การเลือกตั้ง 2562 พรรคไหนเทรนด์..แร๊งงส์ วิเคราะห์ด้วย ” ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง “

 การเลือกตั้ง 2562 พรรคไหนเทรนด์..แร๊งงส์ วิเคราะห์ด้วย ” ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง “

การเลือกตั้ง 2562

การเลือกตั้ง 2562 พรรคไหน มีเทรนด์ เป็นยังไงบ้างใน..ช่วงนี้ เราจะมาลองวิเคราะห์ ผ่านเครื่องมือ ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง หรือ การตลาดออนไลน์ ที่นักการตลาดออนไลน์นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดกัน

 

*** บทความนี้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งไม่มีจุดประสงค์ใดๆในการชี้นำที่ส่งผลต่อ การเลือกตั้ง 2562 ที่จะเกิดขึ้น ทางเว็บไซต์ อ้างอิงจากข้อมูลจริง ที่เปิดเผยเป็นสาธารณะและสามารถตรวจสอบได้

 

—- ส่วนนี้ของบทความเป็นข้อมูลอัพเดทล่าสุด ที่ใช้ Google Trends ตรวจสอบกระแสล่าสุดของ 5 พรรคดัง 7 วันก่อน เลือกตั้ง 2562 มาดูกันจากรูปว่ากระแสจะเป็นอย่างไรก่อนจะย้อนลงไปอ่านบทความ เทรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นที่ กกต. กำหนดวันเลือกตั้ง

 

7วัน ก่อน การเลือกตั้ง 2562
7วัน ก่อน เลือกตั้ง 2562
กระแส7วันก่อนเลือกตั้ง-2562
กระแส7วันก่อนเลือกตั้ง-2562

—- จบการอัพเดทเทรนด์ 7 วันก่อนเลือกตั้ง 2562

 

ในวันนี้ 23 มกราคม 2562 หลังจากที่ เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ให้มีการเลือกตั้ง ทั้งนี้ให้ พ.ร.ฎ. นี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ตามกฎหมาย ภายใน 5 วันนี้ กกต. ต้องกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป วันรับสมัคร และจำนวน ส.ส. แต่ละเขต ซึ่งถ้าเป็นช่วงเดือนมีนาคม เท่ากับพรรคการเมืองจะมีเวลาหาเสียงไม่เกิน 60 วัน แน่นอน เมื่อเป็น เช่นนี้ ย้อนหลังไป ช่วง 90 วันที่ผ่านมา พรรคการเมือง หลัก และ แกนนำฯ มีกระแสเป็นอย่างไรบ้างมาดู

 

*** เนื่องจากข้อจำกัดบางประการของเครื่องมือออนไลน์ ในการ วิเคราะห์เทรนด์ จึงเลือก พรรคการเมืองหลักๆ 5 พรรค เพื่อใช้นำมาวิเคราะห์ประกอบบทความนี้

 

มาเริ่มกันที่ Google Trends ในประเทศไทยของ พรรคการเมือง ทั้ง 5 อย่าง พรรคพลังประชารัฐ , พรรคประชาธิปัตย์ , พรรคเพื่อไทย , พรรคภูมิใจไทย , พรรคอนาคตใหม่ ย้อนหลัง 90 วัน 

 

เปรียบเทียบเทรนด์ โดย มีคำว่า “พรรค” นำหน้า

 

การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 1
การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 1

 

เปรียบเทียบเทรนด์ โดย ไม่มีคำว่า “พรรค” นำหน้า

 

การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 2
การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 2

 

จากกราฟจะสังเกตได้ถึง เส้นสีฟ้า ที่เป็นเส้นแทนเทรนด์ของ พรรคประชาธิปัตย์ ที่พุ่งตัวสูงผิดปกติในประมาณช่วงวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับช่วงที่มีการประกาศผลการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นเหตุที่ตรงและชัดเจนที่สูงที่พิสูจน์ได้ว่าทำไมเทรนด์ของ พรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงนั้นจึงสูงผิดปกติ

 

สำหรับในกรณีของ พรรคการเมืองทั้ง 5 เมื่อใช้คำว่า “พรรค” นำหน้าแล้วตรวจสอบโดย Google Trends ย้อนหลังไป 90 วัน พบว่า  มี 2 พรรคที่แทบไม่มีเทรนด์หรือมีกระแสน้อยมากในโลกออนไลน์เมื่อเทียบกับพรรคที่เหลือ นั่นคือ พรรคพลังประชารัฐ และ พรรคอนาคตใหม่

 

แต่เมื่อเราเอาคำว่า “พรรค” ออกแล้วตรวจสอบเทรนด์ใหม่อีกครั้งในกราฟ ที่ 2 จะพบว่า พลังประชารัฐ กลับมีกระแสมากขึ้นในช่วง 90 วันที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่าตีคู่กันมากับ ประชาธิปัตย์ และเกือบจะเท่ากับ เพื่อไทย โดยรวมแล้วทั้ง พรรคเพื่อไทย หรือ เพื่อไทย เฉยๆ มีเทรนด์เฉลี่ยนำหน้าพรรคที่เหลือ ส่วนพรรคภูมิใจไทย หรือ ภูมิใจไทย มีเทรนด์อยู่เสมอๆในประมาณอันดับที่ 3 – 4 และที่น่าสังเกตุ คือ พรรคอนาคตใหม่ หรือ อนาคตใหม่ แทบไม่มีเทรนด์ใดๆปรากฎให้เห็นเลยเมื่อเทียบกับที่เหลือ

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทีมหาเสียงของการเลือกตั้ง 2562 ของพรรค ที่มีกระแสตามหลังชาวบ้านอยู่ คงต้องทำการบ้านอย่างหนักขึ้นมาก ในช่วงที่เหลือ เพราะเวลาหาเสียงมีน้อยมาก และ ทุกพรรคการเมืองจะถูกคิดค่าใช้จ่ายในหาเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ จนถึงวันเลือกตั้ง โดย กกต. กำหนดว่า ส.ส. เขต ใช้งบหาเสียงได้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ต่อ คน และ พรรคการเมือง ใช้งบหาเสียงได้ไม่เกิน 35 ล้านบาท ต่อ พรรค

 

เมื่อเราเห็นเทรนด์พรรคการเมืองตัวอย่าง ในการเลือกตั้ง 2562 แล้ว ที่นี้เราลองมาดู เทรนด์แกนนำของแต่ละพรรคทั้ง 5 ว่าจะมีกระแสแรงโดยรวมเหมือนพรรคของตนหรือไม่อย่างไรโดยจะใช้รายชื่อแกนนำของพรรคทั้ง 5 พรรคการเมือง ดังนี้

 

พรรค พลังประชารัฐ – อุตตม สาวนายน

พรรค ประชาธิปัตย์ – อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พรรค เพื่อไทย – สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

พรรค ภูมิใจไทย – อนุทิน ชาญวีรกูล

พรรค อนาคตใหม่ – ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

 

 

การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 3
การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 3

 

 

จากกราฟเทรนด์โดย Google Trends พบว่า มีการสูงขึ้นอย่างผิดปกติของเส้นสีแดง ที่เป็นเส้นแทน คำว่า “สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” เมื่อตรวจสอบด้วยการค้นหาโดย Google พบว่า ในช่วงวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2561 มีการหาเสียงของคุณสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ โดยมีการพาลูกสาวลงพื้นที่ จนเป็นกระแสขึ้นมาในช่วงนั้น ซึ่งหากจะมองว่า นี่เป็นการวางแผนทาง ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เพื่อแก้เกม กระแสการเลือกหัวหน้าพรรคพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงใกล้เคียงกัน ก็ถือว่า ทำได้เห็นผลทีเดียว

 

การเลือกตั้ง 62 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
การเลือกตั้ง 62 สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

 

และจากกราฟเทรนด์ดังกล่าว เป็นที่น่าสนใจว่า พรรคอนาคตใหม่ ที่แทบไม่มีกระแสใดๆเลยเมื่อเทียบกับพรรคอื่นๆ กลับกลายเป็นว่ามีกระแสของแกนนำ หัวหน้าพรร อย่าง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ มาแรงเทียบชั้นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แบบตีคู่กันมาติดๆ ส่วน ชื่ออย่าง อุตตม สาวนายน และ อนุทิน ชาญวีรกูล ตามมาในอันดับ 4 – 5 และกระแสที่เป็นเทรนด์ทิ้งห่างอย่างเห็นได้ชัด ก็ คือ เส้นสีแดงนั่นเอง

 

ข้อมูลของ Google Trends ไม่ได้บอกได้แค่เพียงเทรนด์การค้นหาตามระยะเวลาเท่านั้น มันยังสามารถบอกถึงเทรนด์ตามพื้นที่ได้ด้วย ดังนี้

 

การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 4
การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 4

 

การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 5
การเลือกตั้ง 2562 เทรนด์ 5

 

 

จะเห็นได้ว่า แผนที่ซึ่งแสดงพื้นที่ที่นิยมค้นหาคำนั้นๆ เฉดสีที่เข้มกว่าจะบ่งชี้สถานที่ที่คำค้นหานั้นมีโอกาสที่จะใช้ในการค้นหาสูงกว่า

 

หากเปรียบเทียบข้อความค้นหา คุณจะเห็นแผนที่ประเทศไทย ที่แสดงเฉดสีตามความนิยมในการค้นหาคำนั้นๆ ความเข้มของสีแสดงถึงเปอร์เซ็นต์การค้นหา ข้อความค้นหายอดนิยม ในภูมิภาคหนึ่งๆ ความนิยมในข้อความค้นหา สัมพันธ์ กับจำนวนการค้นหาทั้งหมดใน Google ที่ดำเนินการ ณ เวลา 90 วันที่ผ่านมา

 

จากเนื้อหาของบทความข้างต้น ต้องการนำเสนอการใช้เครื่องมือ ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง อย่าง Google Trends เพื่อดูกระแสการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การเลือกตั้ง 2562 และ พรรคการเมือง ตัวอย่าง เท่านั้น และเป็นข้อมูลย้อนหลัง 90 จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2562 เท่านั้น ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามการวิเคราะห์ของ Google หากใครสนใจพูดคุยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้างต้น สามารถทักไลน์มาพูดคุยแสดงความคิดเห็นกันได้ที่ Line ID : @brandingchamp <<คลิ๊กเลย

 

 

การเลือกตั้ง-2562
การเลือกตั้ง-2562

2 Replies to “การเลือกตั้ง 2562 พรรคไหนเทรนด์..แร๊งงส์ วิเคราะห์ด้วย ” ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง “”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *