กลุยทธ์ การสื่อสารยุคดิจิทัล และ การปรับตัว ปีนี้ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล [Podcasts]

กลุยทธ์ การสื่อสารยุคดิจิทัล และ การปรับตัว ปีนี้ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล [Podcasts]

การสื่อสารยุคดิจิทัล

การสื่อสารยุคดิจิทัล กลยุทธ์และการปรับตัว ในปีนี้ ก่อนอื่นเลย ต้องขอขอบคุณโอกาสดีๆ จากทาง บริษัท ซีพีออลล์ และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้มีโอกาสได้รับเชิญเป็น วิทยากรด้านการสื่อสาร ที่จัดขึ้นในช่วงของปีหน้า

แต่สำหรับ เทรนด์นี้ อยากจะมาคุยกันล่วงหน้าไว้ก่อน เตรียมตัวก่อน ในหัวข้อที่เราจะมาคุยวันนี้ คือ เรื่องของ กลยุทธ์การสื่อสารในยุคดิจิทัล แล้วก็ การปรับตัวปีนี้ ต้องรู้อะไรกันบ้าง

 

วิทยากร-การสื่อสารยุคดิจิทัล
วิทยากร-การสื่อสารยุคดิจิทัล

 

อย่างแรก อยากจะย้อนกลับไป เล่าถึงเรื่องของ การสื่อสาร Communication  ว่าจริงๆแล้ว มันมีประวัติการเป็นมายังไง คำว่า “การสื่อสาร” เนี่ย ถ้าถามว่าทำไม อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ เป็น นักการตลาด ไม่ใช่เหรอ? ต้องบอกว่า ส่วนหนึ่งในการเรียนในระดับปริญญาโทที่ออสเตรเลีย สาขาที่เรียนมันตรงกับการสื่อสารยุคดิจิทัลเลยด้วยซ้ำสาขา Master of Information and Communication Technology แต่ที่จะมาคุยวันนี้เป็นประสบการณ์ในส่วนของการทำงาน การเป็นที่ปรึกษาให้ธุรกิจ แล้วก็ การสื่อสารโดยเน้นเรื่องของ การสื่อสารการตลาด นี่แหละ

 

การสื่อสาร จำเป็นมากไม่ใช่แค่เฉพาะ การทำธุรกิจ การตลาด จริงๆแล้วมันจำเป็นทั้งชีวิตและให้ย้อนกลับมันจำเป็นสำหรับมวลมนุษยชาติด้วยซ้ำ

 

สมัยก่อนที่เราจะมาเป็นมนุษย์ มีปัญญา มีสมอง ที่ใช้ในปัจจุบันนี้ เราก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง คงเคยได้ยิน มนุษย์ถ้ำ มนุษย์โบราณ แล้วก็จะมีคำว่า นีแอนเดอทอ เป็นแบบมนุษย์โบราณ ก็เป็นเหมือน ต้นกำเนิดของสายพันธุ์มนุษย์อย่างเราๆ ที่ชื่อโฮโมเซเปียนส์ ถ้าใครเคยอ่าน หนังสือ Sapiens: A Brief History of Humankind
หนังสือโดย ยูวาล โนอา ฮารารี่ แล้ว น่าจะได้ รู้เรื่องของการสื่อสารและอิทธิพลของมนุษย์ที่ทำให้มนุษยชาติเป็นได้อย่างทุกวันนี้

 

sapiens
sapiens

 

เขาบอกว่า จริงๆแล้ว มี 2 อย่าง ที่ถ้าไม่มีแล้วเราก็จะเหมือนสัตว์อื่นๆในโลกนี้ พัฒนามาเป็นคนมีสังคม มีเทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ทุกวัน ถามว่าเรามาอยู่ตรงจุดนี้ได้ยังไง? ทำไม สัตว์อื่นไม่ครองโลกแทนเรา?

 

อย่างแรกเลย เขาบอกว่าเราสามารถทำงาน เป็นกลุ่ม เป็นทีม ผ่าน การสื่อสารได้อย่างกว้างขวาง สื่อสารกันไปในวงกว้าง สื่อสารกันเป็นหมู่คณะได้ แต่การสื่อสารนั้น เราสามารถสื่อสารบางสิ่งบางอย่างที่ไม่มีตัวตนได้ด้วย

 

ข้อมูลที่ไม่มีตัวตน หมายถึง ศาสนา กฎหมาย ค่านิยม ความเชื่อ จินตนาการเหล่านี้ มันคือข้อมูลที่ไม่มีตัวตน สัตว์อย่างอื่น ไม่มีแบบนี้ ถ้ามีก็จะขาดอีก 1 อย่าง อีกหนึ่งอย่างนั้น คือ การปรับตัวและยืดหยุ่นได้อย่างอิสระ

 

มนุษย์ หรือ ที่เรียกว่า homo sapiens มี 2 อย่างนี้ และสามารถทำ 2 อย่างนี้ได้ “พร้อมกัน” โดยที่ไม่มีในสัตว์รูปแบบอื่นในโลกนี้ที่ทำได้ 2 อย่างพร้อมกัน

คือ 1. สามารถสื่อสารโดยการสื่อสารเป็นการสื่อสารข้อมูลแบบไม่มีตัวตนก็ได้

และ 2. คือ เราสามารถปรับตัวและยืดหยุ่นได้อย่างอิสระ

 

2 อย่างนี้ ช่วยให้เราอยู่รอดมาเป็นมนุษย์อย่างทุกวันนี้ได้จริงหรอ ตัวอย่าง มีสัตว์อย่างอื่นสามารถทำงานร่วมกันได้เหมือนกัน แล้วก็อยู่เป็นหมู่คณะ เป็นกลุ่ม สื่อสารกันเป็นกลุ่มได้ในวงกว้าง จำนวนมากๆก็ได้ อย่างเช่น “ผึ้ง” ที่ต้องออกไปเก็บน้ำหวาน กลับมาที่รัง เป็นกลุ่มเยอะมาก รังผึ้ง หลายหมื่นตัวอยู่ร่วมกัน

 

แต่ขาดอยู่อย่างนึง คือ การสื่อสารแบบที่เป็นข้อมูลความเชื่อ จินตนาการ ค่านิยม ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าลักษณะการใช้ชีวิตของผึ้งคือ เก็บน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ แล้วก็กลับมาที่รังดูแลนางพญาผึ้ง แต่ไม่มีทางเลยที่ ผึ้งจะสุมหัวกันและสร้างค่านิยม ความเชื่อใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น เรามาล้มล้างราชินีผึ้งกันไหม แล้วปกครองด้วยราชาผึ้ง แบบนี้ไม่มี สัตว์อย่างอื่นก็ค่อนข้างจะไม่มีรูปแบบนี้

 

การสื่อสารยุคดิจิทัล-วิทยากร
การสื่อสารยุคดิจิทัล-วิทยากร

 

สัตว์ที่ทำได้พร้อมกัน เหมือนมนุษย์มาก คือ ลิง ตัวอย่างง่ายๆ อย่างเช่น ลิงสามารถสื่อสารส่งต่อเรื่องราวต่างๆได้ เรียนรู้สามารถอยู่กันเป็นหมู่คณะ แล้วก็ยกพวกตีกันได้ ลิงสามารถวางแผนได้ ทำงานกันเป็นทีมได้ แบบนี้ก็ค่อนข้างจะฉลาด หรือว่าใกล้เคียงกับมนุษย์เรา แต่สิ่งที่ ลิง เนี่ยยังขาด คือ ความยืดหยุ่นและการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง คือ จินตนาการ นั่นเอง ซึ่งลิงจะไม่มีเรื่อง ความเชื่อและจินตนาการ

 

อย่างเช่น กินกล้วยเสร็จแล้วจะต้องโยนขึ้นฟ้า เพราะว่า จะได้โชคดีในการทำงาน เจอกล้วยในวันถัดไป แบบนี้ไม่มี มีแต่ในมนุษย์เท่านั้น ความเชื่อและจินตนาการ 2 สิ่งนี้ทำให้เราอยู่รอดและเป็นมนุษย์ได้อย่างทุกวันนี้ อันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของ การสื่อสาร ของมวลมนุษยชาติ

 

ประวัติความเป็นมาในเรื่องของ การสื่อสาร ตั้งแต่สมัยอดีต ทำไมมันจำเป็นมากๆ สำหรับมนุษย์ ลองมาดูว่า หลังจากเวลาผ่านไป จนเรามาถึงยุคที่เรียกว่า ยุคดิจิทัล มีกำเนิดเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอะไรหลากหลายอย่าง และ พัฒนาแบบก้าวกระโดด หลังจากพ้นยุคของอุตสาหกรรม มันเป็นยุคเทคโนโลยีและยิ่งเป็นยุคหลังๆ ที่มีการประดิษฐ์พัฒนาสมาร์ทโฟน ความเร็วของอินเตอร์เน็ต แล้วก็เทคโนโลยีต่างๆพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Exponential Growth ง่ายๆ สมัยที่ผมเรียนปริญญาโท จะคุยกันแบบเห็นหน้า ต้องใช้งานผ่าน application บนคอมพิวเตอร์ เรียกว่า Skype

 

เพราะว่ายุคนั้น ยังไม่มีมือถือ Smartphone จะคุยที ก็ต้องรอให้ อีกฝั่งเปิดคอมพิวเตอร์ผมเปิดคอมพิวเตอร์ นัดเวลาให้ตรงกัน ถึงจะคุยกัน ถึงจะเห็นหน้ากันได้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ เราคุยกันด้วย ไลน์ LINE ในปัจจุบันนี้ก็สามารถใช้เป็น วีดีโอคอล ได้แล้ว ไม่ต้องทำไรยุ่งยาก แค่กดโทรออก แค่นั้นเอง ระยะเวลาตอนนั้นถึงตอนนี้มันประมาณ 10 ปี แป๊บเดียว เทียบกับสมัยก่อน การปฏิวัติอุตสาหกรรมกว่าจะมี เครื่องจักรไอน้ำ กว่าจะเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน ใช้เวลานานมาก

 

เพราะฉะนั้น หลังจากที่เรามาอยู่ใน ยุคของดิจิทัล มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง จะต้องสื่อสารกันยังไงเพื่อให้การสื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างมนุษย์ หรือ ถ้าใครเป็นธุรกิจ ก็คือ สื่อสารระหว่างบุคคลในองค์กรหรือลูกค้าให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องรู้อะไรบ้าง

 

communication-digital-era
communication-digital-era

 

ปัจจุบันนี้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือ เรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภค คงงงว่า ทำไมการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมด้วย ในยุคสมัยนี้ จะมีคนแต่ละวัยซึ่งผ่านเวลาและผ่านการเดินทางทางเทคโนโลยี การเลี้ยงดู การใช้ชีวิตแตกต่างกัน

 

ในหัวข้อนี้ มีการสรุปออกมาเป็น ebook โดยสำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือ TCDC ดีมาก ดาวน์โหลด ได้ ที่นี่ มีการแบ่ง Generation แล้วก็มี เทรนด์ต่างๆให้ได้ศึกษากันดู ลองไปอ่านดู

 

เมื่อเราศึกษาเรื่อง พฤติกรรมของคนแต่ละวัยในยุคดิจิทัล จะทำให้เรายิ่งเข้าใจมากขึ้นว่าเราควรจะ สื่อสาร กับพวกเขายังไง ก็เข้าสู่ เรื่องของ กลยุทธ์การสื่อสารยุคดิจิทัล แนวโน้มในการสื่อสารในยุคดิจิทัล คงไม่ลงรายละเอียดมากไป ยังไงถ้าเรียนรู้แล้วว่า พฤติกรรมของคนในยุคดิจิทัลในแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน มันจะทำให้เรากำหนด กลยุทธ์ในการสื่อสารยุคดิจิทัล ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อันนี้สำคัญมาก

 

วิทยากรด้านการสื่อสารยุคดิจิทัล
วิทยากรด้านการสื่อสารยุคดิจิทัล

 

สรุป คือ เราจะมีกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพใน การสื่อสารยุคดิจิทัล ได้ เราต้องเรียนรู้พฤติกรรมของคนในแต่ละวัยในยุค Digital ฟังดูเหมือนง่ายนะ แต่ค่อนข้างจะซับซ้อนเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีสินค้าและอยากจะสื่อสารในกลุ่มของ baby boomer ถ้าเราพยายามจะสื่อสารผ่านแอพพลิเคชั่นหรือ Social Media ที่พวกเขาไม่คุ้นเคย เช่น Twitter

 

เราคงไม่ต้องการใช้ ทวิตเตอร์ ในการสื่อสารแบบดิจิทัลหรือนำเสนอสินค้าไปยังกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ เพราะว่า น่าจะมี baby boomer น้อยมาก ที่ใช้งานทวิตเตอร์ เป็นแบบนี้คงจะยาก ในกลุ่มของ baby boomer เขาก็จะใช้ Line เป็นหลัก ดังนั้น แค่การเลือกช่องทางการวาง กลยุทธ์การสื่อสารยุคดิจิทัล ถ้าเราไม่เรียนรู้ว่าคนเหล่านี้ เขามีพฤติกรรมแบบไหน เขาใช้ช่องทางไหน เขาซื้อของกันยังไง กลยุทธ์ที่วางออกมา ก็อาจจะ Fail ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว

 

คิดว่าวันนี้ น่าจะพอได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย จริงๆแล้วเนื้อหาที่จะไปนำเสนอในงานของ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ก็คงมีเนื้อหารายละเอียดเต็มรูปแบบ แล้วก็คงจะมาเจาะด้วยว่า เราจะมีวิธีปฏิบัติยังไง ในเรื่องของ การสื่อสารยุคดิจิทัล แต่ว่าสำหรับ Podcast นี้ก็ฝากไว้แบบนี้แล้วกัน ยังไงก็ฝาก กดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม แชร์ให้เพื่อนๆฟัง ในเรื่องของ กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อ การสื่อสารในยุคดิจิทัล

 

การสื่อสาร 2020
การสื่อสาร 
วิทยากรด้านการสื่อสาร-ปัญญาภิวัฒน์
วิทยากรด้านการสื่อสาร-ปัญญาภิวัฒน์

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *