บล็อกเกอร์ ตาบอด Blind blogger (รีวิวเว็บไซต์และข้อแนะนำ) [Podcasts]

บล็อกเกอร์ ตาบอด Blind blogger ( รีวิวเว็บไซต์และข้อแนะนำ ) [Podcasts]

บล็อกเกอร์

บล็อกเกอร์ ตาบอด สำหรับเรื่องนี้ สังคมไทยยังมีเรื่องราวดีๆมากมาย วันนี้ขอเป็นหนึ่งสถานที่ที่มาแชร์เรื่องราวดีๆของคนไทยด้วยกันให้กันฟัง อยู่กันกับ พอดแคสต์ BrandingChamp Podcasts วันนี้อยากจะแนะนำเรื่องราวที่ ขอเป็นคนนึงที่สนับสนุนเรื่องราวเหล่านี้ เพราะพอได้รู้แล้วรู้สึกดีมากๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของจิตใจ ทำให้รู้สึกมีความสุขขึ้นมา รวมถึงเห็นมุมมองที่จะสามารถช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ได้

 

สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ คือ เกี่ยวกับเรื่องราวของการทำเว็บไซต์ด้วย แล้วก็เป็นเรื่องของเชิงการตลาดด้วยละกัน บางคนอาจจะมองว่า พ็อดแคสท์ นี้ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องการตลาดแต่มีแน่นอน

 

ล่าสุดที่ได้รับข่าวมา (อันที่จริงผมไม่ได้ไปมีส่วนในการเปิดตัวของงานนี้) แต่ก็เอาเรื่องราวมาเล่าให้ฟัง จะเป็นประโยชน์ของใครหลายๆคนหรือถ้าอยากจะช่วยกันสนับสนุนก็สามารถช่วยกันได้

 

 

ที่จะเล่าก็คือ ล่าสุดมีการเปิดตัว เว็บไซต์ เว็บไซต์หนึ่ง บางคนอาจจะเปิดตัวเว็บไซต์มันจะมาเกี่ยวอะไรกับเรา เว็บไซต์นี้ชื่อว่า เว็บไซต์ BlindMagazineOnline.com เปิดตัวขึ้นมาเมื่อ วันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมานี้ โดยเน้นเป็นเรื่องของนิตยสารออนไลน์ที่มีนักเขียนเป็นคนตาบอดจริงๆ เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

 

งานเขียนที่อยู่ในเว็บไซต์แห่งนี้ เข้าไปดูกันได้ เข้าไปอ่านได้ เพราะว่า เป็น Magazine ที่เป็นพื้นที่ให้กับคนตาบอดเพื่อมานำเสนองาน ในเรื่องของงานเขียน ที่เป็นแบบเฉพาะของกลุ่มคนเหล่านี้เลย ได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เป็นที่รวมผลงานของ นักเขียน ตาบอด ทุกคนตาบอด

 

คุณสามารถเข้าไปสัมผัสผลงาน จากนักเขียน ผู้พิการทางสายตา สัมผัสโลกด้วยหัวใจของเขา เชื่อมโลกมืดและโลกสว่าง เป็นโลกใบเดียวกัน แม้มองไม่เห็นด้วยดวงตา แต่พวกเขายังสามารถมองโลกด้วยหัวใจและสร้างสรรค์งานเขียนดีๆสู่สังคมไทย อันนี้ คือสโลแกนยาวๆของเว็บไซต์แห่งนี้

 

BrandingChamp.com ก็เลยอยากจะขอเป็นพื้นที่ พื้นที่นึงที่สนับสนุน เรื่องราวดีๆเหล่านี้

พูดในมุมของการเป็น นักการตลาดออนไลน์ สำหรับพื้นที่แบบนี้ก็น่ายินดีมากๆที่มีคนเล็งเห็น แล้วก็พยายามจะช่วยเหลือกลุ่ม คนตาบอด หรือ ผู้พิการทางสายตา ที่อาจจะยังขาดโอกาสในประเทศไทย เพราะว่ากลุ่มคนเหล่านี้ ก็อาจจะถูกมองเป็นกลุ่มผู้พิการอาจจะถูกมองข้ามไปในหลายๆกรณี แต่เมื่อมีการรวมตัวกันแบบนี้ แล้วก็ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นที่สนับสนุนผลงานของพวกเขา น่าจะเป็นผลดีในระยะยาว

 

ถ้าเป็นกระแสขึ้นมา เว็บไซต์นี้เกิดจริงๆ แล้วจะมีประโยชน์กับบุคคลผู้ด้อยโอกาสที่เป็น ผู้พิการทางสายตา

 

เว็บไซต์ เปิดตัวได้ไม่นาน แต่ก็มีการบริหารจัดการที่ดีระดับหนึ่ง คือ การเขียนของ ผู้พิการทางสายตา หรือ คนตาบอด ก็คงจะ “ไม่ใช่” การเขียนด้วยปากกาหรือดินสอ คงจะออกมาในรูปแบบของ การพูด หรือ การใช้ พิมพ์ตามคำสั่งด้วยเสียงของ Google ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มี อยู่แทบทุกมือถือ (Smartphone) ในการพิมพ์ออกมาเป็นบทความก่อน แล้วก็น่าจะมีเจ้าหน้าที่ ที่เป็นอาจจะเป็น บรรณาธิการ หรือ ผู้คนที่ช่วยเหลือในการตกแต่งคำ แก้ไขคำผิด เหล่านี้ รวมถึง ใส่รูปต่างๆลงไปเพื่อสร้างเป็น บล็อกบทความ

 

บทความหนึ่งที่จะขอยกตัวอย่าง (จริงๆแล้วก็ยังอ่านไม่ได้หมดทุกบทความ แต่ก็มีหลากหลายบทความที่น่าสนใจ) ตัวอย่างเช่น บทความที่ชื่อว่า กว่ารุ่งอรุณจะมาถึงของนักฟุตบอลตาบอด โดย บล็อกเกอร์ กมนนัทธ์ ศรีหะจันทร์  เขาเล่าเรื่องราว การรับใช้ชาติไม่ได้ เป็นทหารไม่ได้ แต่ว่าเขาก็ยังรับใช้ชาติในอีกด้านหนึ่ง ก็คือเป็น นักฟุตบอล นักฟุตบอลตาบอด ถ้าใครอยากจะอ่านบทความนี้ ก็ลองเข้าไปที่เว็บไซต์ BlindMagazineOnline

 

มีเรื่องราวน่าสนใจมากมายเลย ลองเข้าไปดูกัน อีกหนึ่งตัวอย่างบทความ บางคนอาจจะมองว่ามีแต่เรื่องราวของคนตาบอด ที่อาจจะต้อง ดราม่าเกินไป ตัวอย่างเช่น เรื่องเกี่ยวกับการทำอาหารก็มี ในคอลัมน์ที่เป็นเขาตั้งชื่อว่า “ลูบคลำทำครัว” เป็นเรื่องที่ชื่อว่า “ลาบหมู ไม่หมู” เขียนโดย บล็อกเกอร์ เชฟแป้ง เป็นคนตาบอดเหมือนกัน เขาก็จะมาเล่ารายละเอียดว่าเขาทำลาบหมูได้ยังไง

 

 

น่าเข้าไปสนับสนุน แค่ได้อยู่หน้าเว็บก็รู้สึกมีพลังแล้ว ขนลุก ไม่ใช่แอร์หนาวนะ แต่คือ รู้สึกดี ว่ามีเว็บไซต์แบบนี้ออกมา ก็จะขอเป็นส่วนหนึ่ง ที่สนับสนุนกันไปเรื่อยๆ

 

แล้วก็ในมุมมองของ ที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ จุดอ่อนนิดนึง สำหรับเนื้อเรื่องของเว็บไซต์แห่งนี้ นั้นก็คือ ยังมีเรื่องของ การทำอันดับใน Google หรือ seo (Search Engine Optimization) น้อยเกินไป และ อ่อนการประชาสัมพันธ์ (จริงๆแล้ว คิดว่าอาจจะยังมีงบประมาณไม่มาก ก็เลยทำได้ออกมายังไม่เต็มที่มากนัก) เลยอยากจะมีส่วนร่วม สร้างเป็นลิงค์กลับไปที่เว็บไซต์นี้ให้ เพื่อเพิ่มในเรื่องของการทำอันดับใน Google ได้ดีขึ้น 

 

ยังมีอีกหลายเรื่องราวในเว็บไซต์แห่งนี้ จริงๆแล้วถ้าใช้ระยะเวลาสักพักนึง สะสมบทความไปเรื่อยๆ คิดว่าน่าจะมีการติดอันดับใน Google มากขึ้น สร้าง Traffic จำนวนผู้เข้าชมได้มากขึ้น

 

สำหรับ BlindMagazineOnline เขาก็มี เพจ Facebook ด้วย ( FB Page : Blind Magazine Online ) เพื่อแชร์บทความ Content แต่ว่าตอนนี้มียอดคนไลค์อยู่ประมาณ 500 คนเอง อยากจะขอให้เพื่อนๆไปช่วยกันแชร์ ช่วยกันกดไลค์นิดนึง เพื่อสนับสนุน นักเขียน บล็อกเกอร์ตาบอด ของประเทศไทย บทความในเว็บส่วนใหญ่ บทความภาษาไทย

 

ในมุมมองของผม ถ้าเกิดว่าเว็บไซต์มีการทำอันดับดีๆบน Google แล้วก็มีคอลัมน์ต่างๆเพิ่มขึ้น มีแฟนคลับติดตามอ่านบทความต่างๆ ในอนาคตอาจจะมีปล่อย Content อื่นออกมา อย่างเช่น วีดีโอ หรือว่าเป็น พอดแคสต์ Podcasts ออกมาเพิ่มเติม ก็จะยิ่งทำให้ตัวเว็บไซต์ดีขึ้น แล้วก็พอ มีแฟนคลับ มีผู้ติดตามมากขึ้น ผล คือ เป็นประโยชน์ให้กับ นักเขียน บล็อกเกอร์ ตาบอด ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมอันนี้

 

คือ เขาสามารถสร้างรายได้ได้จากการ นักเขียน บล็อกเกอร์ ซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในอดีต ถ้าเราไม่ได้ใช้ช่องทางออนไลน์แบบนี้ การจะมีการรวมตัวสร้าง Content อะไรรูปแบบนี้ค่อนข้างจะยาก ยิ่งในการเขียนหนังสือสักเล่มนึง ถ้าเป็นคนนักเขียนตาบอด ก็มีโอกาสน้อย เพราะ สมัยก่อนคงอาจจะต้องเขียนออกมาเสร็จ แล้วก็ไปนำเสนอสำนักพิมพ์ ซึ่งถ้าสำนักพิมพ์ไม่สนับสนุนก็ไม่สามารถตีพิมพ์ออกมาได้ ถ้าไม่มีฐานแฟนคลับ เป็นไปได้ยากมากเลย

 

 

ลองจินตนาการดู ถ้ามี คอลัมนิสต์ บล็อกเกอร์ตาบอด สักคนนึงในเว็บไซต์แห่งนี้ มีฐานแฟนคลับหรือมีผู้ติดตามเยอะขึ้นมากขึ้น ก็จะส่งผลให้เขาสามารถที่จะตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือได้อีกด้วย

 

แล้วก็มีหลากหลายรูปแบบ ที่สามารถจะนำ Content ของผู้พิการทางสายตานี้ นำเสนอไปสู่โลกกว้างได้ แล้วก็เป็นรายได้กลับมาช่วยเหลือกลุ่ม ผู้พิการตาบอด ด้วยกัน

วันนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องราวดีๆ ที่ผมอยากจะนำเสนอ ผ่านพอดแคสต์อันนี้ ผ่านมุมมองของนักการตลาดนิดๆหน่อยๆ แทรกเข้าไป แต่ยังไงก็ตามมาช่วยสนับสนุนงานของ บล็อกเกอร์ตาบอดด้วยนะครับ ไปที่ BlindMagazineOnline.com แล้วไว้เจอกันตอนหน้า

 

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ ” นักเขียน บล็อกเกอร์ ตาบอด Blind blogger ” ได้ด้วยการคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ หรือ ไลน์มาทักทายพูดคุยกันได้ที่ LineID:  @brandingchamp อาจารย์แชมป์ ธิติพล เทียมจันทร์

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *