึ้น และทำกิจกรรมตามความสนใจมากขึ้น เราจะเห็นสัดส่วนขึ้นจากก้าวกระโดด ตอนนี้เกือบถึง 7 เปอร์เซ็นต์แล้ว
และถ้ามาดูวิธีการใช้ชีวิต ว่า ผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมอะไร ก็จะเห็นว่าทำกิจกรรมในละแวกบ้าน หมู่บ้าน และ ชุมชนลดลง แต่ทำกิจกรรมตามความสนใจสูงขึ้น เช่น ไปชมรมผู้สูงอายุ ทำกิจกรรมต่างๆ ไปเล่นไพ่กัน ไปทำอะไรต่างๆสูงขึ้น
เชื่อว่า ผู้สูงอายุของไทย น่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางออกจากบ้าน และต้องไปอยู่ในเมือง
กลับมาดูส่วนที่ใกล้ตัวที่สุดในโลก คือ ส่วนอยู่ที่บ้าน บ้านของผู้สูงอายุของไทย ยังมีส่วนที่ต้องปรับปรุงและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ทุกวันนี้ ผู้สูงอายุ อาศัยอยู่ชั้น 2 ยังมีถึง 22 เปอร์เซ็นต์ซึ่งลดลงแล้ว จากเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ ที่อยู่ชั้น 2 ถึง 32 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่ย้ายมาอยู่ชั้นล่าง เพราะว่าเดินขึ้นกระไดไม่ไหวกัน มาอยู่ชั้นล่าง แต่ก็ต้องมีการปรับปรุงบ้านเช่นเดียวกัน
ส่วนหนึ่งในบ้าน ในห้องน้ำ เราก็จะพบว่าผู้สูงอายุของไทย ในปัจจุบันที่ยังไม่ได้ใช้ ห้องน้ำที่มีชักโครกแบบนั่งห้อยขาได้ ยังมีประมาณอีกครึ่งหนึ่ง ซึ่งตรงนี้ก็คือ ความท้าทายและในเวลาเดียวกัน ก็คงเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วย
ในการปรับปรุงบ้าน ปรับปรุงห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่พูดมา ก็จะเห็นว่าคนไทยอายุยืนขึ้น เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่าคนอายุ 60 สมัยนึง อาจจะเป็นคนที่สูงอายุมาก
แต่ปัจจุบันอายุ 60 น่าจะไม่ใช่อายุที่เรียกว่า ผู้สูงอายุ วัยเกษียณ พูดไปแล้ว อายุเป็นเพียงตัวเลข หรือ เป็นเพียงสิ่งสมมุติ การที่เราจะวัดว่า เราอายุเท่าไหร่ โดยวัดจากปีปฏิทินว่าเกิดปีไหนไล่มาแล้วถึงเท่าไหร่ การวัดอายุแบบนี้ ตามจริงแล้ว เป็นเพียงปรากฏการณ์ของสังคมสมัยใหม่
ซึ่งในอดีตก่อนหน้านั้น ถ้าเราไปดูสังคมชนเผ่า ก็จะเห็นว่า คนชนเผ่าต่างๆ ดูว่าตัวเองแก่ไม่แก่นั้น ไม่เกี่ยวกับอายุ แต่จะดูจากกิจกรรมว่าผ่านพิธีการทางสังคมใดมาก็จะเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น การมองว่าอายุ เป็น อายุตามปีปฏิทิน จึงเป็นวิธีคิดวิธีเดียว ไม่ใช่คำตอบเดียวจะถูก ยังมีอีกหลายวิธี เช่น การวัดอายุตามความรู้สึก เช่น คนอายุ 58 ถ้าแข็งแรง รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนอายุ 40 วันไหนไปพบรักไปมีรักใหม่ อาจจะรู้สึกว่าตัวเองอายุ 14 ก็ได้ จาก 49 เป็น 14 ก็ได้
นอกจากนี้ เราจะมีการวัดอายุได้อีกหลายแบบ เช่น อายุตามบรรทัดฐานของสังคม แต่เดิม เพราะเรามีลูกมีหลาน เลยนึกว่าตัวเองเป็นคนแก่ ถูกเรียกว่าเป็น ปู่ย่าตายาย แต่เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่แบบนี้ ก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปบรรทัดฐานสังคม เปลี่ยนไปตามพัฒนาการทางสังคม
เรายังสามารถวัดอายุตามวัตถุพิสัย เช่น เอาเครื่องมาวัดดูว่าเรามีแรงกดกล้ามเนื้อเท่าไหร่ เราวิ่ง 100 เมตรด้วยความเร็วเท่าไหร่ นี่ก็คือ วิธีวัดอายุ อีกวิธีนึง การวัดอายุโดยวัดเพียงวัดตัวเลข ว่าเกิดมาแล้วกี่ปี น่าจะเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และกลายเป็นที่ไม่เหมาะสำหรับสังคมที่อายุยืน
การจะว่าใครสูงอายุหรือไม่ ดูจากว่า อายุที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกสมัยใหม่ จะให้ความหมายอีกหลายอย่างว่า อายุที่มากขึ้นนั้นไม่ใช่แค่แก่นานขึ้น แต่อาจจะหมายถึง วัยกลางคนยืดขยายออกไป ช่วงวัยรุ่นขยายออก
ชีวิตมีหลายช่วงมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เราคุ้นเคยกับชีวิตที่ มีอยู่ 3 ช่วง ก็คือ เรียนหนังสือ ทำงาน เกษียณอายุ
ต่อไปชีวิตจะมีหลายช่วงนี้ เรียนหนังสือ ทำงาน กลับมาเรียนหนังสือ กลับไปทำงาน กลับไปเรียนหนังสือ กลับไปทำงาน ถึงเกษียณ
หากเราไม่เข้าใจว่าโลกมันเปลี่ยนไป หากเราไม่เข้าใจว่าคนไทยกำลังอายุยืนขึ้น เราจะมีวิธีมองโลกซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงหลายอย่าง ยกตัวอย่าง เช่น เราจะนิยามผู้สูงอายุโดยใช้อายุต่ำเกินไป ประเทศไทยนิยามผู้สูงอายุโดยใช้อายุ 60 ปี ซึ่งก็เป็นนิยามตามสหประชาชาติ ให้เหมาะสมกับการใช้กับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่
แต่ถ้าอายุของคนไทยกำลังเพิ่มสูงขึ้น คล้ายกับคนในประเทศพัฒนาแล้ว เราอาจจะต้องใช้นิยามใหม่ ก็คือ ผู้สูงอายุ 65 ปี
ถ้าเรามองว่า เราอายุยืน โดยที่เราไม่รู้ตัว เราไม่รู้ตัวเราอายุยืนขึ้น เราก็อาจจะลงทุนในทุนมนุษย์ของตัวเราที่บ้าน เช่น การฝึกทักษะการหาความรู้ใหม่ๆ ถ้าเราคิดว่าเราอายุ 60 ปีแล้ว เราแก่แล้วอย่าไปเรียนรู้อะไรเลยเดี๋ยวก็ตาย ถ้าคิดแบบนี้ก็จะเสียโอกาสอีกเยอะ เราอาจจะเลิกทำงานเร็วเกินไป
นี่คือ ปรากฏการณ์ที่เราเป็นห่วงกัน ว่ากำลังเกิดขึ้นกับสังคมไทย จากทางการที่เรามี การกำหนดอายุเกษียณ 60 จากการที่เรา ให้บำนาญคนที่อายุ 55 เราก็พบปรากฏการณ์ที่คนอายุประมาณ 50 กว่าเลิกทำงานกันเยอะแยะแล้ว
คนรุ่นใหม่ อยากจะทำ startup กัน หลังจากนั้นบอกว่าอายุ 40 จะเกษียณ คำถามก็คือ ถ้าเขาอายุใกล้ๆ 100 ปีแล้วเกษียณอยู่ที่อายุ 40 ปี อีก 60-70 ปีชีวิตเขาจะทำอะไร
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าเดี๋ยวนี้ เราอายุยืนขึ้นและหากเราไม่เข้าใจว่า เราอายุยืนขึ้น เราก็จะอยู่ในโลกที่เราอายุยืนโดยมีความสุขน้อยลง
ในกรณีของญี่ปุ่น แต่เห็นว่ามีการขยายอายุเกษียณยาวไปยาวไป เช่น แต่เดิมญี่ปุ่นเท่ากับประเทศไทย แล้วขยายเป็น 62 แล้วขยายเป็น 65 แล้ว ปีก่อนหน้านี้ บรรดาสมาคมแพทย์ผู้สูงอายุของญี่ปุ่น เสนอขยายอายุเกษียณออกไปถึง 75 ปี
นี่คือปรากฏการณ์ที่เราอาจจะเห็นในประเทศไทยในอนาคตอีกไม่นาน ทำไมเราต้องคุยกันเรื่อง สังคมอายุยืน ทำไมเราไม่คุยกันเรื่องสังคมสูงอายุ
เพราะว่า เรื่องของ สังคมอายุยืน นั้น ไม่ใช่เรื่องของเฉพาะ ผู้สูงอายุ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคน เด็กที่เกิดวันนี้ ต่อไปจะมีอายุใกล้ๆ 100 ปี เด็กพวกนี้ คือ เด็กที่จะอยู่ในสังคมอายุยืน ถึงแม้ว่า ในวันนี้เขายังไม่ใช่ผู้สูงอายุก็ตาม
การมองสังคมอายุยืนจะทำให้เราเห็นโอกาส เห็นความท้าทายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยและต้องการ การวางแผน การเตรียมการที่ดี เพราะฉะนั้น สังคมที่เราอยากจะเสนอให้ใช้กันแทนคำว่า สังคมสูงอายุ สังคมสูงอายุเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคมนั้น
ความท้าทาย ที่จะต้องวางแผน เตรียมการจะมีหลายด้าน ทั้งในด้านของการทำให้ประเทศไทยแข่งขันได้สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่องไปได้ ทั้งในด้านของการสร้างเมืองให้เหมาะกับคนทุกวัย ทั้งในด้านของการรักษาสุขภาพ การเก็บออม ให้พอใช้ขึ้นไป จนถึง การทำงาน แล้วก็การเรียนรู้
การรักษาการเติบโตให้ต่อเนื่อง เรามีแรงงานลดลง เรามีผู้สูงอายุเยอะขึ้น เพราะฉะนั้น ตรงไปตรงมาก็คือ เราจะรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเราให้สามารถสร้างรายได้เลี้ยงคนไทยในยุคที่คนไทยอายุ 40 ขึ้นได้อย่างไร และเป็นความสำคัญประการแรก เพราะว่า เราจะมีแรงงานลดลงตลอดเวลา นอกจากแรงงานลดลงแล้ว เราพบว่าคนไทยอายุถึงประมาณสัก 50 หลังจากนั้น Productivities วัดออกมาจะมีแนวโน้มตกลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้คนไทยจำนวนมากออกจากตลาดแรงงานไป
คนไทยอายุ 50-59 ออกจากตลาดแรงงาน ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะนายจ้างเลิกจ้าง อีกส่วนหนึ่ง ก็คือ การได้สิทธิ์บำนาญที่อายุ 55 ปี
ความท้าทายว่า เราจะรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างไรในสังคมที่คนไทยอายุยืนขึ้น การที่คนงานลดลง จะมีผลในการลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยโดยเฉลี่ย ตลอด 30 ปีข้างหน้านี้ ลงประมาณปีละ 18% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใหญ่พอสมควร
เราจะมีวิธีการแก้ยังไง มีหลายทางเลือก
ทางเลือกแรก คือ ลดการออกจากตลาดแรงงานของคนอายุ 50-59 ปี ถ้าเราเพิ่มโปรดักติวิตี้ของคนอายุ 50-59 ได้ ประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์ผู้สูงอายุ ก็จะกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้มากขึ้นเพราะทำงานแล้วคุ้มมากยิ่งขึ้น ก็จะแก้ไขปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดลง ถ้าดึงคนอายุ 60-69 ที่ออกจาก ชุดใหญ่มาแล้วกลับเข้ามาด้วย โดยทำให้เขามีส่วนร่วมมากขึ้นจากการฝึกทักษะแรงงานใหม่ๆ ก็จะแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง ก็จะมีผลในทางสังคมอีกหลายประการ โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุแทนที่จะอยู่กับบ้านเฉยๆ ก็จะทำให้มีสุขภาพดีขึ้น มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมดีขึ้นไปด้วย
การเพิ่มกำลังแรงงานใหม่ๆเข้ามา ซึ่งทำได้ 2 วิธี
วิธีแรก คือ การเพิ่มแรงงานต่างด้าวมากกว่าปกติ ปีละประมาณ 1 แสนคน จะช่วยสร้างการเติบโต แก้ปัญหาได้ไปเยอะ ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าแรงงานต่างด้าวนั้น ปกติโดยเฉลี่ยแล้วก็ไม่ใช่คนไทย
เพราะฉะนั้น ต้องมีวิธีบริหารจัดการด้วย วิธีที่ว่าก็คือ การเพิ่มการใช้เครื่องจักร เพิ่มการใช้ระบบอัตโนมัติ ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทย
การใช้เครื่องจักรระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศไทยซึ่งขาดแคลนแรงงาน เรามักวาดภาพวาดเครื่องจัดระบบอัตโนมัติจะมาทดแทนคนงาน ทำให้คนตกงาน แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกอนาคตอันใกล้ของประเทศไทย คือ หากเราไม่มีเครื่องจักรระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์เข้ามา เราจะขาดแคลนแรงงานมหาศาล
เกษตรกร จะเลิกเป็นเกษตรกร ทำแค่เกษตรกรรมอยู่ไม่ไหวเป็นต้น หากใช้เครื่องจักรเข้ามา เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 400 ล้านบาท
อีกวิธีนึง ก็คือการเพิ่มการเติบโตโดยรวม หรือว่า Total Factor productivity ประมาณ 1.1 เปอร์เซ็นต์ต่อปีโดยการสร้างนวัตกรรม สร้างธุรกิจใหม่ สร้างสินค้าบริการแบบใหม่ โดยการวิจัยพัฒนา เป็นต้น
ถ้าทำอย่างนี้ได้ เราก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ นั่นคือ ความท้าทายประกาศแรก ประการที่สอง คือ การที่เราต้องสร้างเมืองให้คนมีพลังสู้ คือ เมืองที่เราอยู่ กรุงเทพฯของเรา เราจะเห็นว่าเราใช้พลังสู้ มากมาย สู้กับการจราจรบนท้องถนน สู้กับมอเตอร์ไซค์บนฟุตบาท สู้กับท่อ สู้กับหลุมกับเสาไฟฟ้า ที่ทำให้เราเดินตามถนนไม่ได้ ต่อไปในเมืองไทยคนอายุมากขึ้นผู้สุงอายุจะมีมากขึ้น
สาเหตุสำคัญ 2 ประการ อย่างแรก คุณออกบ้านไม่ได้เลย มันไม่มีที่ให้เดิน หรือ อย่างที่ 2 ได้ ออกบ้านแล้ว อยู่บนฟุตบาทแล้วมีรถมอเตอร์ไซค์มาชน
ความท้าทายประการที่ 3 คือ การถนอมกาย รักษาใจ ให้พร้อมอยู่ หากเราไม่เตรียมตัว คนที่จะมีอายุสูงเพิ่มขึ้น รักษาสุขภาพให้ดีขึ้นในอนาคต
ถ้าเป็นไปตามแนวโน้มในปัจจุบัน เมื่อถึงปี 2580 เราจะมีคนติดบ้านติดเตียงใกล้เคียง 1 ล้านคน แล้วจะเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดภาระในการดูแล และ ตัวคนที่ติดบ้านติดเตียงเองก็จะมีสุขภาพชำรุดทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วด้วย นี่คือความท้าทายของคนไทย
ความท้าทายที่ 4 รู้หารู้ออม พร้อมอยู่นาน
ถ้าหวังจะพึ่งรัฐบาล คือ พึ่งกองทุนประกันสังคม ข่าวร้าย ก็คือกองทุนประกันสังคมนั้น จะล้มละลายในปี 2590 เงินไม่พอใช้ จะเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมที่อายุยืน เพราะฉะนั้น คงต้องรู้หารู้ออม พร้อมจะอยู่นาน
สุดท้าย เรียนรู้คู่ไปกับทำงาน ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คนเรามีอายุยืนยาวขึ้น การเรียนรู้คู่ไปกับการทำงานในชีวิต หลายช่วงจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น
เราควรจะต้องลงทุนในทุนมนุษย์ของเรา มนุษย์ควรจะต้องลงทุนในอนาคตมีอย่างน้อย 3 กลุ่ม
กลุ่มแรก คือ ทุนมนุษย์เพื่อการผลิต คือ ทักษะความรู้ของเรา คือ ชื่อเสียงของเรา คือ เพื่อนร่วมงานของเรา และ เพื่อนของเราซึ่งวันหลังจะแปลเป็นทรัพย์สิน แปลเป็นเงินเป็นทอง ทำให้เราอยู่ในโลกได้ มีรายได้เพิ่มขึ้น
ทุนมนุษย์ประเภทที่ 2 คือ ทุนมนุษย์เพื่อชีวิตปลายทางดี นี่ก็คือ สุขภาพของเรา ทั้ง สุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งเป็นแหล่งของการที่ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่มีความสุขได้
และ ทุนมนุษย์ประการที่ 3 คือ ทุนมนุษย์ เพื่อการเปลี่ยนผ่าน Transformers เราจะมีชีวิตหลายชั่วโมงมากยิ่งขึ้น อายุยืนยาวขึ้น การรู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น เปิดกว้างต่อสิ่งใหม่ สร้างเครือข่ายกับคนที่หลากหลาย จะทำให้เราเปลี่ยนชีวิต เช่น เปลี่ยนงานเปลี่ยนคู่ครองหรืออะไรก็แล้ว แต่ได้ดีขึ้น เหล่านี้คือสิ่งที่เราจะต้องสร้างขึ้นเป็นทุนมนุษย์ในแบบต่างๆ
มี 2 ปัจจัย ที่จะกำหนดผลตอบแทนในการลงทุนในทุนมนุษย์ของเรา
อันแรก คือ ในโลกของเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ทักษะและความรู้จะล้าสมัยเร็วขึ้น จะทำให้เรามีแรงจูงใจในการลงทุนลดลง แต่ในเวลาเดียวกัน เมื่อเราอายุยืนยาวขึ้นเราก็จะมีเวลาเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการลงทุนที่เราลงทุนมนุษย์ของเรามากยิ่งขึ้นด้วย 2 แรงนี้จะต่อสู้กัน
ประเด็นสำคัญ ก็คือ เราจะต้องเลือกลงทุนในการสร้างความรู้ ในการสร้างทักษะให้ถูกประเภท เป็นความรู้ที่ไม่ถูกยึดทรัพย์ไปตามกาลเวลา พิสูจน์ได้ช้า เก็บเกี่ยวได้ยาว
ความท้าทายต่างๆที่มีอยู่ในสังคมไทย จะอยู่บนพื้นฐานของความท้าทายที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ
ความท้าทายแห่งการบริหารความขัดแย้ง ชี้ให้เห็นว่าคนไทยมีความคาดหวังสูงมาก อยากให้รัฐบาลเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ ด้านบำนาญ ด้านประกันการว่างงาน เป็นต้น
แล้วยิ่งเป็นผู้สูงอายุมาก ก็ยิ่งอยากจะเห็นรัฐเป็นเจ้าภาพในการจัดหาบริการต่างๆมากขึ้นด้วย เพราะฉะนั้น นี่คือ ความขัดแย้งแห่งช่วงวัย ที่อาจจะเกิดขึ้นความขัดแย้งนี้ จะนำมาซึ่งเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบใหม่ของ สังคมอายุยืน
ความขัดแย้งที่ 1
ขอยกตัวอย่างให้ ความขัดแย้งระหว่างการอยากได้บำนาญการอยากได้สวัสดิการรักษาพยาบาลด้านสุขภาพ อันนี้ก็เป็นสวัสดิการที่ คนสูงอายุ คนมีอายุมากที่สุด อยากได้กับสวัสดิการเด็กเล็ก ซึ่งต่อไปจะถูกให้ความสำคัญลดลง เพราะว่าจะเด็กเกิดน้อยลง เงินมีอยู่จำกัด เพราะฉะนั้น ข้อเรียกร้องต่อภาครัฐ ก็จะต่อสู้กันเมื่อต้องแย่งชิงกัน
ความขัดแย้งที่ 2
จะมีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินและเศรษฐศาสตร์ เงินเฟ้อและการว่างงานนั้นเป็นของที่มันต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากได้เงินเฟ้อ แปลว่า ต้องยอมให้ การว่างงานสูง ในสังคมอายุยืนมากขึ้น ผู้สูงอายุมีรายได้มาจากเงินออม ถ้าเงินเฟ้อขึ้นสูง เงินออมจะถูกเงินเฟ้อกัดกร่อนไป
ในขณะที่คนทำงานหนุ่มสาวอยากจะได้ค่าจ้างดีๆ อยากจะมีงานทำ นี่ก็จะเป็นความขัดแย้งตัวหนึ่งที่เป็นไปได้
ความขัดแย้งที่ 3
ก็คือ ความขัดแย้งเรื่องของวิธีคิดคนที่มีอายุมาก มักจะมีแนวโน้มอนุรักษ์นิยม ในความหมายว่า ไม่อยากจะเปลี่ยนแปลง ของเก่าดีอยู่แล้ว ในขณะที่คนหนุ่มสาวอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง
ความขัดแย้งที่ 4
ที่อาจจะมีได้ ก็คือ การอยากรับนวัตกรรมใหม่ กับ การยึดติดกับวิธีการเติม
ความขัดแย้งแบบนี้จะสามารถแก้ไขได้อย่างไร คงไม่ได้มีคำตอบเดียว แล้วความขัดแย้งนี้จะมีทั้ง ด้านบวก ด้านลบ อยู่ทั้งคู่ การเปลี่ยนแปลงก็มีข้อดี การยึดติดกับของเก่าในบางอย่างก็มีข้อดี
ดังนั้น เราต้องการระบบทางสังคมและการเมือง ที่มีเปอร์เซ็นต์คนหลายช่วงวัยได้ตัวแทนจากหลายรุ่นคน เราก็จะได้กติกาของสังคมทางการเมืองที่ทำให้คนหลายรุ่น
ถ้าเรา ดูการแต่งตั้ง สนช. ผ่านมา ที่ตั้งในปี 2557 มีอายุเฉลี่ย 63 ปี โดยมีอายุสูงที่สุดถึง 94 ปี เรียกว่าเป็นค่อนไปทางสูงอายุพอสมควร แต่มาดู ส.ส. เขต ที่มีการเลือกตั้งในปี 2562 เร็วๆนี้จะมีอายุเฉลี่ย เหลือเพียง 22 ปี มีอายุต่ำที่สุดที่ 17 ปี อายุสูงสุด 83 ปี
อายุมากอายุน้อย ไม่ใช่เรื่องดีหรือไม่ดี แต่ในสังคมอายุยืน
คงจะต้องการตัวแทนหลายรุ่นที่มีความหลากหลายมากขึ้นสะท้อนความต้องการที่แตกต่างหลากหลายของคนในสังคม นี่ก็คือภาพว่าอะไรจะเปลี่ยนไปเมื่อไทย เป็น สังคมอายุยืน
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ” เกษียณ เร็ว แล้วไง? เมื่อไทย กลายเป็น สังคมอายุยืน ” ด้วยการคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ หรือ ทักไลน์มาคุยกันได้ที่ @brandingchamp กับผม อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์