เกษียณอายุ ในยุคดิจิทัล จัดหลักสูตรหรือกิจกรรมแบบไหนถึงโดนใจ พนักงานวัยเกษียณ

เกษียณอายุ ในยุคดิจิทัล จัดหลักสูตรหรือกิจกรรมแบบไหนถึงโดนใจ พนักงานวัยเกษียณ

เกษียณอายุ

เกษียณอายุ ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดหรือเป็นพิเศษแต่อย่างใด สำหรับคนไทยยุคนี้ แต่เรื่องที่น่าแปลกกับเป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากกลุ่มคนวัยเกษียณและโครงสร้างของคนแต่ละช่วงวัยที่เป็นประชากรของประเทศไทย 

ตัวอย่าง 20 อาชีพหลังเกษียณ ; ทำอาหาร ทำขนมขาย, ดูแลเด็ก, สร้างที่พักโฮมสเตย์, ทำร้านอาหารหรือร้านกาแฟ, เป็นครู วิทยากร, ปลูกต้นไม้ ทำสวน, ลงทุนตั้งเครื่องหยอดเหรียญ, ขายของออนไลน์, ขายรูปถ่าย, ขับรถรับจ้าง , ช่างซ่อม , นักเขียน , ล่าม, ที่ปรึกษาบริษัท , ขายหัตถกรรมและงานศิลปะ , รับงานในบริษัทเอกชน , พนักงานชั่วคราว , ตัวแทนประกัน , ซื้อแฟรนไชส์ ​​, ลงทุน

อย่างที่รู้กันดีในปัจจุบันว่า ประเทศไทยนั้นเข้าสู่ สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์แล้ว ซึ่งถ้าจะอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆนั่นก็หมายความว่า ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ คือ กลุ่มคนสูงวัยนั่นเองซึ่งตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทย ที่มีเด็กเกิดน้อยลงทุกขณะ แล ะผู้ใหญ่เองก็ มีอัตราอายุยืนมากขึ้นอาจเป็นเพราะความพัฒนาทางด้านการแพทย์และเทคโนโลยี

 

นอกจากนั้น สิ่งที่เกิดตามมาก็ คือ สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้น นั่นก็หมายความว่า บุคคลที่อาจจะกำลังเข้าสู่วัยเกษียณหรือเกษียณแล้วมีมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน คนกลุ่มนี้กลับยังมีสุขภาพแข็งแรงมีวุฒิภาวะมีคุณสมบัติต่างๆนาๆ ทั้งด้านร่างกายที่แทบจะไม่ใกล้เคียงกับผู้สูงวัยเลยนั่นหมายความว่ากลุ่มคนที่เรากำลัง ใช้คำว่า “เกษียณอายุ” เรียกพวกเขาเหล่านั้นกลับกลายเป็นกลุ่มคนที่ยังคงเป็นแรงผลักดันสำคัญของประเทศด้วยซ้ำไป

เกษียณ อายุ
เกษียณ อายุ

ในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็น บริษัท องค์กรเอกชน หรือ จะเป็นหน่วยงานภาครัฐก็จะมีบุคคลที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณหรือกำลังจะเกษียณอายุงานออกจากบริษัทหรือองค์กร ถ้าเป็นข้าราชการก็เรียกว่า เกษียณอายุราชการ นั่นเอง ซึ่งจำนวนกลุ่มคนเหล่านี้ แต่ละปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด จนเป็นที่น่าสังเกตว่าในแต่ละบริษัท รวมถึง หน่วยงานราชการเอง จำเป็นต้องมีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อคืนคุณค่าและคุณประโยชน์ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ เพื่อตอบแทนสิ่งที่พวกเขาได้ทำมาตลอดทั้งชีวิตให้กับหน่วยงานองค์กรหรือประเทศในนาม ข้าราชการ

 

ดังนั้น แต่ละปีก็จะเป็นที่น่าลำบากใจของผู้จัดงานหรือฝ่ายบุคคลที่จำเป็นจะต้องมีการ จัดกิจกรรม จัดหลักสูตรอบรม รวมถึงจัดงานต่างๆสำหรับคืนความสุขคืนคุณค่า คุณประโยชน์ และ มอบความประทับใจให้กับ พนักงาน ข้าราชการ ที่กำลังจะเกษียณอายุออกไป

 

ในฐานะ วิทยากร ที่มีการจัดการบรรยายให้กับกลุ่มผู้เตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณของทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนมาแล้วนับไม่ถ้วน จึงขอใช้บทความนี้เพื่อเป็นการแนะนำให้กับผู้จัดกิจกรรมและหลักสูตรให้กับ กลุ่มวัยเกษียณ หรือ ผู้เตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ เพื่อจะได้เป็นแนวทางและเข้าใจว่าหลักสูตรไหนเหมาะสม หรือ หลักสูตรไหนมี ข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

 

5 หลักสูตรและกิจกรรม สำหรับ งานเกษียณอายุ ชองพนักงานและข้าราชการวัยเกษียณ

 

1. กิจกรรมสันทนาการ นันทนาการ และ ปาร์ตี้สังสรรค์งานรื่นเริง โดนใจวัยเกษียณ

สำหรับการจัดกิจกรรมสำหรับผู้เตรียมตัวเกษียณมีระยะเวลาสั้นๆ อาจจะหนึ่งวัน หรือ นอกสถานที่ ที่ต้องไปพักค้างแรมเพียงหนึ่งคืน กิจกรรมสันทนาการนันทนาการและปาร์ตี้สังสรรค์งานรื่นเริงต่างๆ จะเหมาะสมที่สุดสำหรับกลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณ เพราะเนื่องจากว่าจะได้เฮฮาปาร์ตี้แล้ว ยังสามารถเป็นงานที่พูดคุยกันอย่างเฮฮา สำหรับพนักงานหรือบุคลากรที่ทำงานด้วยกันมาอย่างยาวนาน อาจจะเป็นการปรับทุกข์หรือพูดคุยเรื่องในอดีตที่ทำให้นึกย้อนไปแล้วมีความสุขสนุกสนาน รวมถึง ได้รำลึกถึงวันเก่าๆอีกครั้ง 

 

นอกจากนั้น การมีกิจกรรมบันเทิงรื่นเริงก็เหมาะสมกับกลุ่มวัยเกษียณหรือผู้เตรียมพร้อมเกษียณด้วย เนื่องจากไม่ต้องมีความตึงเครียดกดดันใดๆ เช่น กิจกรรมสนุกสนาน อย่างการร้องเพลงคาราโอเกะ หรือ การเชิญนักร้องหรือดารารับเชิญ มาร่วมทำกิจกรรมปาร์ตี้ให้โดนใจกับคนกลุ่มนี้ โดยส่วนใหญ่ก็การันตีได้ว่า กิจกรรมแบบนี้เป็นที่ชื่นชอบอย่างแน่นอน 

 

แต่อย่างไรก็ดี สำหรับกิจกรรมในลักษณะนี้ ก็มี ข้อเสีย หรือข้อที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งนั่นก็คือ รูปแบบการจัดงาน รวมถึง ความสมบูรณ์แบบของกิจกรรมนี้ด้วย ตัวอย่าง เช่น ความคาดหวังในด้านความสนุกสนานของกิจกรรมความคาดหวังในด้านรสชาติอาหารเครื่องดื่ม หรือ ความคาดหวังในตัวนักร้องหรือ ดารารับเชิญที่ถูกรับจ้างมาร่วมงาน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็มักเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ แต่สำหรับกลุ่มคนที่เป็นวัยเกษียณแล้วละก็ นี่คือความประทับใจครั้งสุดท้าย ที่บริษัทหรือหน่วยงานองค์กรสามารถทำให้พวกเขาได้ มันจึงเป็นความคาดหวังที่ยิ่งใหญ่พอสมควร ดังนั้น ผู้จัดงานหรือกิจกรรมจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญในส่วนนี้เป็นอย่างยิ่ง

เกษียณ อายุ
เกษียณ อายุ

 

2. ท่องเที่ยวแบบสมวัย ใกล้ ไกล เที่ยวหลากสไตล์ ทั้งในและนอกประเทศ

มีความคล้ายกันกับเรื่องของงานกิจกรรมในข้อที่หนึ่งอยู่พอสมควรแต่สำหรับการจัดทัวร์สำหรับ กลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณอายุ เป็นเรื่องที่บริษัทหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆมักทำอยู่เป็นประจำ เมื่อมีงานสำหรับกลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณ การจัดทริปท่องเที่ยวสำหรับพนักงานบริษัทเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยปกติ แถมยังสามารถที่จะจัดหลายหลายครั้ง สำหรับกลุ่มพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรที่แตกต่างกันไปได้ 

 

ปัจจุบันมีบริษัททัวร์ต่างๆมากมาย บริษัทที่เป็นเอเจนซี่ ที่สามารถจัดทริปการท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือจะเป็นท่องเที่ยวต่างประเทศ ก็มีให้เลือกมากมาย ต้องการแบบที่มีกิจกรรมเยอะๆ หรือ ต้องการแบบสงบ เที่ยวแบบธรรมชาติ หรือ เที่ยววัดวาอาราม หรือ เน้นแนวศาสนาและวัฒนธรรมก็มีให้เลือก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้จัดงานที่จะ ประสานงานกับบริษัทจัดทัวร์หรือจัดทริปต่างๆ และ ให้เลือกรูปแบบการนำเที่ยวที่เหมาะสมสำหรับคนก่อนวัยเกษียณหรือผู้เตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ

 

สำหรับ ข้อเสียหรือข้อที่ควรเป็นกังวล สำหรับผู้จัดกิจกรรมลักษณะนี้ให้กับกลุ่มวัยเกษียณ นั่นก็คือ ในเรื่องของการท่องเที่ยวนั้นจะมีเรื่องของการเดินทางและกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ทางรถยนต์ ทางเรือ หรือ แม้กระทั่ง ทางเครื่องบินไม่ใช่เพียงแต่ ความปลอดภัยในการเดินทางเท่านั้น ในกิจกรรมต่างๆหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวต่างจังหวัด ทะเล ภูเขา หรือ บินไปเที่ยวต่างประเทศนั้น กิจกรรมที่อยู่ในแต่ละช่วงเวลา อาจจะต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยให้ดีที่สุดเพราะ พวกเขาเหล่านั้น คือ บุคลากรอาวุโส หรือ คนที่มีความสำคัญมากๆขององค์กร แถมยังต้องคำนึงในเรื่องศักยภาพทางร่างกายของแต่ละท่านด้วย เรื่องนี้จึงสำคัญมากเป็นอันดับหนึ่งสำหรับกลุ่มคนเตรียมตัวเกษียณ

เกษียณอายุ
เกษียณอายุ

 

3. วางแผนการเงิน การลงทุน ให้มีเงินพอใช้หลังเกษียณไปตลอดชีวิต

อย่างที่เราเข้าใจกันมาแล้วในเบื้องต้นว่า สังคมไทยเป็นสังคมสูงวัย ดังนั้น กลุ่มคนที่มีอายุมากก็จะมีอายุยืน เรื่องราวที่น่าเศร้าใจแต่ก็อาจจะต้องเก็บไปคิดพิจารณา คือ “การมีอายุสั้นไม่ทันได้ใช้เงิน ไม่เจ็บปวดเท่าการมีอายุยืนยาวแต่ไม่มีเงินใช้” ดังนั้น เรื่องของการเงินจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจอันดับต้นๆ สำหรับคนที่กำลังเข้าสู่วัยเกษียณ หรือ เตรียมตัวออกจากการทำงาน เนื่องจากในบางครั้งบางบริษัทหน่วยงานไม่มีเงินบำนาญที่จะจ่ายอย่างต่อเนื่อง มีเพียงเงินบำเหน็จหรือเงินที่จ่ายเพียงครั้งเดียวหลังจากเกษียณอายุงานไปแล้ว

 

การวางแผนการเงิน และ การลงทุนสำหรับกลุ่มผู้เตรียมเกษียณอายุนับเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น หน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถจัดหลักสูตรลักษณะนี้ให้กับบุคลากรอาวุโสผู้ซึ่งทำงานให้กับองค์กรมาอย่างยาวนาน นับว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อตอบแทนพวกเขาเหล่านั้น เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าการจัดการด้านการเงินและการลงทุนไม่เคยมีสอนในโรงเรียน ในบางครั้งเราต้องหาเรียนเองศึกษาเอง จึงทำให้บางคนไม่ได้มีการเตรียมตัวด้านการเงินมาก่อน อาจส่งผลให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตบั้นปลายหลังจากเกษียณอายุออกจากหน่วยงานที่ตนเองทำ

 

แต่ ข้อเสีย ที่มักพบอยู่บ่อยๆ สำหรับกิจกรรมในลักษณะนี้ คือ มักมีการจัดหลักสูตรเกี่ยวกับการวางแผนการเงินการลงทุนให้กับผู้ที่ “กำลังจะเกษียณอายุ” นั่นหมายความว่า หากไม่ได้เตรียมการมาก่อนหน้านี้ ระหว่างทำงานหรือสมัยที่เป็นบุคลากรหนุ่มสาว ก็อาจจะไม่สามารถที่จะทำให้ แผนการลงทุนแผน การเงินที่โค้ชหรือกูรูต่างๆมาช่วยคิด คำนวณ เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายเพียงพอหลังจากเกษียณออกจากงานไป ดังนั้น หากผู้ที่จะจัดกิจกรรมให้กับกลุ่มเตรียมเกษียณจึงจำเป็นต้องตรวจสอบให้ดีกับหลักสูตรที่จะนำเสนอให้พวกเขา ว่าทำได้จริงไหม หรือ ทำแล้วเหมาะกับช่วงระยะเวลาที่กำลังจะเกษียณไปจากองค์กรด้วย

เกษียณอายุ
เกษียณอายุ

 

4. สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ดูแลตัวเองในวันที่เกษียณแล้วต้องทำอย่างไร

ในบางครั้ง คนที่ทำงานมาอย่างยาวนานเป็นบุคลากรชั้นดีที่ดูแลหน่วยงานและองค์กรได้อย่างสมบูรณ์แบบ หลังจากมีอายุงานมาอย่างยาวนาน กลับไม่เคยมองถึงการดูแลตัวเอง หรือ มีการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตัวเองน้อยกว่าสิ่งที่ตนทำงานด้วยซ้ำ บางคนทำงานหนักมากๆ จนเกิดปัญหาด้านสุขภาพกับตัวเองแต่กลับไม่ได้สังเกตเลยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการทำงานหรือรูปแบบวิธีการทำงานของตน ดังนั้น การจัดหลักสูตรนี้สำหรับกลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณนับว่าเป็นการย้อนให้พวกเขาได้นึกถึงตัวเองบ้าง

 

มีกิจกรรมแบบนี้เกิดขึ้นมากมาย หลายครั้งที่ บริษัท องค์กร มักจัดหลักสูตรเรื่องของการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ ให้กับกลุ่มบุคลากรอาวุโส ผู้เตรียมตัวเกษียณออกไปจากองค์กร อย่างเช่น วิธีการบริหารร่างกายสำหรับกลุ่มผู้สูงวัยเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ความเครียด หรือ ออฟฟิศซินโดรม รวมไปถึงปัญหาเล็กๆน้อยๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ ปวดเมื่อยคอบ่าไหล่ หลายครั้ง มีการจัดกิจกรรมสอน วิธีการออกกำลัง การบริหารร่างกายหรือการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี และ มักประสบความสำเร็จ เพราะจะเป็นที่ชื่นชอบไปอย่างยาวนาน หากมันได้ผลจริง นอกจากสุขภาพกายแล้ว ก็ยังมี สุขภาพใจ ด้วยหลักสูตรต่างๆที่จัดขึ้นเพื่อความเหมาะสมกับกลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณ คือ การบริหารจัดการจิตใจสำหรับคนที่ต้องออกไปจากการทำงาน บางครั้งต้องเกษียณอยู่กับบ้าน ไม่มีอะไรทำ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตตามมาได้

 

สำหรับกิจกรรมหรือหลักสูตรสำหรับ กลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณ ที่เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับ สุขภาพกายและสุขภาพใจ นับว่าแทบจะไม่มีข้อเสียใดๆเลย เพียงแต่ในบางครั้ง กลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณอายุออกจากหน่วยงานหรือองค์กรมักไม่ได้มีสุขภาพที่อ่อนแอขนาดนั้น หรือ แม้กระทั่งบางครั้งยังคงแข็งแรงทำทุกอย่างได้ดัง เช่น คนหนุ่มสาวปกติ จึงทำให้เรื่องของหลักสูตรเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากนัก สำหรับคนกลุ่มนี้ ดังนั้น จึงอาจจะต้องมีการสำรวจความต้องการก่อนเบื้องต้นว่า หลักสูตรที่จะจัดให้กับพวกเขา พวกเขาต้องการมากน้อยแค่ไหน

เกษียณอายุ
เกษียณอายุ

 

5. สร้างรายได้สร้างอาชีพ ยุคดิจิทัล ถูกใจวัยเกษียณไม่เหงาแถมมีเงินใช้

นี่คือ หลักสูตร ที่ส่วนใหญ่ กลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ควรมีจัดขึ้นบ่อยๆ แต่อาจจะเป็นเรื่องที่ผู้จัดฝ่ายบุคคลหรือเอเจนซี่จัดงานมักมองข้ามไปด้วยซ้ำ อย่างที่รู้กันดี และ ได้พูดถึงอยู่บ่อยๆตลอดทั้งบทความ นั่นคือ สำหรับกลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณในปัจจุบัน นับได้ว่ายังคงมีความแข็งแรงทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจ รวมถึง มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำงานได้เหมือนคนหนุ่มสาวและไม่ใช่เพียงแค่ศักยภาพทางกาย แต่หมายรวมไปถึง ศักยภาพทางด้านความรู้ความเข้าใจ และ การปรับตัวให้อยู่ในสังคมดิจิทัลในปัจจุบันอีกด้วย

 

ทำไม หลักสูตร “สร้างรายได้ สร้างอาชีพ เตรียมตัวก่อนเกษียณในยุคดิจิทัล” ถึงได้รับความนิยมอย่างมาก นั่นก็เพราะ กลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณนี้ มักเป็นกลุ่มที่เป็นช่องว่างระหว่างวัยและเทคโนโลยี พวกเขาทำงานและเติบโตมาในองค์กร ท่ามกลางเทคโนโลยีที่ยังไม่พัฒนามากนัก แต่กลับจะต้องออกจากการทำงานหรือเกษียณอายุออกไปในยุคที่มีแต่เทคโนโลยี เทคโนโลยีสมัยใหม่เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อโซเชียลมีเดีย รวมถึง ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่เกิดขึ้นและแทรกซึมเข้าอยู่ในทุกช่วงชีวิตของคนปัจจุบัน

บางครั้ง กลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณมีความรู้ความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีอยู่บ้าง แต่ก็ยังขาดวิธีใช้หรือวิธีหาประโยชน์จากมันอย่างจริงจัง ตัวอย่าง เช่น สามารถใช้ไลน์ LINE ในการพูดคุยกัน หรือ ใช้แชทได้ แต่ก็ยังไม่เคยใช้ไลน์ LINE ในการทำมันเป็น สื่อโซเชียลมีเดีย หรือ แม้กระทั่งการคุยแบบวิดีโอคอลเป็นกลุ่ม จากตัวอย่างนี้ เลยทำให้เห็นว่า กลุ่มผู้ที่เตรียมตัวเกษียณนั้น มีการใช้เทคโนโลยีอยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดความเข้าใจและนำมันไปใช้ประโยชน์ได้อย่างจริงจัง หรือสามารถทำให้เกิดรายได้หลังจากออกจากงานประจำ

 

ข้อเสีย ของการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ คือ อาจจะต้องมีเวลาในการจัดกิจกรรมอย่างน้อย หนึ่งถึงสองวันเต็ม เนื่องจากว่ากลุ่มผู้เตรียมตัวเกษียณบางคน มีความเข้าใจในเทคโนโลยีไม่เท่ากัน หรือ บางคนเข้าใจเทคโนโลยีแต่ยังไม่สามารถใช้ในทางปฎิบัติได้ หรือ แม้กระทั่งใช้ได้แต่ยังไม่สามารถทำให้มันสร้างรายได้ได้จริง ดังนั้นผู้จัดกิจกรรมหรือฝ่ายบุคคล ที่กำลังมองหากิจกรรมหรือหลักสูตรที่จัดแล้วกลุ่ม ผู้เตรียมตัวเกษียณ หรือ บุคลากรวัยเกษียณ ประทับใจ อาจจะต้องมีช่วงวันเวลาที่มากเพียงพอ เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้และนำมันไปใช้ได้จริง สร้างรายได้ได้จริง และ มีอาชีพไว้ทำแก้เหงาในช่วงออกจากงาน หรือ เกษียณอายุ

เกษียณ อายุ
เกษียณ อายุ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาซึ่ง อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ ได้จัดหลักสูตรเกี่ยวกับกลุ่ม ผู้เตรียมตัวเกษียณอายุ หรือ กลุ่มที่กำลังมองหารายได้และอาชีพสำหรับตนเองหลังจากเกษียณออกจากองค์กรและหน่วยงาน มักมีความต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ยิ่งถ้าเรื่องใหม่ๆ หรือ เทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถที่จะทำให้ตนเอง มีรายได้ รวมถึงไม่เหงา และ ยังสามารถเชื่อมโยงกับเพื่อนๆในโลกออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย สิ่งนี้นับเป็นการตอบโจทย์ชีวิต ของ กลุ่มบุคลากรอาวุโสผู้เตรียมตัวเกษียณอย่างยิ่ง

 

หลากหลายองค์กรได้มีการจัดหลักสูตรลักษณะนี้ เป็นประจำทุกปีและได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี จากผู้ที่เข้าร่วมอบรม รวมถึง หลังจากเกษียณอายุออกไปแล้วสามารถนำไปลงมือปฏิบัติสร้างรายได้สร้างอาชีพและแก้เหงาเสริมสร้างศักยภาพหลังเกษียณได้จริง คุณสามารถแสดงความคิดเห็นต่อบทความนี้ด้วยการคอมเม้นต์ด้านล่าง หรือ ทักไลน์มาคุยกันได้ที่ @brandingchamp

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *