Key Message กับ Slogan ต่างกันยังไง
Key Message กับ Slogan ต่างกันยังไง
Key Message กับ Slogan ต่างกันยังไง
key message กับ slogan ต่างกันยังไง ในขอบเขตของการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ ความแตกต่างระหว่าง ข้อความหลัก (Key Message) กับ สโลแกน (Slogan) อาจดูเรียบง่ายเมื่อมองแวบแรก แต่ความเป็นจริงนั้น ทั้งสองมีความห่างไกลกันโดยเนื้อหาครอบคลุมทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา กลยุทธ์การสื่อสาร บริษัทหลายแห่งปล่อยเบลอโดยไม่ตั้งใจสื่อสาร ข้อความหลักของแบรนด์ตน แล้วไปเน้นเป็นคิดสโลแกนการขายให้ฉูดฉาด ซึ่งในความเป็นจริง ข้อความหลักมีความสำคัญอย่างยิ่ง และ ยังห่างไกลจากสโลแกนเพื่อการขายมากนัก
เพื่อความชัดเจนมากขึ้น ลองดู จากตัวอย่างบางส่วนด้านล่างนี้
Brand แบรนด์: L’oreal ลอรีอัล
Key Message ข้อความสำคัญ: รักและตามใจตัวเอง คุณคือคนพิเศษ
Slogan สโลแกน: เพราะคุณคู่ควร
Brand แบรนด์: Nike ไนกี้
Key Message ข้อความสำคัญ: เติมพลัง คุณสามารถบรรลุอะไรก็ได้
Slogan สโลแกน: Just do it เพียงแค่ทำมัน
Brand แบรนด์: Apple แอปเปิ้ล
Key Message ข้อความสำคัญ: อย่าตามฝูงชนแต่เป็นผู้นำเทรนด์ , สดและใหม่
Slogan สโลแกน: Think Different คิดแตกต่าง
แล้ว ข้อความหลัก Key Message คือ อะไรกันแน่?
Key Message คือ แนวคิดหลักหรือความรู้สึกที่แบรนด์ต้องการสื่อถึงผู้ชมหรือฐานแฟน ความคิดหรือความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ที่แบรนด์สร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญโฆษณาหรือโพสต์บนโซเชียลมีเดีย การสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ของคุณ ควรนำผู้บริโภคไปสู่แนวคิดเหล่านี้ในท้ายที่สุด
ยิ่งไปกว่านั้น มันไม่ใช่แค่ เพียงสักแต่พูดเท่านั้น ทั้งนี้ยังต้องรวมถึงการสื่อสารที่ไม่ใช่คำพูด รูปภาพ และสัญลักษณ์ที่ใช้ในการโฆษณา
ตัวอย่างเช่น หาก ข้อความหลัก (Key Message) ของคุณ คือ ” อย่าตามฝูงชน เป็นผู้นำเทรนด์ ” โฆษณาของคุณก็ควรนำเสนอเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม
บุคคลที่มีรูปลักษณ์ล้ำยุค หรือ การกระทำในการประชุมที่ทำให้คุณแตกต่างจากคู่แข่ง
ในทางกลับกัน สโลแกน Slogan คือ วลีที่กระชับและทรงพลังซึ่งใช้ในการถ่ายทอดข้อความสำคัญ บ่อยครั้งที่สิ่งนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของโลโก้และปรากฏอย่างสม่ำเสมอ
เช่น ที่เฟรมสุดท้ายในหนังโฆษณาของแบรนด์ สโลแกนไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับรายละเอียดหรือคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการรวบรวมแก่นแท้ของทั้งบริษัท และ ส่งข้อความที่ยิ่งใหญ่กว่า สโลแกน จะยังคงสม่ำเสมอตลอดหลายปีที่ผ่านมา เว้นแต่การวางตำแหน่งของแบรนด์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม สโลแกนจะเน้นที่ตัวผลิตภัณฑ์มากกว่า เพราะมันจะไปเกี่ยวข้องกับแคมเปญโฆษณาและกรอบการทำงานที่สร้างสรรค์ ดังนั้นในอีกทาง
Slogan หมายถึง คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์และจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งมักจะมีการ เรียกร้องให้ดำเนินการบางอย่าง หรือ มุ่งเป้าไปที่การโน้มน้าวใจ
สโลแกนสำหรับแคมเปญโฆษณา iPhone ของ Apple ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้รวมวลีต่างๆ เช่น “Go iPhone” “Privacy Matters” และ “Life Made Easier on iPhone” สโลแกนเหล่านี้ อาจเปลี่ยนแปลงเมื่อมีแคมเปญใหม่และทิศทางที่สร้างสรรค์ใหม่ๆเกิดขึ้น
คุณลักษณะ | ข้อความหลัก (Key Message) | สโลแกน (Slogan) |
---|---|---|
ความหมาย | ข้อความหลักคือประเด็นสำคัญ คำสัญญา หรือ ข้อความที่องค์กรต้องการสื่อสารกับผู้ฟังหรือผู้ชม | สโลแกนคือคำพูดหรือวลีที่ง่ายต่อการจดจำและสะท้อนถึงแบรนด์หรือแคมเปญโฆษณา |
วัตถุประสงค์ | มีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารประเด็นสำคัญหรือค่านิยมหลักขององค์กร | มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความจดจำและเชื่อมโยงอารมณ์กับแบรนด์ในใจผู้บริโภค |
การใช้งาน | ใช้ในการสื่อสารและนำเสนอข้อมูลที่เป็นรายละเอียดและเชิงลึก | ใช้เป็นวลีประจำแบรนด์ที่สั้นกระชับและซ้ำซากได้ง่าย |
ความยาว | อาจยาวกว่าและมีรายละเอียดมากกว่า | สั้นและกระชับ เพื่อให้จดจำได้ง่าย |
โอกาสที่ใช้ | ใช้ในเอกสารสื่อสาร, การนำเสนอ, และเว็บไซต์ | ใช้ในโฆษณา, สื่อสังคมออนไลน์, และวัสดุส่งเสริมการขาย |
ข้อความหลัก (Key Message) กับ สโลแกน (Slogan) มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในเรื่องของความหมาย, วัตถุประสงค์, รูปแบบการใช้งาน, ความยาว, และโอกาสในการใช้งานในช่องทางต่างๆ ซึ่งทั้งสองมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารและการสร้างแบรนด์
Key Message กับ Slogan ต่างกันยังไง ในทางการตลาด ?
ข้อความหลัก Key Message คือ คำมั่นสัญญา (หรือ อย่างน้อยมันก็ควรจะเป็นเช่นนั้น) แต่บางครั้งมันก็เป็นเพียงคำพูดอันสวยหรูของแบรนด์ ที่ทำเนียนๆเพื่อดึงดูดลูกค้า ดังนั้นโดยมากเราจะเห็นว่าแบรนด์ส่วนใหญ่ ใช้ สโลแกน Slogan ที่เป็นเพียงภาพลวงตา เพื่อมันให้สร้างภาพคำสัญญาที่แท้จริง แต่ดันไม่มีสาระสำคัญอยู่เบื้องหลังเลย
ในฐานะ ที่ปรึกษาการตลาด ผมกลับให้ความสำคัญกับความแตกต่างนี้
คำสัญญา กับ ภาพลวงตา
ธุรกิจขนาดเล็กให้ความสำคัญกับ คำมั่นสัญญา (Key Message) มากกว่าองค์กรขนาดใหญ่ นี่อาจไม่เป็นจริงเสมอไป เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะ ต้องจัดการกับพนักงานที่มีหลากหลายระดับทำให้มีการจัดการได้ยากกว่า
โคตรดี จริงหรือ?
หลายปีที่ผ่านมา ผมใช้บริการจากผู้ให้บริการเช่าโฮสติ้งหรือพื้นที่ฝากเว็บไซต์ของต่างประเทศ ที่ใช้ Slogan ว่า “We eat up the competition” (เรากินคู่แข่งเรียบ) และมี Key message ว่า “XXX is a damn good web host” (XXX คือ พื้นที่ฝากเว็บไซต์ที่โครตดี) เจ้านี้เค้าทำการตลาดให้คนรู้จักได้เป็นอย่างดี ผมจ่ายค่าบริการแบบรายปีด้วยตัวเอง และ ถ้ามีปัญหาอะไร ก็สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ขอความช่วยเหลือได้ทันที และ ฟรี ด้วย ไม่ต้องกังวลกับการหาวิธีแก้ไขด้วยตัวเอง แล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะโดนฟรีแลนซ์รับทำเว็บไซต์หลอกเอา
หลายคนบอกว่า จ่ายรายปีแบบนี้สิ้นเปลืองเงิน ยังไงก็ตาม ผมที่สมัครใช้บริการ กลับคิดว่ามันคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย ไม่ใช่แค่เรื่องค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงิน เมื่อเว็บไซต์พังหรือมีอาการแปลกๆ สิ่งสุดท้ายที่คุณอยากทำคือควานหาคนมาซ่อมมัน แถมฟรีแลนซ์บางทีเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอย่างโหดสำหรับบริการฉุกเฉิน
หลังจากเสียค่าบริการรายปีมาร่วม 7 ปี เว็บไซต์ของผมเกิดติดมัลแวร์ หน้าเว็บไซต์ถูกเปลี่ยน ผมติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านการสนทนาแบบสดๆผ่านการแชท
“เว็บไซต์ของคุณ ติดมัลแวร์ แก้ไขไม่ได้ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษของบริษัทเฉพาะทางด้านนี้และต้องจ่ายเพิ่ม”
“ขอโทษ นั่นคือทั้งหมดที่เราทำได้”
ผมไม่ได้ทางเลือกอื่นใดและไม่ได้ความมั่นใจว่าการใช้เครื่องมือพิเศษนี้จะช่วยได้ ผมติดต่ออีกนับ 10 ครั้ง แต่ไม่มีการแก้ไขใดๆ และ ยังเน้นย้ำให้จ่ายเพิ่มอย่างเดียว ในที่สุด ผมจึงตัดสินใจจ่ายเพิ่ม แต่มันก็ยังไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ เว็บไซต์ยังคงติดมัลแวร์และลามไปเว็บไซต์อื่นๆในพื้นที่เก็บของผมทั้งหมด
ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
เจ้าหน้าที่ได้ทำการปรับเปลี่ยนบางอย่าง ดูเหมือนว่าจะแก้ปัญหาชชั่วคราว อีกไปเกินหนึ่งถึงสองนาที มันก็แสดงอาการอีก ผมติดต่อไปร้องเรียน คุณคิดว่าเกิดอะไรขึ้น? ผมได้รับคำขอโทษ และ บอกว่าสามารถรับเงินจากค่าติดตั้งเครื่องมือพิเศษคืนได้ แต่การจ่ายบริการเช่าพื้นที่ฝากเว็บไซต์รายปี ยังคงตามมาเก็บผมทันที
ข้อคิดจากเรื่องนี้
ผู้บริโภค: ระวัง Key message ที่เป็นการสื่อสารข้อความทางการตลาดเพราะบางครั้งมันก็เป็นคำสัญญา และ ถ้ามันดันขัดแย้งกับ Slogan ให้ เอะใจไว้ซักนิด ในกรณีของผม สุดท้ายผมไม่ได้ใช้บริการโฮสติ้งเจ้านั้นอีกต่อไปแล้ว แม้ว่าเค้าจะดังหรือกินเรียบคู่แข่งเหมือนกับ Slogan ของเขาแค่ไหน แต่ พวกเขาไม่ได้รักษา Key message ที่สัญญากับผมว่า มันจะเป็น พื้นที่ฝากเว็บไซต์ที่โครตดี
ผู้ประกอบการ: ข้อความทางการตลาด Key message ของคุณควรเป็นมากกว่า Slogan สโลแกน ลูกค้าจะตีความสิ่งนี้ว่าเป็นคำสัญญา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถส่งมอบได้
คุณสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นกับบทความ ” Key Message กับ Slogan ต่างกันยังไง ” นี้ได้ด้วยการคอมเมนต์ด้านล่างนี้ หรือ ทักไลน์มาคุยกันได้ที่ @brandingchamp ครับ