เว็บไซต์มีอะไรบ้าง [ อัพเดทล่าสุด ] ในยุคปัจจุบัน ความแตกต่าง ประเภท การสร้าง และ ขั้นตอน

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง [ อัพเดทล่าสุด ] ในยุคปัจจุบัน ความแตกต่าง ประเภท การสร้าง และ ขั้นตอน

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง จะรู้เรื่องนี้ เราต้องเข้าใจว่า เว็บไซต์ คือ หนึ่งในรูปแบบสื่อเพื่อการนำเสนอข้อมูล สามารถเรียกด้วยหลากหลายคำ เช่น เว็บเพจ Webpage, เว็บ Web, ไซต์ Site, เว็บบล็อก Webblog, บล็อก blog และอื่นๆ แต่ยังคงมีความหมายเป็นสื่อเพื่อการนำเสนอข้อมูลเหมือนกัน อาจมีข้อมูลเชื่อมโยงกันในหลายๆหน้า โดยภาษาในการสร้างหน้าเว็บไซต์หรือเว็บเพจจะมีพื้นฐานเป็นภาษา HTML หรือ HyperText Markup Language ที่นำมาเชื่อมโยงกันโดยลักษณะในการเชื่อมโยงเว็บนั้น เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่ง เว็บไซต์ ในปัจจุบัน มีการพัฒนาภาษาอื่นๆมาร่วมกับ HTML ด้วย เช่น Python, Javascript ฯ

การแสดงการมีอยู่ หรือ การมีตัวตนในรูปแบบดิจิทัล ในทางสถิติที่เปิดเผยโดย Adobe เผยว่า ปัจจุบัน 38% ของคนที่เข้ามายังเว็บไซต์จะไม่ไปต่อ ถ้า เนื้อหาคอนเทนต์ หรือ การวางรูปแบบของเว็บไซต์ ไม่น่าสนใจ นอกจากนั้น หน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ซึ่งดำเนินงานภายใต้มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ต เผยข้อมูลจากงานวิจัย พบว่า คนเข้าเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีการตัดสินความน่าเชื่อถือของธุรกิจ องค์กร หรือ บริษัท จากเว็บไซต์ของพวกเขา

 เกล็ดความรู้ พาย้อนดู… 10 เว็บแรกของโลกที่ใช้

.com มีเว็บอะไรบ้าง

ลำดับ วันที่จดทะเบียน โดเมน บริษัท
1 15 มีนาคม 2528 symbolics.com Symbolics
2 24 เมษายน 2528 bbn.com BBN Technologies
3 24 พฤษภาคม 2528 think.com Thinking Machines
4 11 กรกฎาคม 2528 mcc.com Microelectronics and Computer Technology Corporation
5 30 กันยายน 2528 dec.com Digital Equipment Corporation
6 7 พฤศจิกายน 2528 northrop.com Northrop Corporation
7 9 มกราคม 2529 xerox.com Xerox
8 17 มกราคม 2529 sri.com SRI International
9 3 มีนาคม 2529 hp.com Hewlett-Packard
10 5 มีนาคม 2529 bellcore.com Bell Communications Research

 

แต่ ก่อนที่คุณจะ สร้างเว็บไซต์ ของตัวเอง คุณควรตัดสินใจหรือพิจารณาในชัดเจนก่อนว่า เว็บไซต์ มี อะไร บ้าง , เว็บไซต์ มี กี่ ประเภท ขั้นตอน การสร้างของเว็บแต่ละแบบ และวันนี้ เราจะมารู้จักว่า  ในยุคปัจจุบัน ยุคนี้
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง การสร้าง ประเภท และ  ขั้นตอน

  1. เว็บบล็อก
  2. เว็บไซต์ขององค์กร หน่วยงาน บริษัท
  3. อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์
  4. เว็บพอร์ตโฟลิโอ รวมผลงาน
  5. เว็บเพื่อปิดการขาย (เซลเพจ แรนดิ้งเพจ)
  6. เว็บระดมทุน
  7. เว็บนิตยสารออนไลน์ 
  8. เว็บดูวิดีโอสด ดูสตรีมมิ่ง
  9. เว็บไซต์ด้านการศึกษา
  10. เว็บวิกิ เว็บรวบรวมความรู้
  11. เว็บแอพพลิเคชั่น (Software as a Service)

เรามาทำความเข้าใจเว็บไซต์รูปแบบต่างๆ ไปทีละอย่างพร้อมๆกัน โดยเริ่มจาก เว็บไซต์ มี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

 

  1. เว็บบล็อก

น่าจะเคยเห็นผ่านตามาบ้าง ถ้าเล่นเน็ตบ่อยๆ แต่ถ้าใครไม่คุ้น อธิบายง่ายๆ เว็บบล็อก คือ การลงบทความเหมือนการเขียนไดอารี่ประจำวัน แชร์ข้อมูล เนื้อหารายวัน โดยทั่วๆไปแล้ว เว็บบล็อก หรือ เว็บไซต์ประเภทนี้ จะมีผู้จัดการหรือเจ้าของเว็บไซต์เป็นบุคคลคนเดียว แต่บางครั้งก็อาจจะมีเป็นกลุ่มได้ เว็บบล็อกสามารถพูดถึงได้ในหลายๆหัวข้อ หรือ จากหลายรูปแบบของเนื้อหา เช่น การท่องเที่ยว คำแนะนำทางการเงิน การทำอาหารหรือเบเกอรี่ หรือแม้กระทั่ง การรีวิวสินค้าผลิตภัณฑ์ต่างๆ เว็บบล็อกจะถูกเขียนด้วยข้อความที่เป็นลักษณะของภาษาที่ไม่เป็นทางการมากนัก แต่เว็บบล็อกก็ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับนักเขียนรวมถึงเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับนักเขียนหลายๆคน 

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บบล็อก
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บบล็อก

วิธีสร้าง เว็บบล็อก

หากคุณต้องการมี เว็บบล็อกส่วนตัว เราขอแนะนำให้ใช้ Google site หรือ Blogger ซึ่งเป็นพื้นที่การสร้างเว็บประเภท บล็อก ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึง มีการใช้งานง่าย คุณสามารถทดสอบปรับเปลี่ยนรูปแบบของเว็บได้ตามที่ต้องการ รวมถึงยังมีคุณลักษณะพิเศษให้ได้ทดลองใช้ เช่น การใส่ลิงค์ การใส่วีดีโอ การใส่แผนที่ลงในตัวเว็บไซต์ได้อีกด้วย หากคุณกำลังมองหา พื้นที่ที่มีขั้นตอนในการสร้างเว็บไซต์แบบสั้นๆเป็นขั้นตอนง่ายๆ แนะนำให้ใช้ Google site หรือ Blogger เพราะมันจะช่วยประหยัดขั้นตอนและเวลาการทำงานของคุณไปได้มากทีเดียว 

 

  1. เว็บไซต์ขององค์กร หน่วยงาน บริษัท

เว็บไซต์ประเภทนี้ ตามชื่อหัวข้อจะ หมายถึงมีเจ้าของเว็บไซต์เป็นกลุ่มคนหน่วยงาน องค์กร หรือ บริษัท ซึ่งโดยส่วนใหญ่ เว็บประเภทนี้ จะเป็นเว็บประเภทการนำเสนอข้อมูลเชิงธุรกิจหรือข้อมูลประชาสัมพันธ์หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้กลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของพวกเขาได้ จะว่าไปก็เปรียบเหมือน บอร์ดประกาศ นั่นเอง

ลักษณะเฉพาะของ เว็บไซต์องค์กร หรือ เว็บไซต์บริษัท โดยมากจะพบเห็นว่ามีส่วนที่เรียกว่า “เกี่ยวกับ” หรือ “เกี่ยวกับเรา” ในหน้าเว็บนี้จะเป็นการอธิบายเรื่องราวของบริษัทหรือองค์กร ที่มาที่ไป ประวัติการก่อตั้ง ซึ่งสามารถช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือได้ด้วย อีกส่วนหนึ่งในเว็บไซต์ที่จะพบเห็นได้บ่อยๆ คือ การตอบคำถามที่มีการถามเข้ามาบ่อยๆ หรือ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า FAQ เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทหรือองค์กรได้คลายข้อข้องใจผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ทันที เว็บไซต์ประเภทนี้ ในบางครั้งจะมีการอธิบายตัวสินค้าหรือบริการ รวมถึง มีคำนิยมหรือรีวิวจากลูกค้าเพื่อโน้มน้าวให้ผู้อ่านเข้ามาใช้บริการของธุรกิจหรือองค์กรรวมถึง ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ด้วย 

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บบริษัท องค์กร
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บบริษัท องค์กร

วิธีสร้าง เว็บไซต์ขององค์กร หน่วยงาน บริษัท

สำหรับ เว็บไซต์ประเภทนี้ เราแนะนำให้มีการจัดซื้อจัดจ้าง บริการรับทำเว็บไซต์ อย่างเป็นทางการจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากว่า จำเป็นจะต้องมีบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความรู้ความชำนาญด้านการออกแบบและสร้างเว็บไซต์รวมถึง Graphic Design รูปภาพ และ อนิเมชั่นต่างๆที่จะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์เพื่อเป็นหน้าตาขององค์กรหรือบริษัท 

 

  1. อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์

เว็บไซต์ประเภทนี้ คุณอาจรู้จักกันชื่อเรียกที่ว่า เว็บออนไลน์ช้อปปิ้ง ซึ่งจะสามารถทำให้คุณวางสินค้าหรือบริการต่างๆลงบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อขายในอินเทอร์เน็ตได้ โดยในปัจจุบัน จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ เว็บที่เรียกว่าตลาดหรือ e-marketplace และ อีกรูปแบบนึง คือ เว็บอีคอมเมิร์ซทั่วไป ที่วางขายสินค้าของตนเอง 

เว็บไซต์ลักษณะนี้เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยจำเป็นต้องมีระบบความปลอดภัยบนเว็บที่ดีเพียงพอ เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจ ผูกบัตรเครดิตหรือเลือกวิธีการชำระเงินได้อย่างสบายใจ แต่รูปแบบง่ายที่สุดสำหรับเว็บ E-commerce รูปแบบไทยๆ คือ ให้กดเพื่อทักไปทางไลน์หรือทางแชทในการซื้ออีกครั้งหนึ่ง 

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์

วิธีสร้าง อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์

เพื่อให้สะดวกกับการมีเว็บไซต์และสามารถทำการค้าขายได้อย่างเหมาะสมในปัจจุบันทาง

LnwShop ผู้นำด้าน Marketplace และ Social Commerce  ในประเทศไทย เปิดตัวฟังก์ชั่นช่วยเหลืออำนวยความสะดวก พ่อค้า แม่ค้า และ เจ้าของธุรกิจ LnwShop Channels+ เพื่อสามารถเข้าถึงลูกค้าในทุกช่องทางการขายได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

LnwShop Channels+ สามารถเชื่อมต่อช่องทางการขายได้หลากหลาย 

Google Shopping ฟีเจอร์จาก Google ที่ช่วยให้ร้านค้าเข้าถึงลูกค้าที่มีคุณภาพทั่วทั้ง Google สามารถแสดงผลได้ทั้งบน Google Shopping Tab, Google Search และ Google Image โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการโฆษณา 

Lazada แพลตฟอร์ม Marketplace รายใหญ่อีกรายในประเทศไทย ที่มีการลงทุนมหาศาลให้กับแคมเปญการตลาด Lazada จึงเป็นอีกช่องทางขายที่จะทำให้ร้านค้ามีโอกาสค้นพบลูกค้าใหม่ ๆ 

Shopee แพลตฟอร์ม Marketplace รายใหญ่ที่จัดแคมเปญ และโปรโมชั่นดึงดูดให้ลูกค้าแวะเวียนเข้ามาเลือกดูสินค้าอย่างไม่ขาดสาย ทำให้เกิดการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลอด 24 ชั่วโมง 

LINE SHOPPING แพลตฟอร์มสำหรับขายสินค้าผ่าน LINE ไม่มี GP โดยผู้ซื้อสามารถช้อปปิ้งได้เองตลอด 24 ชั่วโมง หรือผู้ขายจะปิดการขายด้วยแชทก็สะดวก พร้อมเครื่องมือ retargeting สร้างผู้ซื้อซ้ำจากฐานเพื่อน LINE OA ได้เลย  LINE SHOPPING เองก็ยังมีโปรโมชั่นดี ๆ ฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำอีกมากมาย 

Facebook Shop ฟีเจอร์ช้อปปิ้งของ Facebook ที่จะแสดงแคตตาล็อกสินค้าบนหน้าเพจของร้านค้า ช่วยอำนวยความสะดวกในการเลือกดู และสั่งซื้อสินค้าให้กับลูกค้า

TikTok Shop แพลตฟอร์มที่เชื่อมความบันเทิงและการช้อปปิ้งไว้ด้วยกัน ซึ่งทำให้โดนใจนักช้อปออนไลน์ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การซื้อขายผ่าน TikTok Shop เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว 

LnwShop Channels+ ยังมีฟีเจอร์พิเศษ ให้คุณเชื่อมต่อหลายบัญชีร้านค้าบน Marketplace โดยที่ใช้คลังสินค้าเดียวกันได้ มีระบบจัดการที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนการขายออนไลน์  ไม่ว่าจะเป็นระบบใบกำกับภาษี, ระบบบัญชีซื้อ-ขาย, ระบบเชื่อมต่อขนส่งชั้นนำ ออกรหัสอัตโนมัติ, ระบบจัดการทีมงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย

แคมเปญพิเศษช่วงเปิดตัว! ทดลองใช้งาน LnwShop Channels+ ฟรีสูงสุด 6 เดือน

หากคุณเป็นร้านค้าที่มีช่องทางการขายมากกว่า 3 ช่องทางขึ้นไป และต้องการระบบเข้ามาช่วย Support การทำงาน อย่ารอช้า! เพียงสมัครเข้าร่วมกิจกรรม “Touch LnwShop Channels+” เพื่อรับสิทธิทดลองใช้งาน LnwShop Channels+ ฟรีสูงสุด 6 เดือน 

เริ่มสมัครได้แล้ววันนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2566 (รับจำนวนจำกัด) สมัครเลย! blog.lnw.co.th/2022/12/15/lnwshop-channels-plus-campaign
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามรายละเอียดเข้ามาได้ที่ [email protected] หรือโทร 02-026-6821 ต่อ 2   

 

  1. เว็บพอร์ตโฟลิโอ รวมผลงาน

เว็บประเภทนี้ เรียกชื่อว่า “ แฟ้มรวบรวมผลงาน ” ดังนั้น เว็บพอร์ตโฟลิโอ คือ เว็บแฟ้มที่รวบรวมผลงาน ข้อมูล เรื่องราวต่างๆ ที่ช่วยอธิบายถึงความเป็นตัวตนของเราได้ เว็บพอร์ตโฟลิโอจะเอาไว้แสดงผลงานสร้างสรรค์โดยพื้นฐานที่ใช้กันก็จะเป็นสายงานอาชีพ ศิลปิน นักวาดรูป ช่างภาพ คอมพิวเตอร์กราฟฟิก และ ผลงาน 3 มิติ 

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บพอร์ตโฟลิโอ
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บพอร์ตโฟลิโอ

วิธีสร้าง เว็บพอร์ตโฟลิโอ

ปัจจุบันมี ประเภท เว็บไซต์ นี้ ที่อำนวยความสะดวกในการสร้าง portfolio ให้ออกมาสวยงามสะดุดตาอย่างง่ายและมีทั้งรูปแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและฟรีด้วย เราขอแนะนำ 9 เว็บไซต์ช่วยสร้าง เว็บพอร์ตโฟลิโอ 1. Canva 2. Behance 3. Easelly 4. Carbonmade 5. Portfoliobox 6. Wix 7. Admission Premium 8. iSSUU 9. Adobe Portfolio

 

  1. เว็บเพื่อปิดการขาย (เซลเพจ แรนดิ้งเพจ)

ขายของออนไลน์ในยุคปัจจุบัน มีการพึ่งพาเรื่องของการซื้อโฆษณา หรือ ที่เราเรียกกันง่ายๆว่า ยิงแอด เพื่อให้ เกิดการขาย ทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น รูปแบบของเว็บไซต์ลักษณะนี้ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อประโยชน์ดังกล่าว ดังนั้น เซลเพจ แรนดิ้งเพจ คือ เว็บไซต์หน้าเดียวที่มีจุดประสงค์โดยตรงและโฟกัสเพียงเพื่อสร้างโอกาสปิดการขายให้กับธุรกิจ ดังนั้น มันจึงต้องเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายมีความสามารถโน้มน้าวผู้พบเห็นให้ตัดสินใจได้ด้วยตัวมันเอง 

เมื่อมีคนเข้าสู่เว็บไซต์ไม่ว่าจะจากทางการค้นหาด้วย Google หรือ สแกน QR Code จากที่ต่างๆ รวมไปถึงได้พบเห็นจากโฆษณาในแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย เมื่อเข้ามาที่หน้า Landing Page หรือ Sale Page มีแล้วเว็บไซต์จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการทำให้ได้ข้อมูลของผู้คนที่เข้ามาในเว็บไซต์นี้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ เบอร์โทรติดต่อ หรือ อีเมล์ เพื่อความสะดวกให้กับพนักงานขายหรือเซลล์ในการติดต่อกลับในอันดับต่อไป ดังนั้น บนเว็บไซต์ลักษณะนี้ จำเป็นจะต้องมีปุ่มหรือจุด ที่ทำให้ลูกค้ากรอกข้อมูลหรือทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อเว็บไซต์ได้ด้วยโดยทั่วไป เรียกว่า Call to Action หรือ CTA

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บเซลเพจ แรนดิ่งเพจ
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บเซลเพจ แรนดิ่งเพจ

วิธีสร้าง เว็บเพื่อปิดการขาย (เซลเพจ แรนดิ้งเพจ)

มีเว็บไซต์หนึ่งที่สามารถเป็นตัวช่วยในการสร้าง เซลเพจ แรนดิ้งเพจ ลักษณะนี้ได้เป็นอย่างดีและใช้งานได้ฟรี หรือ ถ้าต้องการใช้ฟังก์ชันต่างๆเพิ่มเติมก็มีรูปแบบการจ่ายเพิ่มเติมหน้าอีกด้วย Weebly เป็นตัวช่วยสร้างเว็บเพื่อปิดการขาย เซลเพจ แรนดิ้งเพจ ที่สุดยอดแห่งยุค

 

  1. เว็บระดมทุน

เราเรียก เว็บระดมทุน อีกชื่อหนึ่งว่า คลาวฟันดิง Crowdfunding หรือ เว็บที่ระดมทุนจากบุคคลทั่วไปหรือนักลงทุน เป็นตัวกลางเพื่ออำนวยความสะดวกในการจับคู่ ระหว่างผู้ที่ต้องการทุน ต้องการเงิน เพื่อทำกิจกรรม หรือ ผลิต/สร้างสรรค์ ผลงานบางอย่าง กับ  ผู้ที่อยากให้ทุน ให้เงินงบประมาณ โดยเว็บไซต์จะทำหน้าที่ดูแลความเสี่ยง และ ผลตอบแทน และ การชำระเงิน แต่เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการอย่างชัดเจนสำหรับเว็บไซต์ในรูปแบบนี้จึงทำให้หน้าที่ความเสี่ยงสำหรับทั้งตัวผู้ต้องการเงินทุนและผู้ลงทุนด้วย 

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บคลาวฟันดิ่ง
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บคลาวฟันดิ่ง

 

  1. เว็บนิตยสารออนไลน์ 

จากสาเหตุของการถดถอยของสื่อในรูปแบบเดิม เช่น หนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสาร จึงทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการรับสื่อรูปแบบใหม่ ในที่พักอาศัย ผ่านช่องทางออนไลน์ จึงทำให้สำนักพิมพ์หรือผู้จัดทำนิตยสาร หันมาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารลงในเว็บไซต์ นั่นจึงเป็นที่มาของเว็บไซต์ประเภทนี้ เว็บนิตยสารออนไลน์ ที่มุ่งเน้นสร้างฐานแฟนทางผู้ฟังของตนเองผ่าน Content ที่นำเสนอไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ บทความ หรือ สื่อเสียงและวิดีโอ

เว็บไซต์ในลักษณะที่ทำเป็นนิตยสารสามารถวางเป็นรูปแบบของการชำระเงินรายเดือนหรือรายสัปดาห์ หรือ แม้กระทั่งรายปีและตลอดชีพได้ มันขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของเนื้อหาจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และปัจจัยอื่นๆซึ่งสามารถนำมาวางรูปแบบธุรกิจให้กับเว็บไซต์ลักษณะนี้ได้

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง นิตยสารออนไลน์
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง นิตยสารออนไลน์

วิธีสร้าง เว็บนิตยสารออนไลน์

เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีรูปแบบในการเป็นผู้ผลิตเนื้อหาคอนเทนต์เองนั้น จำเป็นจะต้องมีบุคลากรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีงานและส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเว็บไซต์หลากหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพเนื้อหา Content ข่าวสาร ข้อมูล วีดีโอ อนิเมชั่นและ คอมพิวเตอร์กราฟิกต่างๆ ดังนั้น การสร้างเว็บไซต์ลักษณะนี้ จึงจำเป็นจะต้องมีทีมงานและบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านมาก จึงแนะนำให้เป็นการจัดตั้งทีมหรือจ้างบุคคลภายนอกเพื่อร่วมกัน ทำงานอย่างครบวงจรจึงจะทำให้การสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบนิตยสารออนไลน์ประสบความสำเร็จได้

 

  1. เว็บดูวิดีโอสด ดูสตรีมมิ่ง

เว็บไซต์ลักษณะนี้ ในปัจจุบันมีหลากหลายแบบฟอร์มที่เข้ามาครองใจคนไทยตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็จะเป็น Netflix , Disney + hotstar , Prime Video , Viu และ อื่นๆ หลายครั้งที่มีความเข้าใจผิด ว่าแต่ฟอร์มต่างๆนี้ ต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นด้วยกันทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว พื้นฐานของระบบการดูวีดีโอของแพลตฟอร์มที่ได้กล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นฐานจากเว็บไซต์ทั้งสิ้นด้วยการบริหารจัดการวีดีโอที่อยู่ในเว็บไซต์และให้สิทธิ์การเข้าถึงเฉพาะสมาชิกโดยอาจจะเป็นการเก็บค่าใช้จ่ายหรือเป็นการนำเสนอโฆษณาระหว่างดูเนื้อหาวิดีโอก็สามารถทำได้

การลงทุนสร้างเว็บไซต์ลักษณะนี้ ตั้งแต่พื้นฐานที่จำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนทั้งพื้นที่การจัดเก็บวิดีโอและปริมาณ bandwidth ที่จะต้องมีการดาวน์โหลดเพื่อรับชมวีดีโอจากลูกค้าแบบเรียลไทม์หรือในทันที ทั้งหมดนี้ตามมาซึ่งค่าใช้จ่ายอันมหาศาล แต่ปัจจุบันมีทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์เพื่อดูวีดีโอสดใน Streaming โดยอาศัย hosting หรือผู้ให้บริการพื้นที่การสตรีมวิดีโอต่างๆไม่ว่าจะเป็น YouTube Vimeo Facebook Watch รองเท้าแพลตฟอร์มที่อนุญาตให้ทำการ Streaming Video ด้วยการถ่ายทอดสดได้แบบฟรีๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายแบบฟอร์มตามแต่ความสะดวกในการเลือกใช้จึงทำให้การสร้างเว็บไซต์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าเดิม 

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง วิดีโอสตรีมมิ่ง
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง วิดีโอสตรีมมิ่ง

 

  1. เว็บไซต์ด้านการศึกษา

นอกจากเว็บไซต์หน่วยงานโดยตรงด้านการศึกษาของประเทศไทย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ หรือ กระทรวงการอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานต่างๆที่เป็นสถาบันการศึกษาก็มีการจัดทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองได้ง่ายๆมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมไปถึง ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสถาบันติวเตอร์โรงเรียนกวดวิชาก็มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองที่ให้ความรู้ในด้านการศึกษาวิทยาการอยู่แล้วดังนั้นจึงมีการทำเว็บไซต์ลักษณะนี้อยู่ 2 แบบคือเชิงพาณิชย์หรือเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการศึกษาทั่วไป 

เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดทำให้บางสถาบันการศึกษาโรงเรียนมหาวิทยาลัยมีการจัดทำหลักสูตรออนไลน์มากขึ้นรวมทั้งเว็บไซต์ด้านการศึกษาก็ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อคอร์สหรือหลักสูตรต่างๆเพื่อเรียนด้วยตัวเองจากที่บ้านได้

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บการศึกษา
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บการศึกษา

วิธีสร้าง เว็บไซต์ด้านการศึกษา

เว็บไซต์ ประเภทเว็บไซต์ นี้ ที่มีลักษณะในการนำเสนอหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ หรือ ที่เรียกว่า คอร์สออนไลน์ จำเป็นจะต้องมีผู้ชำนาญการผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสร้างเว็บไซต์รวมถึงมีระบบการจัดการเนื้อหาหลักสูตรที่ดีเพียงพอเพื่อจะสามารถทำการจำหน่ายข้อต่อต่างๆหรือวางระบบสมาชิกของเว็บไซต์ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะจัดทำเว็บไซต์ลักษณะนี้แต่เนื่องจากในปัจจุบันแล้วการอัพโหลดวีดีโอทำได้ง่ายมากขึ้นจึงมีลักษณะของการขายคอร์สออนไลน์ในรูปแบบของคนไทยส่วนใหญ่ซึ่งนั่นก็คือสร้างกลุ่มปิดในแพลตฟอร์ม Facebook และอนุญาตเฉพาะผู้ที่ชำระค่าใช้จ่ายเข้ารับชมวิดีโอเพื่อเรียนรู้ข้อต่างๆได้ 

 

  1. เว็บวิกิ เว็บรวบรวมความรู้

วิกิ Wiki กลายมาเป็นคำย่อของรูปแบบที่เข้าใจตรงกันว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงซึ่งสามารถตอบปัญหาต่างๆได้อย่างครบวงจรของมวลมนุษยชาติ แต่เดิมเราอาจใช้คำว่าเอนไซโคลพีเดียซึ่งหมายถึงแหล่งรวบรวมข้อมูลมหาศาลที่สามารถหาและนำเสนอข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ข้อสงสัยให้กับเราได้ ซึ่งปัจจุบันเมื่อการทำเว็บไซต์เกิดขึ้นได้ง่ายมากกว่าเดิมจึงทำให้ใช้ลักษณะนี้มีขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วไปและแบ่งหมวดหมู่ได้เป็นหลักหลายกลุ่มตามพฤติกรรมมนุษย์และผู้บริโภคในปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดสำหรับเว็บไซต์ลักษณะนี้คือ วิกิพีเดีย และ วิกิฮาว

ข้อแตกต่าง ของเว็บไซต์ลักษณะนี้กับเว็บไซต์นิตยสารคือจะไม่ใช่เรื่องทั่วๆไปแต่จะมีข้อมูลเฉพาะเจาะจงที่ลงรายละเอียดข้อเท็จจริงเพื่อเป็นข้อมูลความรู้ให้กับคนทั่วไปใช้เปรียบเทียบและนำเสนอในทางสาธารณะได้ 

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บวิกิ
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บวิกิ

วิธีสร้าง เว็บวิกิ เว็บรวบรวมความรู้

เริ่มทำเว็บไซต์ลักษณะนี้เป็นเว็บไซต์พื้นฐานที่ให้ข้อมูลข้อเท็จจริงดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีลูกเล่นหรือคอมพิวเตอร์กราฟิกเป็นจำนวนมากสามารถเริ่มต้นจากการใช้ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปอย่าง WordPress และพื้นที่ฝากเว็บไซต์ โฮสติ้ง ดีๆที่มีอยู่ทั่วไป แต่ข้อสำคัญก่อนการสร้างเว็บไซต์ประเภทนี้คือข้อมูลที่ถูกบรรจุลงไปในตัวเว็บไซต์นั่นเอง 

 

  1. เว็บแอพพลิเคชั่น (Software as a Service)

หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเว็บไซต์ลักษณะนี้แต่น่าจะเคยได้ใช้มาแล้วโดยที่ไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น เว็บแอพพลิเคชั่น ที่เราใช้ในการค้นหาข้อมูลกันอยู่ทุกวันที่เรียกว่า Google นั่นเอง ดังนั้น เว็บแอพพลิเคชั่น คือ เว็บที่มีการให้บริการบางอย่างผ่านโปรแกรมในรูปแบบของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น ระบบการค้นหา การจัดทำบัญชี การตัดพื้นหลังรูปภาพ กราฟหุ้น และอีกหลากหลายรูปแบบที่เปลี่ยนจากโปรแกรมในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ขึ้นสูงเว็บไซต์เพื่อให้บริการกับคนได้ทั่วโลกผ่านอินเตอร์เน็ต

เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บแอพพลิเคชั่น
เว็บไซต์มีอะไรบ้าง เว็บแอพพลิเคชั่น

วิธีสร้าง เว็บแอพพลิเคชั่น 

เนื่องจากเว็บไซต์ประเภทนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้จัดสร้างเว็บไซต์จะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจรวมถึงมีความชำนาญด้านการเขียนโปรแกรมหรือการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยซึ่งทำให้เว็บไซต์ลักษณะนี้มีความยากลำบากที่สุดในการจัดทำเว็บไซต์นอกจากมีบริการเกี่ยวกับโปรแกรมให้ใช้บนเว็บไซต์แล้วการที่จะทำให้ลูกค้าหรือผู้เข้าเว็บไซต์ประทับใจเพื่อเข้ามาใช้บริการได้อย่างต่อเนื่องก็เป็นปัจจัยหลักของเว็บไซต์ลักษณะนี้เช่นเดียวกัน  Facebook เองก็เริ่มต้นจากการเป็นเว็บไซต์ลักษณะนี้ เช่นเดียวกัน 

 

แล้วคุณล่ะคิดว่าจะมี เว็บไซต์ มีอะไรบ้าง , เว็บไซต์รูปแบบไหนอีก หรือ มีรูปแบบเว็บไซต์ประเภทไหนที่ยังไม่ได้ระบุลงในบทความนี้ .com มีเว็บอะไรบ้าง เว็บไซต์มีกี่ประเภท สามารถร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อ ” เว็บไซต์มีอะไรบ้าง [ อัพเดทล่าสุด ] ในยุคปัจจุบัน ความแตกต่าง ประเภท การสร้าง และ ขั้นตอน ” ด้วยการฝากความคิดเห็นโดย comment ด้านล่างนี้หรือทัก LINE มาคุยกันได้ที่ LINE ID: @brandingchamp

 

2 Replies to “เว็บไซต์มีอะไรบ้าง [ อัพเดทล่าสุด ] ในยุคปัจจุบัน ความแตกต่าง ประเภท การสร้าง และ ขั้นตอน”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *