7 เทรนด์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ “ความลับ” ที่คุณต้องรู้ [ e commerce ]
7 เทรนด์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ “ความลับ” ที่คุณต้องรู้ [ ecommerce ]
e commerce
e commerce หรือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีเรื่องให้เราต้องเตรียมตัวและเรียนรู้มากมาย โดยสรุปในฐานะ ที่ปรึกษาธุรกิจออนไลน์ และ นักการตลาด จากการที่ได้พูดคุยกับคนทำงาน ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าขององค์กร บวกกับ ประสบการณ์ในการทำงานด้านการตลาดดิจิทัลและ อีคอมเมิร์ซ ในหลายปีที่ผ่านมา
นำมาสรุปรวมแนวคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์เล่าสู่กันฟัง และ ขอบคุณน้องๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ให้เกียรติเชิญเป็น วิทยากร ไปร่วมแชร์เรื่องเกี่ยวกับเทรนด์ e commerce ปีนี้ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ไล่เรียงกันไป ตั้งแต่ เทรนด์ที่ 1 ถึง 7 น่าจะมองเห็นโอกาสอะไรบ้างในตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นี้ครับ
1. มหกรรมการเผาเงินของ e-Marketplace ต่างชาติ
Global Platforms’ Money Burning
เป็นเรื่องที่หลายๆคน อาจจะพอทราบกันอยู่แล้วว่า ในการซื้อของออนไลน์ในบ้านเรา มีตลาดสำหรับพ่อค้าแม่ค้ามาเปิดอำนวยความสะดวกกันมากมายหลายเจ้า ตลาดที่ใครๆก็สามารถนำสินค้ามาลงขายได้ในแบบออนไลน์ หลักๆที่เราคงจะได้ยินกัน เช่น lazada shopee และ jd แต่ใครบ้างจะรู้ว่า ตลาดหรือที่เรียกว่า e-marketplace ที่โด่งดังในหมู่นักช้อปคนไทยจะมีสถิติข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกได้ว่า “ขาดทุนอย่างย่อยยับ”
หลายคนอาจจะมีคำถามว่า ขาดทุนขนาดนี้..ทำไมยังถึงสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้? เรามีคำตอบมาฝากกัน แต่ก่อนอื่น เราจะพาไปดูข้อมูลจริงจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของ รายได้ของอีมาร์เก็ตเพลส ที่มาลงทุนสร้างตลาดเพื่อขายของให้กับคนไทย และ ให้พ่อค้าแม่ค้าไทยได้ซื้อมาขายไปกันอย่างสนุกสนาน นี่คือส่วนหนึ่งของเรื่องราว e commerce ที่คุณต้องให้ความสำคัญ
จากรูป จะเห็นได้ว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา lazada ขาดทุนมากมายมหาศาลรวม 3 ปี ขาดทุนราวๆ เกือบ 7,000 ล้านบาท ดูไม่น่าเป็นไปได้ที่ lazada ยังคงทำธุรกิจเป็นตลาดกลางในการซื้อมาขายไปในโลกออนไลน์ยอดนิยมของคนไทย มากไปกว่านั้น shopee ที่เรียกได้ว่าตามมาเป็นอันดับ 2 สำหรับช่องทางการขายของออนไลน์ของคนไทย แต่ก็ยังขาดทุนเกือบ 2,000 ล้านบาท (ทั้งนี้ e-marketplace เหล่านี้ ยังดำเนินธุรกิจอยู่ได้ เพราะ ได้รับเงินสนับสนุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกจากประเทศจีนเป็นนายทุนให้นั่นเอง)
ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆอีก แต่ที่เราอยากจะฝากไว้ให้ได้คิดกัน สำหรับ พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ของไทย รวมถึง ผู้บริโภคชาวไทย ที่ควรจะตระหนักไว้เบื้องต้น คือ การที่ต่างชาติลงทุนเอาเงินรวมๆกันเป็นหมื่นๆล้านบาท (ภายใน 2-3 ปีที่ผ่านมา) ที่เรียกได้ว่า เงินพวกนี้ถูกเผาไปในการกระตุ้นให้คนไทยนิยมช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ เสพติดการช้อปปิ้ง การซื้อของง่ายๆ
แต่…วันหนึ่ง ถ้าหากเงินทุนต่างชาติเริ่มยุติการสนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ platform เหล่านี้ก็จะถึงคราวที่ พ่อค้าแม่ค้าคนไทยจำเป็นจะต้องจ่ายตังค์ให้พวกเขาเพื่อให้ได้ใช้พื้นที่ในตลาดของเขา รวมถึง ผู้บริโภคหรือลูกค้าคนไทย ก็จำเป็นจะต้องจ่ายส่วนต่างที่มากขึ้น หลังจากที่ไม่มีโปรโมชั่นแล้วนั่นเอง
2. ดาวรุ่ง e Commerce แพลตฟอร์มในไทยที่น่าจับตา
Thai eMarketplace RisingStar
จาก เทรนด์ อีคอมเมิร์ซ ที่ผ่านมาเรามีความกังวลเกี่ยวกับ ตลาดออนไลน์ต่างชาติ ที่เข้ามาเปิดและระดมทุนเพื่อให้คนไทยเสพติดพื้นที่การช้อปปิ้ง แต่ในขณะเดียวกัน ทางภาครัฐและเอกชนของบ้านเราเอง ก็ยังมีพื้นที่ตลาดกลางสำหรับให้พ่อค้าแม่ค้ามาฝากขายสินค้าและให้คนไทยรวมถึงชาวต่างชาติได้เข้ามาช้อปปิ้งกันแบบออนไลน์อยู่เหมือนกัน
แม้ว่าจะมีบ้าง ที่ล้มหายตายจากและปิดตัวกันไปแล้ว แต่ที่น่าสนใจและเราเรียกได้ว่าเป็นเทรนสำหรับปีที่ผ่านมากันเลยทีเดียว เนื่องจากว่า เป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มของคนไทย และอีกอย่างเป็นเสมือนหนึ่งในตัวแทนของภาครัฐที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการค้าขายออนไลน์ของคนไทยด้วยกัน
นั่นก็คือ เพลตฟอร์ม ecommerce ที่ชื่อ Thailand Post Mart โดยมีผู้บริหารหลักคือ การไปรษณีย์ไทย นั่นเอง แต่มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ หรือ partner ที่เข้ามาช่วยเสริมกำลังให้แข็งแกร่งคือกลุ่มของ บีอีซีเทโร BECTERO
มากไปกว่านั้น ยังได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการโปรโมท ประชาสัมพันธ์ platform แห่งนี้กันอย่างคึกคัก ที่สำคัญที่สุด ที่เริ่มทำให้แพลตฟอร์มของคนไทยในเรื่องอีคอมเมิร์ซน่าจับตามองอย่างยิ่งในปีนี้นั่นก็เพราะว่า มีเงินสนับสนุนจากทางภาครัฐที่ส่งผ่านโครงการ ชิมช้อปใช้ ให้กับประชาชนทั่วไปในการซื้อของหรือท่องเที่ยวที่เข้ามาเกี่ยวพันกับเว็บไซต์แห่งนี้ด้วย
เพราะว่า เงินจากโครงการนี้ สามารถนำมาช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์มแห่งนี้ได้สะดวกและง่ายดายสำหรับผู้บริโภคชาวไทยจริงๆ จึงทำให้เป็นสาเหตุว่า ยอดขายที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของ e commerce platform นี้ น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
3. สินค้าต่างชาติคือธรรมดา สินค้าหรูหราคือแบรนด์ไทย
Thai premium brands & Products
“กองทัพสินค้าจีนราคาต่ากาลังเพื่อดูดเงินผู้บริโภคชาวไทย”
LAZADA + shopee + JD
ปี 2019 ขายสินค้าได้สูงถึง 174 ล้านชิ้น
ปี 2018 ขายสินค้าได้ 74 ล้านชิ้น
ราคาสินค้าจีน เฉลี่ย 350 บาท
ราคาสินค้าไทย เฉลี่ย 738 บาท
สินค้าที่มาจาก Cross Border สูงถึง 135 ล้านชิ้น
เป็นสินค้าในประเทศไทยเพียง 39 ล้านชิ้นเท่านั้น (ต่างกัน 53%)
จากข้อมูลที่ได้เห็นอยู่นี้ ค่อนข้างน่าตกใจทีเดียว เพราะว่า ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ shopping ผ่าน emarketplace เหล่านี้อยู่เหมือนกัน และ ในความเข้าใจ(ที่น่าจะผิดๆ) เห็นว่าสินค้าบางส่วนที่เราสั่งซื้อเป็นการจัดส่งภายในประเทศ ไม่ได้สั่งมาจากประเทศจีน
แต่…จริงๆแล้ว ร้านค้าที่เปิดอยู่บนแพลตฟอร์มเหล่านี้ มีการนำสินค้าจากประเทศจีนมาสต๊อกไว้แล้วบางส่วน ดังนั้น ในบางกรณี เราอาจคิดว่า เรากำลังสั่งซื้อสินค้าภายในประเทศ แต่จริงๆแล้วสินค้าที่เราซื้อก็มาจากต่างประเทศอยู่ดี
4. ไลฟ์ ขายของ จะแอดวานซ์มากขึ้น
Advance Live streaming commerce
อีกเรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวโยงกับการทำ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ที่ค่อนข้างเป็นตลาดที่เรียกภาษาวัยรุ่นว่า อินดี้ หรือ มีความเฉพาะตัวสูงมาก
บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เราเป็นประเทศแรกๆ ที่มีการไลฟ์ขายของผ่านช่องทาง social media อย่าง facebook จนถึงกับทำให้ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรใน facebook ต้องส่งทีมงานเพื่อมาศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยที่ใช้การไลฟ์ในการซื้อของขายของกัน
เพราะในภูมิภาคอื่น อย่างเช่น อเมริกาและยุโรป กิจกรรมการขายของผ่านไลฟ์สดนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากพฤติกรรมของเขาเหล่านั้นจะใช้ social media ในการแสดงความสัมพันธ์กันระหว่างครอบครัวญาติมิตรและเพื่อนฝูงเท่านั้น โดยที่ไม่ได้เน้นการซื้อมาขายไปอย่างพวกเรา
6 ขั้น ปั้นนักช้อป “มือใหม่” (ซื้อเสื้อผ้าในไลฟ์เฟซบุ๊ก)
1. เริ่มจาก คอมเมนต์ด้วย CF เพื่อเป็นการยืนยันว่า “สนใจ” “อยากได้” “จะเอา”
2. รอให้ผู้ขายเรียก “ชื่อ” เราในไลฟ์ พอถึงคิว แม่ค้าเค้าก็จะถือสินค้าที่เรา CF ไว้ แล้วพูดสั้นๆว่า “แค๊ปค่ะ” ซึ่งเป็นสัญญาณให้เราทำการ “แค๊ปเจอร์” หรือ จับภาพหน้าจอ รูปสินค้านั้นไว้
3. ส่งหน้าจอรูปสินค้าที่แค๊ปไว้ ไปในอินบ๊อกซ์ (Facebook Messenger) ซึ่งปกติจะมีแอดมินรอรับออร์เดอร์อยู่
4. รอแอดมินตอบ คุยกับแอดมินเพื่อยืนยันสินค้า เช่น สี ไซส์ จากนั้น แอดมินจะสรุปราคาแล้วส่งเลขบัญชีธนาคารให้เรา
5. เราก็ทำการโอนเงินเข้าบัญชี แล้ว ส่งสลิปหลักฐาน กลับไปให้แอดมิน รอสักพักแอดมินก็จะกลับมายืนยันการชำระเงินแล้ว
6. แอดมินจะให้เราแจ้งที่อยู่จัดส่ง เบอร์ติดต่อ เพื่อส่งของให้ สุดท้ายเราก็แค่รอของมาส่ง
จากขั้นตอน ที่ดูค่อนข้างซับซ้อน ในการสั่งซื้อสินค้าระหว่างที่พ่อค้าแม่ค้ากำลังทำการไลฟ์ แต่ไม่น่าเชื่อว่า นักช้อปชาวไทยก็สามารถซื้อของกันได้อย่างง่ายดายอยู่ดี
แต่เนื่องด้วยกระแสของการช้อปปิ้งระหว่างการชมไลฟ์นี้ เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ จึงมีแนวโน้ม รวมถึง ในปัจจุบันได้มีธุรกิจในการให้ความช่วยเหลือ พ่อค้าแม่ค้าในการนำเสนอสินค้าและรับออเดอร์ของลูกค้าผ่านการไลฟ์นี้ด้วย
เช่น เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มในการดูด/เก็บยอดออเดอร์ ระหว่างที่กำลังไลฟ์เพื่อขายสินค้า ปัจจุบันบริการเหล่านี้เริ่มขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะมีการอำนวยความสะดวก รวมถึง ใช้ประโยชน์จากการที่ การซื้อของขายของผ่านไลฟ์เป็นที่นิยม
ดูง่ายๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพลตฟอร์ม e-marketplace อย่าง shopee และ lazada เอง ก็ได้มีการเปิดฟังก์ชั่นใช้งานในการไลฟ์ขายของ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคคนไทยอย่างเราแล้วด้วยซ้ำ
ในอนาคต อาจมีระบบอื่นๆที่เข้ามา ทำให้การไลฟ์ขายของสนุกสนานมากขึ้น และโกยเงินของนักช๊อปได้มากขึ้น เช่น ระบบอัตโนมัติที่สามารถเข้าใจบริบทหรือข้อมูลต่างๆที่พ่อค้าแม่ค้ากำลังไลฟ์ โดยมีสินค้าขึ้นมาให้เลือกช้อปปิ้งได้แบบอัตโนมัติ สิ่งนี้มีเกิดขึ้นแล้วจริงๆ ในประเทศจีน บนแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า iQiyi
5. ธุรกิจต้องการทีมและผู้เชี่ยวชาญมากกว่าที่เคย
Brands needs more team and experts
6. ขายของในโซเชี่ยลมีเดียเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
Social commerce is the new normal
คงจะมีน้อยคนนัก ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ แล้วไม่เคยมีการช้อปปิ้ง หรือ ไม่เคยแม้กระทั่งได้เห็นและรับรู้ว่ามีการขายของใน social media
เพราะปัจจุบันโซเชียลมีเดียหลักๆของคนไทย เช่น facebook instagram twitter LINE และ tiktok แพลตฟอร์มเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ มีการซื้อขายสินค้า แฝงอยู่ทั่วๆไป หลักๆแล้ว คนไทยก็มีมุมมองและเข้าใจไปเองด้วยซ้ำว่า facebook มีไว้สำหรับการขายของออนไลน์
นี่เป็นมุมมองที่ทำให้การใช้โซเชียลมีเดีย เป็นพื้นที่ในการ ทำการตลาด โฆษณา และ ขายของ เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วสำหรับคนไทย ดังนั้น ไม่ว่าจะมีลูกเล่นใหม่ๆใน social media ออกมาแบบไหนก็ตาม ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับพ่อค้าแม่ค้าให้ได้ใช้ช่องทางเหล่านั้น เป็นพื้นที่ในการขายของแล้วล่ะก็ คนไทยก็พร้อมที่จะกระโดดเข้าไปใช้งานกันโดยไม่คิดอะไรมากมาย เพราะพวกเราคุ้นเคยในการเป็นผู้ขาย รวมถึงเป็น นักช้อป อยู่แล้ว
มีเทคโนโลยีและลูกเล่นใหม่ๆใน social media เกือบทุกแพลตฟอร์ม ที่จะมาอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ในการช้อปปิ้ง รวมถึง พ่อค้าแม่ค้าในการนำเสนอสินค้าตัวอย่างเช่น
facebook มีส่วนที่เรียกว่า marketplace สำหรับเป็นตลาดในการซื้อของขายของแยกออกมาจากหน้าฟีดหรือเรื่องราวส่วนตัวโดยเฉพาะ
instagram เองก็มีข่าวว่าจะเปิดตัวฟังก์ชัน การใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกพ่อค้าแม่ค้าให้นำเสนอสินค้าตรงเข้าตาและปิดการขายได้ง่ายขึ้นมากกว่าที่ใช้การ direct message หรือ DM กันอยู่ในปัจจุบันนี้
LINE เองที่ต้องการให้พ่อค้าแม่ค้าได้กระโดดเข้ามาทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซกันอย่างจริงจัง ได้เปิดส่วนที่เรียกว่า LINE official account สำหรับการทำธุรกิจโดยเฉพาะ และ มากไปกว่านั้น ยังเปิดตัวช่องทางหรือลูกเล่นใหม่ๆ ที่เรียกว่า LINE myshop สำหรับพ่อค้าแม่ค้าในการลงขายสินค้ากันอย่างจริงจัง และ มีระบบให้ความช่วยเหลือในเรื่องการรับออเดอร์สินค้าเพื่ออำนวยความสะดวกด้วย
7. โมเดลธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใหม่ๆจะเข้ามาอีก
New Model of ecommerce is coming
ในเมื่อคนไทย คุ้นเคยกับเรื่องราวของการช้อปปิ้งออนไลน์ การซื้อมาขายไปผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงมีความเข้าใจในเรื่องของอีคอมเมิร์ซกันแล้วเป็นส่วนใหญ่
จึงทำให้มีโอกาสอีกมากมาย ที่จะเกิดขึ้นในด้านการทำธุรกิจที่เน้นเรื่องของ e commerce ที่น่าจะมาโด่งดังและนิยมในประเทศไทยในไม่ช้านี้
มีตัวอย่างเล็กๆน้อยๆของโมเดลธุรกิจ e commerce ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศอื่นๆ แต่ยังไม่ได้พบเห็นมากนักในประเทศไทย หรือ บางโมเดลธุรกิจก็ยังไม่มีในไทยด้วยซ้ำ ตัวอย่าง เช่น
Birch box หรือ กล่องสุ่ม ระบบการรับสมัครสมาชิกรายเดือน เพื่อจัดส่งสินค้าตัวอย่างระดับพรีเมี่ยมให้กับลูกค้าเป็นประจำทุกเดือน ลักษณะนี้ยังมีให้เห็นไม่ชัดนักในประเทศไทย แต่คาดว่า อาจจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
หรือ โมเดลธุรกิจที่นำเรื่องของเกมเข้ามาเกี่ยวข้องกับ ecommerce เช่น Telefarm.net ของประเทศญี่ปุ่น ที่มีหลักการในการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคด้วยการที่ให้ผู้บริโภคเล่นเกมจำลองปลูกผัก และ ท้ายที่สุด ผักต่างๆที่ผู้บริโภคปลูกในเกมนั้น จะถูกส่งตรงไปถึงบ้านให้ได้กินกันจริงๆ
และ นี่คือเทรนด์เกี่ยวกับ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ecommerce) ที่น่าจะทำให้พ่อค้าแม่ค้าคนไทย หรือ ผู้ประกอบการไทยได้เก็บไป คิด วิเคราะห์ ว่า จะต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวอย่างไร รวมถึง ใช้เป็นไอเดียให้กับผู้เริ่มต้นที่คิดจะสร้างสรรค์ธุรกิจออกมาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคคนไทย
เนื้อหาทั้งหมดนี้นำไปแบ่งปันให้น้องๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใครที่ต้องการไฟล์นำเสนอประกอบการบรรยาย สามารถดาวน์โหลดได้จาก slideshare ด้านล่างนี้
กลยุทธ์การตลาด
commerce, การ ค้า พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการทำการตลาดออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การเตรียมความพร้อมและการวางแผนไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ดี ทำให้มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นในการที่จะช็อปออนไลน์หรือขายออนไลน์ ข้อมูลเล่านี้สามารถใช้ได้จริง ต้องขอขอบคุณความรู้ดีๆจากปรึกษาธุรกิจออนไลน์ และ นักการตลาด จากการที่ได้พูดคุยกับคนทำงาน ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าขององค์กร บวกกับ ประสบการณ์ในการทำงานด้านการตลาดดิจิทัลและ อีคอมเมิร์ซ