tiktok (ติก ตอก) v.s. facebook สงคราม โซเชี่ยลมีเดีย … โลกต้องจับตา!
tiktok (ติก ตอก) v.s. facebook สงคราม โซเชี่ยลมีเดีย … โลกต้องจับตา!
tiktok
tiktok v.s. facebook ถ้าจะพูดถึง สงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนนั้น ไม่ได้มีเพียงเรื่องของเศรษฐกิจและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศเท่านั้นเรื่องนี้ยังลามปามไปถึงการใช้งาน social network อีกด้วยและสิ่งที่เกิดขึ้นและน่าจับตามอง นั่นก็คือ สงครามระหว่าง พระเอกเกิดใหม่อย่าง Tik tok กับเจ้าถิ่นจอมเก๋า อย่าง facebook
Tik tok กำลังคลืบคลานและจู่โจม facebook โดยเริ่มจากพนักงานของ facebook ก่อนเป็นอันดับแรกต้องขอบคุณสตาร์ทอัพอย่างติ๊กต๊อกที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วแถมยังจ่ายให้ผลประโยชน์ยังงามอีกด้วย
ดูเหมือนกับว่า facebook ยังไม่ได้เริ่มมีความกังวลใดๆกับโซเชียลมีเดีย อย่าง tik tok ที่เดินหน้าจู่โจม ด้วยการขโมยพนักงานของเขา บริษัทของประเทศจีนอีกมากมายก็ยังเริ่มเข้าดึงตัวทีมงานของมาร์คซัคเคอร์เบิร์กอยู่เรื่อยๆมากไปกว่านั้นติ๊กต๊อกเองก็เข้ามาเปิดออฟฟิศอยู่หลังบ้าน facebook ในซิลิคอนวัลเลย์เลยด้วยซ้ำ
จากรายงานข่าวของ CNBC ถึง tik tok (ติก ตอก) ซึ่งเป็นบริษัทของประเทศจีนที่มีชื่อว่า ByteDance ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการย้ายเข้ามาลงหลักปักฐานในบ้านเจ้าถิ่นอย่าง facebook โดยมีทำเลที่ตั้งอยู่ที่ WhatsApp ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกซื้อไปโดย facebook นั่นเอง ทำเลที่ตั้งตรงนี้ห่างไปจาก facebook สำนักงานใหญ่ (Headquater) ที่ เมลโล่ปาร์ค เพียงไม่กี่ไมล์เท่านั้น
เล่าถึงบริษัท ไบร์ทแดนซ์ ByteDance คือ บริษัทเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของประเทศจีน ซึ่งมีการดำเนินการและใช้เทคโนโลยีหลากหลายทางด้าน machine learning เพื่อเข้ามาผนวกกับแพลตฟอร์มสร้างการสร้างคอนเทนต์ content ตัวอย่างเช่น tik tok , Toutiao, Xigua video และอื่นๆอีกมากมายซึ่งบริษัทถูกประเมินมูลค่าสูงถึง 78 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนปี 2018 และมันยังถูกจัดให้เป็นยูนิคอร์นที่ทรงคุณค่าที่สุดของโลกในขณะนี้
ByteDance มีผู้ก่อตั้งคือ Zhang Yiming ฉางยี่หมิง ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี 2012 ได้มีการปล่อยผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นเรือธงของบริษัทออกมาโดยมุ่งเน้นให้เป็น application ในการผสมผสานเนื้อหาข่าวภาษาจีนโดยตั้งชื่อว่า Jinri Toutiao ซึ่งแปลความหมายออกมาหมายถึง ข่าวพาดหัวรายวัน โดยตัวแอปพลิเคชั่นยังมีความสามารถในการเลือกและจัดสรรเนื้อหาข่าวรวมทั้งความบันเทิงส่งถึงผู้ใช้งานในรูปแบบที่ปรับเปลี่ยนได้ตามเฉพาะความชอบส่วนบุคคลของผู้ใช้
หลังจากนั้นก็ได้มีการปล่อยแอปพลิเคชั่นออกมาอีก 4-5 ตัวจนในที่สุดเมื่อ ปี 2017 เดือนสิงหาคม ก็ได้ทำการเปิดตัวแอพพลิเคชั่นอย่าง Tik tok ติ๊กต๊อก หรือที่เรียกว่า douyin 抖音 ในภาษาจีน ซึ่งถูกปล่อยออกมาสู่ตลาดนานาชาติและประสบความสำเร็จไปอย่างกว้างขวางโดยมีผู้ใช้งาน active user สูงถึง 500 ล้านคนโดยเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปีทั่วโลก
TikTok ติ๊กต่อก คือ โซเชียลมีเดีย แอพพลิเคชั่น ที่มีอยู่ทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ android ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น วีดีโอ แอพฯ (Video application) ที่สามารถสร้างและแชร์ วีดีโอสั้นๆ อย่างเช่น การลิปซิ้ง Lip-sync วีดีโอตลก รวมถึงวีดีโอแสดงความสามารถและทักษะเฉพาะตัว
กลับมาเที่ยวเรื่องราวของสงครามกันต่อ ติ๊กต่อก และ บริษัทแม่อย่าง ByteDance ได้มีการโพสต์รับสมัครงานหลายตำแหน่งในแถบของเมืองซานฟรานซิสโกตั้งแต่ปีที่แล้ว บริษัทได้มีการจ้างพนักงานไปแล้วมากกว่า 20 คนซึ่งดึงโดยตรงมาจาก facebook
พนักงานเก่าของ facebook 2 คนที่ย้ายมาทำงานกับ tik tok บอกว่าความน่าดึงดูดใจของติ๊กตอกมาจากการที่มันเป็นบริษัท social media ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและเนื่องด้วยประสบการณ์ที่น่าสนใจของการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก และที่สำคัญและเป็นจริงอย่างยิ่งต่อพวกเขา บริษัทติ๊กต๊อกนี้ ให้รายได้เป็นเงินเดือนมากกว่าที่ facebook ให้ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้พนักงานเริ่มสนใจที่จะโยกย้ายกันเป็นอันมาก
สำนักข่าว CNBC ระบุว่า facebook ไม่เพียงแค่เป็นบริษัทที่ถูก tik tok โจมตีด้วยการดึงตัวพนักงาน บริษัทอย่าง แอปเปิ้ล YouTube อเมซอนและสแนปแชทก็มีพนักงานโยกย้ายออกไปอยู่กับ tiktok กันอย่างมากมาย
ขณะที่ facebook ก็ยังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆด้วยปริมาณของผู้ใช้งานที่มีการใช้งานอยู่อย่างปกติ active user ทั่วโลกที่สูงถึง 2.4 ล้านคนต่อเดือน แต่ facebook ก็ถูกมองว่าเป็น social network สำหรับคนแก่ไปเสียแล้ว
โดยมีการสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ บอกว่า 30% ของกลุ่ม generation Z หรือบุคคลที่เกิดหลังจากปี 1996 บอกว่าพวกเขาไม่ใช้ facebook กันแล้วและมีความชื่นชอบใน application อย่าง Snapchat YouTube และ Instagram มากกว่า
และก็ยังมีการสำรวจก่อนหน้านั้นที่ออกมาอีกมากมาย บอกว่า social media อย่าง facebook เองกำลังสูญเสีย กลุ่มวัยรุ่น และ millennials ไปเป็นอย่างมาก
TikTok เปิดให้ผู้ใช้สามารถสร้างวีดีโอสั้นๆที่น่าสนใจได้ด้วยตัวของพวกเขาเองและบ่อยครั้งที่มีดนตรีเป็นแบล็คกราวให้แบบฟรีๆด้วย ด้วยตัว แอพพลิเคชั่นอย่างติ๊กต่อกเองและบริษัทแม่อย่าง ByteDance ได้มีการอ้างว่ามีผู้ใช้งานต่อวันมากกว่า 700 ล้านคนทั่วโลก
แต่ facebook เองก็ไม่ได้น้อยหน้าด้วยการตั้งเป้าที่จะดึงส่วนแบ่งการตลาดกลับมาด้วยการออกจาก application ตัวใหม่อย่าง Lasso ที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นแอปที่เหมือนกันกับ tiktok อย่างกับแกะ รวมถึงยังมีรายงานออกมาว่า instagram เองก็มีการเพิ่มลูกเล่นที่เป็น tik tok สไตล์เข้ามาในการทำคลิปวีดีโอด้วย
มาร์คซัคเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า ติ๊กตอก เป็นผลิตภัณฑ์ทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคอันแรกที่ถูกสร้างด้วยบริษัทเทคโนโลยีจากประเทศจีนและมันค่อนข้างจะไปได้ด้วยดีทั่วโลกแล้วมันก็ยังไปได้ด้วยดีในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มวัยรุ่น
อย่างไรก็ตาม facebook ยังไม่ได้มีการตั้งให้ติ๊กต๊อกเป็นหนึ่งในคู่แข่งเหมือนกับ twitter และสแนปแชทแต่อย่างไรก็ตาม facebook เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและจับตาดูติ๊กต๊อกอย่างใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา
มีบางรายงานกล่าวว่ามาร์คซัคเคอร์เบิร์กกำลังเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคุกคามครั้งใหญ่ของ tiktok แต่อย่างไรก็ตาม facebook ก็รู้ว่าติ๊กต๊อกมีความนิยมมากขึ้นแค่ไหนและเติบโตในตลาดระดับสากลได้ดีขนาดไหนดังนั้นจึงทำให้ facebook เองก็มีความพยายามอยู่ระดับนึงที่จะศึกษาพฤติกรรมเหล่านี้รวมถึงการออกแอพพลิเคชั่น Lasso ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเพื่อมาแชร์ส่วนแบ่งการตลาดกลุ่มนี้
Lasso คือ โซเชียลมีเดียรูปแบบ วีดีโอแอพพลิเคชั่น ของ facebook ที่เรียกได้ว่าเหมือนกับ การโคลนนิ่ง tik tok มาเลยด้วยซ้ำแต่สำหรับประเทศไทยของเรายังไม่สามารถดาวน์โหลดเจ้า application ตัวนี้ได้
เนื่องจากทาง facebook ยืนยันว่าเจ้า Lasso ตัวนี้ ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ android อนุญาตให้ใช้เฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นแต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ facebook จะปล่อยให้ชาวโลกได้ใช้กันในเร็ววัน
สงครามของ social media ที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนนั้นก็คงยังต้องดูกันต่อไปยาวๆเพราะในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปจนแทบจะไม่สามารถทำนายอนาคตใดๆได้เลย
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น Tik tok ของ ByteDance หรือ Lasso ของ Facebook วันหนึ่งก็อาจจะถูกผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามากลืนกินส่วนแบ่งทั้งหมดก็เป็นได้และไม่แน่ด้วยความคิดความฝันเล็กๆมันอาจจะเป็น social network ที่เกิดจากคนไทยหรือ start up จากประเทศไทยก็เป็นได้
คุณสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อของ Tiktok v.s. facebook สงคราม โซเชี่ยลมีเดีย ได้ง่ายๆด้วยการ comment ด้านล่างบทความนี้หรือทักมาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้โดยตรงที่ LINE @brandingchamp