Storytelling ในยุคการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ แบบ ” ออนไลน์ ” [ รีวิว หลักสูตร ]

Storytelling ในยุคการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ แบบ ” ออนไลน์ ” [ รีวิว หลักสูตร ]

Storytelling


Storytelling ภาษาอังกฤษ อ่านว่า สตอรี่เทลลิ่ง มันคือ ศิลปะ สิ่งนี้ คือ ศิลปะ มันไม่ใช่ กระบวนการ ไม่ใช่ เทคนิค ไม่ใช่ วิธีการ การเล่าเรื่องถูกขนานนามว่าเป็น ศิลปะแขนงหนึ่ง ที่เรียกว่า ศิลปะการเล่าเรื่อง นั่นเอง

 

เมื่อมันเปรียบเสมือนกับงานศิลป์ มันก็ต้องการ ความคิดสร้างสรรค์ ภาพลักษณ์ ทักษะ และ การฝึกฝน การเล่าเรื่อง ไม่ใช่บางสิ่งที่คุณจะสามารถนั่งแล้วก็ทำมันขึ้นมาได้เลยโดยที่ไม่มีอะไรในหัวมาก่อน อย่างไรก็ตาม หลังจากหนึ่ง หลักสูตร ที่คุณจะได้ลอง เรียนรู้ ลองผิดลองถูก และทำตามสิ่งที่ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ มันอาจจะทำให้การเล่าเรื่องในยุคดิจิทัล ของคุณเปลี่ยนไป

 

Storytelling คือ อะไร

Storytelling คือ ความหมายของการแบ่งปัน เรื่องราวผ่านการเล่า เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถถ่ายทอด สื่อสารประสบการณ์ ที่อาจมี รูปแบบกระบวนการที่เน้น การเล่า เป็นสำคัญเพื่อให้ผู้ฟังหรือผู้รับสาร มีส่วนร่วม ได้รับประสบการณ์ร่วม มีอารมณ์ร่วม เข้าใจเนื้อหาที่ ผู้สื่อสาร หรือ นักเล่าเรื่อง ต้องการ เช่น ทำให้จดจำได้ ทำให้สนุกสนาน ทำให้ได้แรงบันดาลใจ ตลอดจนถึง ทำให้ตัดสินใจซื้อหรือลงทุน หากเป็นการเล่าเรื่องในเชิงธุรกิจ story telling ยังสามารถถูกใช้เป็นวิธีในการสอน วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา และ ประเพณี ค่านิยม ในสังคมได้ และเป็นที่รู้กันดีว่า การเล่าเรื่อง ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดมากกว่ารูปแบบอื่นๆ

 

Story telling หรือ การเล่าเรื่อง เป็น วิธีการใช้ดึงความรู้ที่อยู่ในคน ออกมา เพราะเรื่องเล่าถือได้ว่าเป็นวิธีการสื่อที่ผสมผสานทั้งบริบท และเนื้อหา เรื่องเล่าจึงมีทั้งอารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อของผู้เล่าปนลงไปด้วย การเล่าเรื่องมีสภาพที่แตกต่างออกไปตามบริบท cr. วิกิพีเดีย

Storytelling วิทยากร
Storytelling วิทยากร

 

มันดูจะเป็นงานที่ยากลำบาก ซึ่งนั่นก็ใช่ แต่ถ้าคุณทำมันได้อย่างถูกต้อง คุณก็สามารถกลายมาเป็นผู้ใช้พลังความสามารถขององค์ประกอบในการเล่าเรื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายได้ในทุกๆอย่าง เช่น เรื่องของแคมเปญที่ประสบความสำเร็จในการตลาด มันยังจะสามารถทำให้คุณเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ ให้กับธุรกิจ ของคุณได้ หรือ แม้กระทั่ง ทำให้ลูกค้าซื่อสัตย์ จงรักภักดี กลายมาเป็น ลูกค้าประจำ จากการพบเจอกันในครั้งแรก หรือ ตัดสินใจซื้อเพียงครั้งเดียว

 

หัวใจของการทำการตลาดแบบเชิงรับหรือที่เรียกว่า inbound Marketing ผ่านการเล่าเรื่อง

 

การเล่าเรื่อง Story telling สามารถเพิ่มคุณค่า และ เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างยิ่ง สำหรับการเพิ่มมันลงไปใน การตลาด เพื่อให้ได้ประสิทธิผลมากขึ้น เหตุผลที่อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์ ได้ทำการร่างหลักสูตรและวางแผนรูปแบบที่จะเป็นเครื่องมือแนะนำ เป็นไกด์ให้คุณ ได้ค้นพบและเชี่ยวชาญในด้านการเล่าเรื่อง ให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึง ทำให้มันทรงพลังมากขึ้นผ่าน เครื่องมือดิจิตอล ต่างๆในยุคของโซเชียลมีเดียแบบทุกวันนี้

 

วางแผนการเล่าเรื่องด้วย Storytelling Canvas เชิงการตลาดด้วยคอนเทนต์ [ Content Marketing ]

 

Storytelling ตัวอย่าง
Storytelling ตัวอย่าง

 

การวางแผนการเล่าเรื่อง เป็นอย่างดี จะสามารถทำให้คุณสื่อสารเรื่องจริงรวมถึงการบรรยายและสื่อสารให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับฟังเรื่องราวอย่างเข้าใจและรับรู้ในสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้ ในบางเรื่องราวอาจจะมีสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง แต่ในบางเรื่องราวก็อาจจะสามารถสร้างสรรค์หรือแต่งเติมขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและดีขึ้นกว่าเดิมในการนำส่งประเด็นสำคัญและสิ่งที่ต้องการสื่อออกไป

 

Storytelling Canvas ตารางผืนผ้าใบทางด้านบนนี้ จะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่าอะไร คือ ความเฉพาะเจาะจงของการเล่าเรื่อง แต่ตารางด้านล่างนี้ จะบอกคุณว่า ที่ ใช่ และ ไม่ใช่ สิ่งนี้อาจจะทำให้คุณมีความเข้าใจได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

 

สิ่งที่ Story telling ใช่

สิ่งที่ Story telling ไม่ใช่

เรื่องราวน่าสนใจที่ถูกเรียงเรียบและบรรยาย

บทความ ยาว 10,000 คำ

สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ

มีเป้าหมายเพื่อสร้างยอดขาย

แสดงให้เห็นว่าแบรนด์ของคุณยึดมั่นในสิ่งใด

ทำเพื่อการโฆษณา

เป็นสิ่งที่เกี่ยวกับลูกค้าที่พวกเขาเข้าถึงได้

เกี่ยวกับธุรกิจ สินค้า/บริการของคุณ

สื่ออารมณ์ความรู้สึก ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม

น่าเบื่อ

มีจุดเริ่มต้น วิกฤต และ เกิดความเปลี่ยนแปลง

ดูดี เจ๋ง เท่ห์ สุดปัง

เป็นการโต้ตอบกันระหว่างลูกค้าและแบรนด์ของคุณ

ทำเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ

 

 

การเล่าเรื่อง เป็น ศิลปะที่มีรูปแบบเกิดขึ้นมาแล้วยาวนานอ่านข้ามกาลเวลามาจนถึงทุกวันนี้ ในทุกๆสถานที่ ทุกๆวัฒนธรรม รวมถึง ในแต่ละสังคม ทำไมการเล่าเรื่องถึงกลายมาเป็นภาษาหลัก ที่คนใช้ในการสื่อสารสืบทอดต่อๆกันมา

 

เราสามารถ สร้างภาพ จินตนาการขึ้นมา รวมถึง ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นและ สร้างอารมณ์ความรู้สึก ให้เกิดขึ้นท่ามกลางผู้ฟังรวมถึงตัวผู้เล่าเอง

 

การเล่าเรื่อง เหมือนกับ การระบายสี วาดภาพ ด้วยคำและข้อมูลต่างๆ ในขณะที่พวกเราทุกคนสามารถเล่าเรื่องได้ แต่จะมีเฉพาะบางคนเท่านั้น ที่สามารถปรับแต่งปรุงแต่งเรื่องราว อย่างมีทักษะจนกลายเป็นบุคคลที่ เรียกว่า นักเล่าเรื่อง ได้

ซึ่งในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ แบรนด์ และ ธุรกิจ ต้องการ ตำแหน่งหน้าที่ ในลักษณะนี้เพื่อมาทำงานในส่วนของ การทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ Content Marketing

 

ทุกๆคน ในทุกๆหน้าที่ ทุกๆตำแหน่งงาน ในองค์กรสามารถเป็นคนเล่าเรื่องได้ แต่เราจะทำยังไง ถึงทำให้ เรื่องที่เล่าออกมา นี้มี คุณค่า และ สามารถสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างได้ดีขึ้น ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ วิธีการ เราต้องเข้าใจก่อนว่า

 

ทำไมเราถึงต้อง “ เล่าเรื่อง ”

มีเหตุผลมากมาย เกี่ยวกับ สาเหตุว่า ทำไมเราต้องเล่าเรื่อง เช่น เพื่อให้เกิดการขาย เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ หรือ แค่อวดอ้าง ก็สามารถทำได้ ส่วนนี้ สำหรับ หลักสูตร Storytelling หรือ การเล่าเรื่อง พวกเราจะเรียนรู้ว่า จะมีวิธีการสื่อสารผ่านการเล่าเรื่องอย่างไร เพื่อจะบอกถึงข้อมูลต่างๆ ที่แทบไม่จำเป็นต้องใช้ PowerPoint หรือ รายการเรียงลำดับ 1 2 3 4 …

Storytelling ตัวอย่าง
Story telling ตัวอย่าง

 

Storytelling มีกี่ประเภท


– การเล่าเรื่องประเภทที่ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรม จับต้องได้มากขึ้น รวมถึงจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย

 

บ่อยครั้งที่พวกเราจะประสบปัญหากับความสับสน และ พยายามจะทำความเข้าใจกับไอเดียและแนวคิดใหม่ๆ ใน การเล่าเรื่อง มันจะช่วยเราให้เข้าถึงและเข้าใจสิ่งนั้นได้มากขึ้น ลองคิดถึงเวลาที่เราเรียนรู้ หรือ ได้ยินเรื่องราวต่างๆ มันจะช่วยเราให้เข้าใจ Concept แม้ว่า บางทีในชีวิตจริง มันใช้ได้จริง คุณครูอาจจะยกตัวอย่างเรื่องเล่า ที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเลข หรือ ข้อมูลที่มีความซับซ้อน

 

Storytelling ยังช่วยเราให้เห็นภาพได้เป็น รูปธรรม มากขึ้น เปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อน ให้เราเข้าใจได้ ยกเอาเรื่องราวที่แทบจะจับต้องไม่ได้เลย นำมาผสมผสานปรับปรุงให้เป็นไอเดียที่ชัดเจนมากขึ้น นี่คือ สิ่งที่ธุรกิจทุกวันนี้ ควรจะใช้มันเป็นจุดแข็งในการทำการตลาด

 

จาก ตัวอย่าง Story telling กรณีศึกษาของ Apple ผลิตภัณฑ์ ที่เป็น คอมพิวเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน มันค่อนข้างมีความซับซ้อนและอธิบายยากต่อผู้บริโภค ดังนั้นการใช้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและชีวิตจริงของผู้ใช้งาน สามารถนำมาอธิบายได้อย่างตรงไปตรงมาว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขามีประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างไร แทนที่จะพูดถึงแต่เรื่องทางเทคนิค ที่น้อยคนนักจะสามารถเข้าใจได้

 

– การเล่าเรื่องราวประเภทที่สามารถจะเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน

เหมือนกับเรื่องราวที่เราได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ การสื่อสารแบบเรื่องราว สามารถทดแทนภาษาที่เป็นตัวอักษรได้ เราเข้าใจเรื่องราวแบบต้นกำเนิดของฮีโร่หรือวีรบุรุษ รวมถึง เรื่องราวของ ไก่รองบ่อน หรือ มวยรอง กระทั่ง เรื่องราวเกี่ยวกับความรักและการอกหัก เราจะประมวลผล อารมณ์ ความรู้สึก ที่ถูกแบ่งปันผ่านเรื่องราวเหล่านี้ได้ การสื่อสารด้วยเรื่องเหล่านี้ สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของมนุษย์และการเชื่อมโยงกันในกลุ่มคน

 

แม้ว่าในปัจจุบัน โลกของเราจะถูกแบ่งแยกออกเป็น ภูมิภาค ประเทศต่างๆ แต่เรื่องราว ก็ยังคงเชื่อมโยงความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มคนได้อยู่ดี นอกจากภาษา วัฒนธรรม ศาสนา และ การเมืองจะเชื่อมโยงให้เกิดสังคมและประเทศแล้ว ความรู้สึกต่างๆของมนุษย์ ก็ยังทำให้ผู้คนเชื่อมโยงกันได้เสมอมา ดังนั้น พูดได้ว่า เรื่องราวสร้างเราให้เป็นเรา หรือ เรื่องราวทำให้เรายังคงเป็นมนุษย์อยู่ได้ทุกวันนี้

 

แบรนด์ TOMS เป็น ตัวอย่าง Story telling ที่ดี พวกเขาจะพูดถึงเรื่องลูกค้าของธุรกิจของพวกเขา ลูกค้าสามารถแบ่งปันเรื่องราวต่างๆหลังจากที่ได้มีการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ไป พวกเขาสร้างความเคลื่อนไหวและขับเคลื่อนยอดขายให้เติบโตมากขึ้น ผ่านการสื่อสารในกลุ่มคนที่ชื่นชอบแบบเดียวกัน และ แน่นอนว่าผ่าน การเล่าเรื่อง นั่นเอง

 

– การเล่าเรื่องประเภทที่เป็นแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้น

 

เรื่องราวทำให้คนเป็นคน และ ธุรกิจก็ยังสามารถใช้แก่นความเป็นจริงนี้ได้เช่นเดียวกัน เมื่อแบรนด์ถูกทำให้โปร่งใส เข้าถึงได้มากขึ้น ก็จะได้รับความน่าเชื่อถือและไว้ใจจากลูกค้าได้เช่นเดียวกัน สิ่งนี้เชื่อมโยงระหว่างลูกค้าและธุรกิจได้อย่างเหนียวแน่น

 

เมื่อมีอารมณ์ของบุคคล เข้าไปเกี่ยวข้อง มันก็มีความแตกต่างระหว่างด้านดีและด้านเลวของเรื่องราว ในการเกิดเป็นแรงบันดาลใจ และ เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมบางอย่างขึ้น การเรียบเรียงเรื่องราวต่างๆให้ลูกค้าได้รับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ ไม่เพียงแค่จะทำให้รู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ แต่ยังช่วยสืบทอดเป็นมรดกให้กับบุคคลรุ่นต่อรุ่น และ ถูกพูดถึงไปในตลาดได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

 

มีไม่กี่แบรนด์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและเปลี่ยนเป็นยอดขายได้ ตัวอย่าง Storytelling หนึ่งที่เห็นได้ชัด นั่นคือ Nike การใช้บุคคลที่เป็นสุดยอดในด้านกีฬา ทำให้ประสบความสำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ได้ยินได้ฟังเรื่องราวเหล่านี้ ส่งผลให้เป็นอิทธิพลในการกระตุ้นให้คนออกมามีแรงมีพลังใจในการต่อสู้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจ ที่ถูกเรียบเรียงขึ้นโดยแบรนด์นั่นเอง

 

 

แล้วอะไรล่ะ ที่เรียกว่า เรื่องราวที่ดี ??

 

เรื่องราวที่ดี หรือ เรื่องราวที่แย่ นั้นสามารถแยกแยะแบ่งออกไปได้ตามความคิดความอ่านของแต่ละคน แต่ก็มีบางอย่างที่เมื่อได้นำมาเป็น องค์ประกอบของเรื่องราว ก็จะยิ่งทำให้เรื่องราวนั้น ทรงคุณค่า และ มีอิทธิพลต่อผู้อ่าน ผู้ฟัง รวมถึง สร้างการตระหนักรู้และการรับรู้ที่ดีให้กับตัวผู้เล่าได้ด้วย

 

Storytelling มีลักษณะอย่างไร

สิ่งที่เรื่องราวดีๆควรมี


1. ความสนุกสนานความบันเทิง เรื่องที่ดีต้องสามารถดึงดูดผู้ฟังให้มีส่วนร่วมและสนใจไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ต้นจนจบ

2. ให้ความรู้ เรื่องที่ดีจะต้องกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและทำให้ผู้รับฟังเข้าใจและเรียนรู้อะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองได้ด้วย

3. เรื่องที่รับรู้และเข้าถึงได้ง่าย ที่ดีนั้นควรจะเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับผู้ฟังหรือคนที่ได้รับการสื่อสารเรื่องราวเหล่านี้ไปนั่นจะทำให้พวกเขามีความรู้สึกมีอารมณ์ร่วมและประสบการณ์ที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

4. เรียบเรียงมาเป็นอย่างดี ทางที่ดีจำเป็นจะต้องถูกวางโครงสร้างและจัดเรียงมาด้วยความประณีตซึ่งมันจะช่วยให้การสื่อสารประเด็นสำคัญและผู้รับฟังเรื่องราวเข้าใจได้ง่าย

 

5. น่าจดจำ เรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจ หรือ ลึกลับซับซ้อน เรื่องตลก หรือแม้กระทั่ง คติธรรม จำเป็นจะต้องลงลึกไปถึงจิตใจของผู้ฟัง เพื่อทำให้เขาจดจำได้ดี

 

จาก ตัวอย่าง หลักสูตร Storytelling ที่ถูกเรียบเรียงขึ้นและมีการบรรยายให้กับเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ บุคคลทั่วไป รวมถึง เจ้าของกิจการ และ ผู้ประกอบการ มากมายหลากหลาย

มีรูปแบบที่เป็นการเรียบเรียง การเล่าเรื่องราว รวมถึง การวางแผนในการสร้างเรื่องราว ให้กลุ่มลูกค้าหรือผู้คนที่ต้องการสื่อสาร ได้รับรู้เข้าใจจดจำได้ และ ในบางครั้ง หากต้องการส่งผลให้ได้ประสิทธิภาพไปยังยอดขายด้วย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ให้เป็นรูปแบบ

 

Storytelling มีลักษณะอย่างไร

 

1. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการมีเรื่องราวและการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับการทำการตลาด

 

2. เรียนรู้ว่า ทำไมธุรกิจหรือองค์กรจำเป็นจะต้องเรียนรู้การใช้เรื่องราวหรือการเล่าเรื่องในการทำธุรกิจและพัฒนาองค์กรให้เติบโต

 

3. เรื่องราวในรูปแบบต่างๆที่ส่งผลต่อสมองและความรู้สึกนึกคิดของผู้ฟังหรือผู้รับสารจากแบรนด์หรือองค์กร 

 

4. ชุดของคำถามที่จำเป็นจะต้องตอบให้ได้ก่อนมีการเรียบเรียงเรื่องราวเพื่อการเล่าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

5. การวางแผนเรียบเรียงเรื่องราวเพื่อการสื่อสารและการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ ผ่าน Story telling Canvas

 

นี่คือ รูปแบบใน หลักสูตร การทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ ผ่าน การเล่าเรื่อง Storytelling ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับทั้งความรู้และฝึกปฎิบัติ รวมทั้ง มีแนวคิดในการวางแผนเรื่องราวและเล่า หรือ สื่อสารออกไปให้บรรลุเป้าหมายได้ 

 

หลักสูตร Storytelling
หลักสูตร Storytelling

 

 

Storytelling เรื่องอะไรดี

 

รูปแบบหลักๆของ การออกแบบเรื่องเล่า ที่เหมาะกับยุคดิจิทัล และ เข้าถึงคนได้ง่าย ทุกเพศ ทุกวัย นั่น คือ Hero’s story หรือ เรื่องราวของวีรบุรุษ ที่มีรูปแบบในลักษณะนี้

 

1. ตัวละคร 

เราทุกๆเรื่อง จำเป็นจะต้องมีตัวละครอย่างน้อย 1 ตัว ที่เป็นผู้ดำเนินเรื่อง ตัวละครนี้จะมีบทบาทในการเชื่อมโยง และ สามารถทำให้ผู้ฟังเข้าถึงได้ง่าย องค์ประกอบหลักที่สามารถทำให้คนเข้าใจ และ รับรู้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับเรื่องที่เรากำลังต้องการสื่อสาร เหมือนกับว่า ผู้ฟังได้เข้ามาเป็นตัวละครตัวนั้น และ ดำเนินเรื่องราวไปพร้อมๆกับสิ่งที่เราต้องการเล่า

 

2. วิกฤตการณ์ 

ตัวละคร จำเป็นจะต้อง สู้ ฝ่าฟัน จนถึง จุดวิกฤตบางอย่าง และ ก้าวข้ามผ่านความท้าทายนั้นไปให้ได้ วิกฤตเกิดขึ้นในเรื่องราวจะช่วยเร้าอารมณ์ของผู้ฟัง รวมถึง สร้างความเชื่อมโยงกับผู้ที่กำลังรับสารที่สื่อออกไปเหล่านี้ได้ด้วย ในขณะที่เรื่องราวดำเนินไป เมื่อมีจุดวิกฤต จะทำให้ผู้คนรับรู้ และ มีอารมณ์ร่วม หลังจากผ่านวิกฤตเหล่านั้น เราก็สามารถใส่คำสอน บทเรียนต่างๆลงไป ให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ การไม่มีจุดวิกฤต หรือ ไม่มีไคลแม็กใดๆเลย เราจะไม่เรียกว่าสิ่งนี้ ว่า เรื่องราว

 

3. ความเปลี่ยนแปลง

เรื่องราวดีๆ ต้องมีจุดจบ แต่มันอาจจะไม่ใช่จุดจบที่ Happy Ending หรือ มีความสุขอย่างเดียว เรื่องราวสามารถนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ที่จะสามารถมาเป็นบทเรียนให้กับผู้ฟังได้ ดังนั้น เมื่อตัวละครผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ จนสุดท้ายก้าวผ่านพ้นมาได้ จึงควรมีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงกับตัวละครนั้นๆ ส่งผลให้เห็นภาพไปยังกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เพื่อเชื่อมโยงให้มีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวเหล่านั้นได้ด้วย สุดท้ายก็ให้กลุ่มเป้าหมาย หรือ ผู้ฟัง เป็นคนตัดสินว่าหลังจากนี้ไป สิ่งที่ควรทำต่อไปสำหรับพวกเขา คือ อะไร

 

หลังจากที่เราได้เรียนรู้ รูปแบบการสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจ ที่เรียกว่า Hero’s Story แล้ว หลังจากนั้น กระบวนการในการเรียบเรียงเรื่องราวออกมา เพื่อทำให้น่าสนใจมากขึ้นควรจะมีรูปแบบลักษณะนี้

 

กระบวนการเรียบเรียงเรื่องราวก่อนเล่า Storytelling Process

 

ชุดของคำถามที่จะสามารถช่วยให้คุณเรียบเรียงเรื่องราวได้อย่างมีระบบระเบียบ และ ทำให้เรื่องราวดูน่าสนใจมากขึ้น คือ การตอบคำถาม Who What Where When Why

 

ไม่ว่าจะเป็น ช่างภาพ หรือ จิตรกร หรือ แม้กระทั่ง นักปั้น ผู้คนเหล่านี้ใช้ทักษะในการสร้างสรรค์งานศิลป์ขึ้นมา ประสบการณ์ของพวกเขา ทำให้เขารู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหนก่อน และ จะใช้จินตนาการของพวกเขาส่งผ่านงานเหล่านั้น ออกมาให้ชัดเจนมากขึ้นได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะสมบูรณ์แบบมากขึ้น ต้องผ่านการฝึกฝนมาอย่างมากมาย ไม่ต่างกันกับ เรื่องของการทำ Storytelling โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่าเรื่องให้ส่งผลกับธุรกิจ

 

จากที่เราได้รู้กันมาก่อนหน้านี้ ว่า การเล่าเรื่องเป็นศิลปะ ดังนั้น มันจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมี ความคิดสร้างสรรค์ การจินตนาการ และ ทักษะบางอย่างในทางปฏิบัติ และ นี่คือ กระบวนการที่คุณควรทำ ในช่วงระหว่างการเรียบเรียงเรื่องราวเหล่านั้น

 

1. เข้าใจว่าใครคือกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย ( Who )

ใครกันที่อยากจะฟัง เรื่องที่คุณต้องการจะเล่า เขาจะได้รับประโยชน์อย่างไร หากได้ยินเรื่องราวเหล่านี้ เมื่อคุณรู้แบบนี้ คุณก็จะเรียบเรียงเรื่องราวให้เหมาะสมกับผู้ฟังได้ง่ายขึ้น เห็นภาพได้ชัดว่า พวกเขาจะมีความรู้สึกหรือโต้ตอบอย่างไรกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้

การที่จะเริ่มเรียบเรียงเรื่องราว หรือ สร้างมันขึ้นมาสิ่งที่ควรทำอย่างแรก คือกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ฟัง หรือ ในรูปแบบทางธุรกิจ การตลาด เรียกว่า การกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักทางการตลาด อาจจะใช้วิธีการที่ทำ Customer Persona หรือ การสร้างลูกค้าในอุดมคติ ขึ้นมาซึ่ง การฝึกอบรม หลักสูตร Story telling มีเครื่องมือดีๆ และ ให้ผู้เข้าอบรมได้มีส่วนทดลองปฏิบัติในระหว่างที่เรียนด้วย

 

2. กำหนดสิ่งที่ต้องการสื่อสารหรือประเด็นหลัก ( What )

เข้าใจว่าเรื่องราวที่คุณต้องการจะสื่อสารออกไป จะเป็นเรื่องที่สั้นเพียงไม่กี่หน้ากระดาษ หรือ เป็นเรื่องราวที่ยาวนานมากกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป ยังไงคุณก็ควรจะมีประเด็นหลักที่ต้องการจะสื่อสาร เหมือนกับ เสาหลัก หรือ เสาเอกของบ้าน เพื่อไม่ให้โครงสร้างของบ้านโงนเงนพร้อมจะโค่นล้มได้ตลอดเวลา

 

การให้เรื่องราวเหล่านี้ ช่วยคุณในการขายผลิตภัณฑ์ หรือ คุณต้องการเป็นที่รู้จัก หรือ แม้กระทั่ง คุณต้องการให้นายทุนมาลงทุนให้กับบริษัทของคุณ อธิบายบริการหรือความสำคัญของผลิตภัณฑ์ของคุณ อะไรเป็นแก่นเรื่องหรือประเด็นหลักที่ต้องการสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ที่จำเป็นจะต้องให้สั้นและกระชับด้วยคำไม่ถึง 10 คำ ในการบรรยายแกนหลัก เมื่อสามารถทำได้แบบนี้แล้ว ประเด็นการสื่อสารที่ถูกเล่าออกไป ก็จะถูกรับรู้ได้ง่ายและเป็นที่เข้าใจได้มากขึ้น

 

3.  เรื่องราวที่จะเล่าออกไปเป็นรูปแบบไหน ( How )

ไม่ใช่ทุกๆเรื่องราว จะถูกสร้างด้วยรูปแบบที่มันเหมือนกัน คุณต้องตัดสินใจว่าสิ่งที่จะเล่าออกไปนี้ ต้องการให้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึก และ ต้องการให้กลุ่มผู้ฟังเกิดอะไรขึ้นกับตัวพวกเขา หลังจากที่ได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้

 

สิ่งเหล่านี้ อาจจะช่วยให้คุณเรียบเรียง เพื่อนำเสนอเรื่องราวของคุณได้ง่ายขึ้น ถ้าคุณจะกำหนดวัตถุประสงค์ลักษณะนี้

  

  -เพื่อปลุกระดม 

เรื่องราวควรจะอธิบายว่า เมื่อได้มีการลงมือทำบางอย่างสำเร็จแล้ว จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้าง ควรฉายภาพให้เห็นว่า ถ้าลงมือทำบางอย่าง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้น และ ควรสนับสนุนให้ผู้ฟังได้มีการลงมือทำจริงๆเพื่อความเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยเช่นกัน

 

  -เพื่อสร้างความรู้จักตัวคุณ storytelling เรื่องตัวเอง หรือ การสร้างแบรนด์บุคคล Personal Branding

การเล่าเรื่องตัวเอง หรือ เรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตของบุคคล การล้มลุกคลุกคลาน ความล้มเหลว ความสำเร็จ และ ชัยชนะ ทุกวันนี้ผู้บริโภคที่ชื่นชอบเรื่องราวเหล่านี้ และ มันส่งผลให้เชื่อมโยงระหว่างตัว บุคคล แบรนด์ และ กลุ่มลูกค้าได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

 -เพื่อให้เห็นถึงคุณค่า 

การเล่าเรื่อง สามารถทะลุทะลวงเข้าไปถึง อารมณ์ ลักษณะนิสัย สถานการณ์บางอย่างของผู้ฟังหรือผู้อ่านได้ พวกเขาเข้าใจและรับรู้ว่ามีสิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา จะยิ่งทำให้เรื่องราวทรงคุณค่าและมีอิทธิพลกับตัวผู้ฟังได้อย่างน่ามหัศจรรย์

 

  -เพื่อความร่วมมือของชุมชนหรือกลุ่มคน

เรื่องราวที่ดีนั้น จะสามารถขับเคลื่อนผู้คน ทั้ง ความรู้สึกนึกคิด และ ในทางปฏิบัติ เมื่อพวกเขาชื่นชอบเรื่องราวเหล่านั้น ก็จะแบ่งปันเรื่องราวเหล่านั้นออกไปกับคนใกล้ชิดด้วย สถานการณ์บางอย่าง และ ประสบการณ์บางอย่าง ที่พวกเขาสามารถเข้าถึงได้ ก็จะยิ่งทำให้เรื่องราวถูกกระจายออกไป และ บอกต่อกันในกลุ่มคนลักษณะเดียวกันได้มากขึ้น

 

  -เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ

การเล่าเรื่อง เป็นคุณสมบัติที่ไม่จำเป็นจะต้องลงมือปฏิบัติจริง แต่สามารถทำให้ผู้ฟังได้ลองผิดลองถูกผ่านประสบการณ์ของตัวละครในเรื่องราวเหล่านั้นได้ ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะสามารถเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทางออก และ ความเปลี่ยนแปลงสุดท้ายกับตัวของพวกเขา

 

4. อะไรควรจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ฟังหลังจากเรื่องราวจบลง

วัตถุประสงค์ในทางการตลาด อาจจะใช้สิ่งที่ เรียกว่า call-to-action หรือ อะไรควรจะเกิดขึ้นกับผู้ฟังหลังเรื่องราวจบลง สิ่งนี้ ควรมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่า หลังจากที่ผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้รับฟังเรื่องราวที่เราสื่อสารออกไป เขาต้องทำอย่างไรต่อ

 

เช่น บริจาคเงิน สมัครเป็นสมาชิก หรือ ลงทะเบียนอบรมสัมมนา แม้กระทั่ง เลือกซื้อหรือชำระเงินสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ การวางแผนเรียบเรียงวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดว่ากลุ่มเป้าหมายหรือผู้ฟังต้องทำอย่างไรต่อไป หลังเรื่องราวจบลง นั่นเป็นสิ่งสำคัญมาก ตัวอย่าง Storytelling ลักษณะนี้ที่เห็นกันง่ายๆ คือ สื่อสังคมออนไลน์ หลังจากที่เราได้มี การอ่านโพสต์ หรือ เนื้อหา คอนเทนต์ บางอย่างก็จะมีการบอกให้กดปุ่ม กดไลค์ กดแชร์ หรือ คอมเม้น

 

5. เลือกสื่อและช่องทางที่ต้องการนำเสนอ (Where)

อาจถูกทำขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบบางเรื่องราวเป็นเนื้อหาบทความที่ถูกเขียนขึ้นมาบางเรื่องราวเป็นวีดีโอที่ผู้รับสื่อสามารถรับชมได้หรือบางครั้งเป็นข้อความเสียงหรือเรื่องเหล้าด้วยการบรรยายเหล่านี้จะต้องมีการเลือกอย่างคัดสรรเพื่อให้ได้สื่อที่เหมาะสมและเป็นเรื่องราวที่เข้าถึงได้กับกลุ่มผู้ฟังย่อมถึงในการทำธุรกิจสิ่งนี้คือต้นทุนที่จำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการทั้งเวลาและเงินลงทุน 

 

Digital Story telling ในยุคดิจิทัลการเล่าเรื่องราว สามารถสื่อสารออกมาได้เป็นรูปแบบ ดังนี้

 

เรื่องราวผ่านการเขียน

เรื่องราวเหล่านี้ จะถูกทำให้อยู่ในรูปแบบของบทความ บล็อกโพสต์ หนังสืออีบุ๊ค หรือ แม้กระทั่ง ข้อความสั้นๆ หรือ คำคมในรูปภาพ การเขียนเรื่องราวเหล่านี้ สะดวกสบายมากขึ้นในยุคดิจิทัล และ คุณสามารถนำเสนอเรื่องราวที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ผ่าน Application ต่างๆ หรือ สื่อสังคมออนไลน์

 

เรื่องราวผ่านการเล่า

เรื่องราวลักษณะนี้ จะถูกบอกเล่าด้วยผู้คน การนำเสนอ การบรรยาย หรือ แม้กระทั่ง การโน้มน้าว และ งานขาย มันสามารถทำในรูปแบบของ Audio หรือข้อความเสียงได้อย่างง่ายดาย ในสื่อโซเชียลมีเดียเกือบทุกรูปแบบ สามารถส่งข้อความในรูปแบบเสียงได้ง่ายๆ และ ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันและเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้นั่น คือ คลับเฮาส์ Club House

 

การเล่าเรื่องราวผ่านสื่อวิดีโอ 

ปัจจุบัน การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อำนวยความสะดวกใน การถ่ายทำวีดีโอ และ สร้างสรรค์เรื่องราวต่างๆในรูปแบบวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว สามารถทำได้ง่าย เข้าถึงผู้ใช้งานได้ทุกรูปแบบ ดังนั้น ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รูปแบบของการเล่าเรื่องด้วยวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว และ สื่อที่สามารถบันทึกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน แบบถ่ายทอดสด หรือ ที่เรียกว่า ไลฟ์สด มีความนิยมเป็นอย่างมาก และ เหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้คนในยุคดิจิทัล ในการรับรู้เรื่องของ Storytelling

 

การเล่าเรื่องราวผ่านรูปภาพ 

การเล่าเรื่องผ่านรูปภาพ ยังคงเป็นที่นิยมเสมอมา ตั้งแต่สมัยมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ ที่มีการเริ่มต้นเล่าเรื่องราวผ่านรูปภาพที่ถูกเขียนไว้ตามผนังถ้ำ เข้าสู่ยุคดิจิทัลด้วยสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ อนุญาตให้มี การโพสต์รูปภาพ ภาพถ่าย หรือ แม้กระทั่ง สื่อกราฟิกต่างๆ ทำให้ การเล่าเรื่องราว ง่ายขึ้นและรับรู้ได้ มากกว่า การอ่านตัวหนังสือ จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ยังคงได้รับความนิยมสำหรับการทำ Storytelling

 

6. วางแผนและการนำเสนอเรื่องราว (Why)

สำหรับในหัวข้อนี้ จะขออนุญาตทำการ รีวิว หลักสูตร Story telling ซึ่งถูกจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน TKpark เพื่อให้บุคคลผู้สนใจ บุคคลทั่วไป รวมถึง บุคลากรด้านบรรณารักษ์ เรียนรู้และลงมือปฏิบัติในการทำ Story telling ตั้งแต่ทฤษฎีจนถึงลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง

Storytelling ตัวอย่าง

ตัวอย่าง หลักสูตร storytelling การเล่าเรื่อง
ตัวอย่าง หลักสูตร storytelling การเล่าเรื่อง
Storytelling Workshop
Story telling Workshop
ตัวอย่างการเล่าเรื่อง Storytelling
ตัวอย่างการเล่าเรื่อง Story telling
การจัดการความรู้ storytelling
การจัดการความรู้ story telling
ตัวอย่าง-Storytelling-การเล่าเรื่อง
ตัวอย่าง-Storytelling-การเล่าเรื่อง
ตัวอย่าง-Story-telling
ตัวอย่าง-Story-telling
Story-telling-ตัวอย่าง
Story-telling-ตัวอย่าง
Story-telling
Story-telling
Storytelling
Storytelling
Storytelling-ตัวอย่าง-หลักสูตร-การเล่าเรื่อง
Story telling-ตัวอย่าง-หลักสูตร-การเล่าเรื่อง
ตัวอย่าง-Storytelling
ตัวอย่าง-Story telling

 

 

7. ถึงเวลาของการทำ Story telling ของคุณแล้ว

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ Storytelling ในยุคการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ แบบ ” ออนไลน์ ” [ รีวิว หลักสูตร ] ด้วยการคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ หรือ ทักไลน์มาคุยกันได้ที่ @brandingchamp

 

6 Replies to “Storytelling ในยุคการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ แบบ ” ออนไลน์ ” [ รีวิว หลักสูตร ]”

  1. หลักสูตรของ จารย์แชมป์ เยี่ยมจริงๆครับ สนุก ได้สาระ และ เอาไปใช้ในการทำงานได้เต็มๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *