การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (สรุป งานวิจัย สำคัญมาก!)

การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (สรุป งานวิจัย สำคัญมาก!)

การตลาดผู้สูงอายุ

การตลาดผู้สูงอายุ ในเรื่องนี้ จากการเข้าร่วมงานสัมมนา การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่ต้อง ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากกลุ่มนักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน ” Silver Age Content Marketing ” หรือ ที่มีชื่อไทยๆ ว่า “ เจาะลึก INSIGHT การรับและใช้สื่อ กลุ่ม SILVER AGE (อายุ 55-70 ปี ) ” 

 

 

 

ซึ่งมีเนื้อหา พูดถึง การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ โดย นิยาม กลุ่มผู้สูงอายุ ว่า เป็น วัย Silver Age (People) วัยสีเงิน ที่จะ ใช้เรียก ผู้มีอายุ ระหว่าง 55-70 โดยโครงการนี้ มองเห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทย ก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ Aging society และกลุ่มนี้เอง

 

นักการตลาด มองว่า เป็นกลุ่มของ ผู้มีกำลังซื้อ โดย สังคม ผู้สูงอายุ เราจะพบว่า ในอัตราส่วน ผู้สูงอายุ 1 คน ต่อ ประชากร 5 คน ซึ่งจะสูงตาม ประเทศ ญี่ปุ่น และ ประเทศแถบ ยุโรป

 

จาก การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่ได้มีการสำรวจ กลุ่ม ผู้สูงวัย (Silver Age People) โดยเจาะไปที่ คนกรุงเทพ เป็นส่วนใหญ่ และ เป็น ผู้หญิง มากกว่าครึ่ง จากกลุ่มสำรวจ จำนวน 604 คน (Quantitative ) และ  ยังมีการสัมภาษณ์เชิงลึก จาก กลุ่มผู้สูงอายุ นี้ 60 คน (Qualitative)

 

การ ตลาด ผู้สูงอายุ
การ ตลาด ผู้สูงอายุ

 

และจากการสำรวจ และ ทำวิจัย พบว่า ตลาดผู้สูงอายุ จะมีการ เสพสื่อทางการตลาด ผ่านทาง 2 ช่องทางหลัก คือ ทางดิจิตอล และ ดั่งเดิม โดยจำแนกข้อมูลของผลสำรวจใน การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ นี้ เป็น

 

 

สื่อ ที่ ผู้ สูงอายุ ใช้มากขึ้น คือ

อันดับ 1 ไลน์ (Line)
  1. ใช้ง่าย ก๊อปปี้ ข้อความส่งให้เพื่อนง่าย
  2. ชอบส่งสติ๊กเกอร์ (แต่ไม่ตรงบทสนทนา)

 

อันดับ 2 TV
  1. เปิดแช่ไว้
  2. เปิดทิ้งไว้เป็นเพื่อน

 

อันดับ 3 facebook

1.ใช้ยาก ปุ่มเยอะ งง
2. ลูกไม่ชอบสอนซ้ำๆ
3.ไม่รู้ว่า การคอมเม้นต์ ใน เฟสบุ๊ค เป็นสาธารณะ

 

การตลาดผู้สูงอายุ
การตลาดผู้สูงอายุ

 

ส่วน สื่อ ที่ ผู้สูงอายุ ใช้น้อยลง คือ 

อันดับ 1 หนังสือพิมพ์ (แต่ลดลงไม่มาก)
  1. ดูออนไลน์ ฟรี
  2. มีกลิ่นหมึก

 

อันดับ 2 วิทยุ
  1. ใช้แอพฯ
  2. ฟังแค่บนรถ

 

อันดับ 3 billboard
  1. ไม่ค่อยออกนอกบ้าน
  2. สายตาไม่ดี

 

 

วัย สูงอายุ Silver Age People (SAP) จะมีการใช้สื่อออนไลน์ผ่านทางหลากหลายช่องทาง ตาม พฤติกรรม ผู้สูงอายุ

 

ใช้/ดู youtube ย้อนหลัง ดูทุกช่วงเวลา แต่ไม่เยอะ

ใช้/ดู facebook สูงสุดในช่วงกลางวัน

ใช้/ดู TV ช่วงเช้า เย็น ดูข่าว ดูละคร

ใช้/ดู Line เช้าสูงสุด เพราะต้องเปิดดูว่า มีใครส่งอะไรบ้าง และ ส่งสติกเกอร์ทักทาย

 

และ Google ล่ะ ?? 

วัยสูงอายุ Silver Age People (SAP) รู้จัก Google มีพฤติกรรมการใช้ค้นหาข้อมูลบ้าง เพราะ ได้ยินมาจาก “ข่าว” ว่ามีการเข้าข้อมูลต่างๆจาก Google

แต่ ส่วนใหญ่ พฤติกรรม ผู้สูงอายุ ที่ไม่ใช้ Google เนื่องจาก ว่า ไม่รู้ว่าเข้าทางไหน

 

การ ตลาด ผู้ สูงอายุ
การ ตลาด ผู้ สูงอายุ

 

การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ครั้งนี้ ได้มีการสำรวจไปถึงเรื่องของ การรับสื่อโฆษณา ของ ผู้สูงอายุด้วย โดยมี

 

ผลสรุป สื่อโฆษณาที่ผู้ สูงอายุ สนใจและชอบเข้าถึง  มีดังนี้ 

อันดับ 1 TV
  1. เปิดทิ้งไว้ตลอด ข้ามไม่ได้
  2. มีเสียง มีภาพ น่าสนใจ

 

อันดับ 2 Line
  1. เพื่อนส่งมา
  2. กดโหลด สติ๊กเกอร์ ฟรี แต่บล็อก ไม่เป็น เลยรับข้อความจาก line official

 

อันดับ 3 facebook
  1. ตรงความต้องการ
  2. ไม่รู้ว่าที่ดูอยู่คือโฆษณา

 

 

 

ส่วน ผลสรุป สื่อโฆษณาที่ผู้ สูงอายุ มีสนใจน้อยและไม่ชอบเข้าถึง คือ

อันดับ 1 website
  1. กลัวว่าจะติดไวรัส

 

อันดับ 2 youtube
  1. ขัดอารมณ์ เพราะเค้าเข้าไม่ดูสิ่งที่เค้าสนใจจริงๆ
  2. คนที่ดูอยู่ เพราะกดข้ามไม่เป็น

 

อันดับ 3 นสพ.
  1. ตัวเล็ก
  2. สามารถเลือกที่จะเปิดผ่าน หรือ ไม่อ่าน ได้

 

แล้วก็มาถึงในส่วนของ การตลาดผู้สูงอายุ ว่า เนื้อหาแบบไหนโดนใจ วัยสีเงิน SAP หรือ Silver Age Content Marketing ตาม ชื่อ โครงการนี้เลย โดยมีการสรุปออกมาว่า สื่อ รูปแบบสื่อที่ ผู้สูงอายุ สนใจ มากที่สุด คือ คอนเทนต์ ในลักษณะ ของ ข่าว โดยแบ่งเป็น หมวดๆ ได้ดังนี้ 

 

 

 

แบ่งเป็นหมวด คือ (* ตามลำดับความสนใจ)

 

1. Useful 61% ข่าว บทความวิชาการ สุขภาพ

 

2. Careful 8% ข้อควรระวัง อุทาหรณ์

 

3. Inspiring 9% ธรรมะ จิตวิทยา ครอบครัว

 

4. Entertain 22% ละครย้อนหลัง ตลก เพลง

 

 

 

 

และ อันดับ รูปแบบเนื้อหา สื่อ การตลาดผู้สูงอายุ ที่เป็นที่ชื่นชอบ คือ

 

1. TVC ภาพเคลื่อนไหว 51%

 

2. คลิป ผ่านไลน์ 48.5% (ไม่เกิน 30 วินาที)

 

3. รูปภาพ รูปเดียวกระฉับ ฟอนต์ใหญ่ อ่านง่าย สีสดใส

 

4. บทความ เนื้อหาเชิงลึกที่สนใจ

 

5. Infographic 30.1%

 

การตลาด ผู้สูงอายุ
การตลาด ผู้สูงอายุ

 

จาก คำถามที่ว่า แล้วจากการสื่อสารทาง การตลาดผู้สูงอายุ เกิดการ Engagement ด้วยการแชร์ Share ขึ้นบ้างหรือไม่ และ การแชร์ นั้นเป็นไปในรูปแบบใดบ้าง ร่วมถึง เป็นเพราะสาเหตุใด ที่ผู้ สูงอายุจึงมีการแชร์

 

การแขร์ 72% จะแชร์เรื่องที่สนใจ
  1. ผ่านไลน์ 55%
  2. บอกต่อปากต่อปาก 34%

  3. เฟสบุ๊ค 11%
แชร์ เพราะ

1. มีประโยชน์ 61%

2. สานสัมพันธ์ เป็นประเด็นในการพูดคุย 34%

3. แสดงความคิดเห็น 5%

 

ไม่แชร์เพราะ

1. ไม่ต้องการป่าวประกาศ มีความเป็นส่วนตัวสูง 36%

2. กลัวรบกวนคนอื่น ไม่น่าสนใจ

3. ทุกคนน่าจะรู้อยู่แล้ว เรื่องเป็นกระแสอยู่แล้ว

 

 

ใน การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ นี้ มีการสุ่มสำรวจในเรื่องของการจดจำแบรนด์ต่างได้ ออกมาเป็นข้อมูลทางการตลาดที่น่าสนใจดังนี้ 

 

5 แบรนด์ ที่ SAP จดจำได้

 

อันดับ 1 Brands’

เพราะเห็นตลอด เห็นเรื่อยๆทั้งปี เห็นทุกเทศกาล

 

อันดับ 2 ไทยประกัน

 

อันดับ 3 SAMSUNG ใช้อยู่

 

และ แบรนด์อื่นๆ คือ สบู่ Bennett , กะทะ Korea King

 

 

สำหรับ องค์ประกอบที่ทำให้ ตลาดผู้สูงอายุ จดจำโฆษณาได้ คือ

  1. มีเรื่องราว 64%

  2. สินค้าจองแบรนด์ที่รู้จัก 21%

  3. พรีเซนเตอร์ 15% โดย พรีเซนเตอร์ ที่  ผู้ สูงอายุ จดจำได้และมีความชื่นชอบจะมีลักษณะ ดังนี้

 

        52.32% ชอบที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าจริงๆ

        27.81% ผู้เชี่ยวชาญ

        15.56% วัยรุ่นดาราดัง

 

จากสถิตทาง การตลาดผู้สูงอายุ วัย Silver Age People (SAP) จำแบรนด์ได้มั้ยว่าเป็นอะไร ??

  1. จำได้ 64%
  2. ไม่ได้ 36%

และ จดจำแบรนด์ จาก TV สูงสุดถึง 63%

 

และ หลักการ กลยุทธ์ทางการตลาด ผู้ สูงอายุ หรือ SILVER Age Strategies จึงสรุปออกมาได้เป็น ดังนี้

S social ใช้ช่องทาง โซเชี่ยลมีเดีย

I Interest (หลีกเลี่ยงการตอกย้ำความชรา)

L Less&more ตัวหนังสือใหญ่ คลิปสั้นกระชับ

V Value มีคุณค่า Feel good

E Easy ง่ายต่อความเข้าใจ

R Relavant ตรงความสนใจ

 

 

ส่วนประสมทางการตลาด_ฟิลลิป_คอตเลอร์
ส่วนประสมทางการตลาด_ฟิลลิป_คอตเลอร์

 

จากนั้น ใน การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ได้มีการเชิญผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้มาเสวนาในหัวข้อนี้ด้วย โดยสรุป ได้ว่า  

 

Jin Well being – Senior Living ที่ดีที่สุดในโลก เจาะ กลุ่ม ผู้สูงอายุ คนเมือง เห็นว่ามีความสามารถดูแลตัวเองได้พอสมควร จึงมีการสร้างเมืองในลักษณะ Step Down care สถานที่ สำหรับ ผู้สูงอายุ ในเกษียณอายุที่มีความสามารถทางการเงิน มีประกัน มีเงินสำรอง เงินเก็บ

 

ไม่จำเป็นต้องให้ลูกหลานดูแล แบบ Independent living เน้น ความสุขสบายในชีวิต Wellness เป็นหลัก และยังมี Senior Shopping Mall ที่คล้ายกับ ห้าง Aeon ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อตอบสนองคนเหล่านี้ด้วย

 

และเผยถึง สาเหตุ ที่ ความต้องการ สถานดูแลผู้สูงอายุ สำหรับ วัฒนธรรม ผู้สูงอายุ ในต่างจังหวัดจะมีความเป็น Social community สูงกว่า ในเมือง ดังนี้โอกาสที่จะขยาย สถานดูแลผู้สูงอายุ หรือ บ้านพักคนชรา ออกไปในต่างจังหวัดจึงยังไม่ใช่ในเวลานี้ 

 

การตลาด-ผู้สูงอายุ-
การตลาด-ผู้สูงอายุ-

 

สรุปสุดท้ายใน แนวทาง การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ นั้น ควรเน้นไปที่การให้ความรู้ ด้วยเนื้อหา ง่ายๆ เช่น เทรนด์ที่กำลังมาแรงมากๆ คือ เรื่องการกิน ได้รับความนิยมสูง ในกลุ่ม ผู้ สูงอายุ เนื่องจาก หาง่าย ไม่แพง

 

และมี Start-up ที่ทำธุรกิจลักษณะนี้มีเปอร์เซ็นต์ที่จะประสบความสำเร็จสูง และ เทรนด์อีกอย่าง คือ ธุรกิจ Health care ในไทย เพราะได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติมาก โดยมุมมองจากต่างชาติที่ว่าคนไทยเป็นคนจิตใจดี มีใจบริการ Service mind.

 

ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับ การตลาดในผู้สูงอายุ หรือ ต้องการคำปรึกษาเรื่องการตลาด ทักไลน์ มาได้ที่ LineID: @brandingchamp

 

 

4 Replies to “การตลาดผู้สูงอายุ และ โครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (สรุป งานวิจัย สำคัญมาก!)”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *