สโลแกน ดีๆ กลยุทธ์การตลาด สร้าง ” ความแตกต่าง ” ให้ธุรกิจคุณ
สโลแกน ดีๆ กลยุทธ์การตลาด สร้าง ” ความแตกต่าง ” ให้ธุรกิจคุณ
สโลแกน
สโลแกน (Slogan) มีความจำเป็นมากแค่ไหน ผู้ประกอบการหลายคนอาจยังมีข้อสงสัยอยู่ในใจ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สโลแกนดีๆ เพียงแค่ประโยคสั้นๆประโยคเดียวนั้น จะสามารถให้ธุรกิจของคุณได้ผลกำไรตอบแทนมหาศาลเลยทีเดียว เพราะนอกจากมันจะเป็น กลยุทธ์ทางการตลาด แล้ว สโลแกนยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสื่อสารเรื่องราวของธุรกิจคุณ ไปสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อีกด้วย
สโลแกนที่ดี จะช่วยให้ลูกค้าสามารถจดจำผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณได้ทันที อีกทั้งยังจดจำได้ง่ายกว่า ข้อความบรรยายสรรพคุณของสินค้านั้นๆอีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรสร้างสรรค์ สโลแกนสินค้า ของตนเอง ให้มีจุดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความแตกต่าง ติดหู ติดปาก ผู้บริโภคให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ก่อนที่เราจะพูดถึงเรื่องของ เทคนิคในการตั้งสโลแกนที่ดี ลองมาทำความเข้าใจกันก่อน ว่า สโลแกน คือ อะไร และ มีข้อดีอย่างไร
สโลแกน คือ คำพูดคำคม หรือ ข้อความสั้นๆ ที่จูงใจ และ บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า ไม่ว่าจะเป็น จุดเด่น ข้อมูล หรือ คุณลักษณะต่างๆ เพื่อให้ผู้รับสาร ผู้ชม หรือ ผู้ฟัง สามารถจดจำสินค้าได้ง่ายขึ้น
โดยที่สโลแกนมีข้อดี ดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจดจำสินค้าได้ง่ายในระยะเวลาที่จำกัด
2. ช่วยตอกย้ำจุดขายหรือจุดเด่นของสินค้า ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ทันทีว่าผลิตภัณฑ์ของคุณมีจุดเด่นในเรื่องอะไร
3. ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
4. ช่วยประหยัดค่าโฆษณาและค่าเสียเวลาลงไปได้เพราะผู้บริโภคสามารถจดจำผลิตภัณฑ์ได้ของเรา แบรนด์ของเราได้
5. ช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าของเราให้เพิ่มมากขึ้น
6. สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขวางกว่าการโฆษณา
สำหรับ เทคนิคในการตั้งสโลแกนให้ฟังดูน่าสนใจ และ น่าจดจำ ควรทำดังนี้
1. สั้น กระชับ ได้ใจความ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย และ ไม่ควรยาวมากเกินไป
คุณจะมีเวลาในการ ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ได้ในระยะเวลาที่สั้นและจำกัด ถ้ามาเป็นประโยคหรือบทความยิ่งยาวมากผู้รับสาร ผู้ชม ผู้ฟัง ก็จะยิ่งจดจำได้น้อยลง และ ในที่สุดก็จะไม่มีใครจำได้ ลืมกันหมด ดังนั้น เพื่อให้ลูกค้า หรือ ผู้บริโภคสามารถจดจำได้ง่ายๆ และ แค่พอได้ยินปุ๊บ ก็สามารถพูดตามได้ในทันที
คุณจึงควรให้ความสำคัญกับคิดสรรหาคำเพื่อทำให้มัน สั้น กระชับ แต่ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อทั้งหมด โดยถ้าเป็นไปได้ความยาวแค่ 2 พยางค์ได้ยิ่งดี เพราะนี่คือตัวเลขจำนวนที่ผู้รับสาร จะสามารถจดจำได้ดีที่สุด ตัวอย่าง เช่น
กรุงศรีฯ อยู่นี่นะ
แลคตาซอย 5 บาท
คิดจะพักคิดถึง คิทแคท
หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา เซเว่นอีเลฟเว่น
มิสทีน มาแล้วค่ะ
การบินไทย รักคุณเท่าฟ้า
เบอร์ดี้ หนึ่งในใจคุณ
ฟูจิ สั่งเลยอร่อยทุกอย่าง
แป๊บซี่ เต็มที่กับชีวิต
ดื่มวีต้า แล้วไปนอนซะ
อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้ามี ปาปริก้า
คิดถึง สีฟ้า เวลาหิว เป็นต้น
ซึ่งสโลแกนเหล่านี้ สามารถดึงดูดใจผู้รับสารได้เป็นอย่างดี ทั้งยังทำให้เกิดการจดจำง่าย และ รู้ได้ทันทีว่ามัน เป็น ผลิตภัณฑ์อะไร ของใคร
2. เฉพาะเจาะจง และ สื่อความหมายได้ทันที
สโลแกนต้องสามารถบอกผู้ฟังได้อย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นธุรกิจอะไร หรือ มีอะไรที่แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร และ ไม่มีใครเหมือน ดังนั้นจะต้องให้เกิดการใช้สโลแกนซ้ำ หรือ ใกล้เคียง คล้ายคลึง กับสินค้าประเภทเดียวกัน ของแบรนด์อื่นๆ เพราะ นั่นจะยิ่งทำให้ผู้บริโภคสับสน และ ทำให้ไม่สามารถแยกแยะสินค้านั้นออกมาได้
และที่สำคัญไม่แพ้กันอีกประการหนึ่ง เพื่อที่จะได้ช่วยให้คุณประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสื่อสารกับผู้บริโภค ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งที่จะไม่ใช้สโลแกนที่มีความยาว ความหมายกว้าง จนเกินไปจนผู้รับสารไม่สามารถรับรู้ได้ว่า คุณกำลังพูดถึงสินค้าอะไร ยี่ห้ออะไร สโลแกนที่ดีต้องน่าดึงดูด รวมทั้ง สามารถแสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของตนเองออกมาได้เป็นอย่างดีตัวอย่าง เช่น
ยาดมตราโป๊ยเซียน ใช้ดมใช้ทาในหลอดเดียวกัน
m&m ละลายในปากแต่ไม่ละลายในมือ
โก๋แก่ มันทุกเม็ด
ทุกหยดซ่า โซดาสิงห์
คิดจะดื่มน้ำดื่ม คริสตัล
โอริโอ้ บิดชิมครีมจุ่มนม
แอร์เอเชีย ใครๆก็บินได้
มายมิ้นท์ พูดแล้วหอม
ชุดเครื่องนอนโตโต้ สัมผัสใหม่แห่งการนอน
ยาหม่องตราถ้วยทอง มิตรคู่เรือนเพื่อนคู่ตัว เป็นต้น
3. เมื่อมีการรับสารแล้วควรเกิดความรู้สึกด้านบวก หรือ ความรู้สึกดีต่อ แบรนด์สินค้า
ความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราซื้อและบริโภคสินค้าด้วยอารมณ์มากกว่า แล้วค่อยคิดหาเหตุผลเพื่อมาแก้ต่างให้ตัวเอง ดังนั้น สโลแกนต้องสามารถทำให้เกิดความรู้สึก เชื่อถือ รู้สึกเหมือนเป็นคนสำคัญ และ อยากเข้าไปใช้บริการ หรือ ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นๆ ตัวอย่าง เช่น
Toshiba นำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต
s&p ชื่อนี้มีแต่ความผูกพัน
Salt เค็มแต่ดี
MK ช่วงเวลาแห่งความอบอุ่น
ฮานามิ ข้าวเกรียบรวยเพื่อน
สแน็คแจ๊ค ขนมของคนดี
ธนาคารกสิกรไทยบริการทุกระดับประทับใจ
ลอรีอัลปารีส คุณค่าที่คุณคู่ควร
คุ้มค่าทุกนาทีดูทีวีสีช่อง 3
ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ
เดอะมอลล์ อาณาจักรแห่งความสุขทุกครอบครัว
เราใส่ใจคุณ ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส
ลักกี้เฟรม จุดประกายความสุขทุกครัวเรือน
สำนึกดี สังคมดี รีเจนซี่บรั่นดีไทย
Swensen’s ความสุขไม่มีวันละลาย เป็นต้น
4. โน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคฟังแล้วรู้สึกว่าอยากซื้อสินค้า หรือ ใช้บริการได้ ทันที
การโน้มน้าวใจลูกค้า อย่างเช่น การเน้นไปทางความคุ้มค่า หรือ ความสามารถของสินค้าที่บริษัทอื่นๆไม่สามารถทำได้ หรือ ที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Unique Selling Point (USP) ตัวอย่าง เช่น
ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี มั่นใจได้ คัดให้แต่สิ่งดีๆ
คุ้ม ครบ เพื่อคุณ ท็อปส์
ใครไม่คัด เราคัด ของ ฟิชโช่
ฟาร์มเฮ้าส์ หอมกรุ่นจากเตาทุกวัน
ถุงเท้าคาร์สัน ฟอร์มดีไม่มีย้วย
ปูนอินทรี ปูนดีได้ดั่งใจ เป็นตน
5. เจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมายโดยตรง
เพื่อ ให้ผู้คนจดจำได้ง่ายขึ้น ว่า บริษัทของคุณ เน้นขายสินค้าอะไร เน้นขายสินค้าให้ใคร และ เพศอะไร สโลแกนของผลิตภัณฑ์ที่เน้นขายให้กับเพศชาย ตัวอย่าง เช่น
mansome ปลุกความเป็นชายในตัวคุณ
Jpress สบายหนุ่ม
Arrow เอกลักษณ์เฉพาะเอกบุรุษ
หรือ จะเป็นสโลแกนของผลิตภัณฑ์ที่เน้นขายให้กับเพศหญิง เช่น
สวยที่สุดจากข้างใน วาโก้ เป็นต้น
ข้อควรระวังในการตั้งสโลแกน
ถึงแม้ว่าคุณเองจะอยากให้สโลแกนของคุณโดดเด่นมากแค่ไหนก็ตาม แต่คุณไม่ควรใช้ภาษาวิบัติ หรือ คิดค้นภาษาขึ้นมาเองจนทำให้คนฟัง งง เพราะ ผู้รับสารแต่ละคนจะมีความสามารถในการตีความ และ การรับสื่อแตกต่างกันไป
ซึ่งยิ่งถ้าเป็นภาษาวัยรุ่น หรือ เป็นคำศัพท์ใหม่มากๆ แล้วสินค้าของคุณไม่ใช่กลุ่มนั้น อาจจะทำให้ สิ่งที่คุณต้องการอยากจะสื่อสาร กับ ลูกค้าหรือผู้บริโภคเกิดความคลาดเคลื่อน หรือ เกิดการเข้าใจผิดได้
ดังนั้นการใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม และ ถูกต้องตามหลักภาษา ย่อมดีกว่าแน่นอน หมายความรวมไปถึงการเขียน คําขวัญด้านคุณภาพโรงงาน หรือ คําขวัญคุณภาพ โรงงาน ด้วย
ข้อควรรู้ ก่อนตั้งสโลแกน
1. จากผลสำรวจ คนส่วนใหญ่มักจะชอบสโลแกนที่ไม่มีชื่อแบรนด์พ่วงเข้าไปด้วยมากกว่า
2. สโลแกนที่ทำเป็นเพลงและใส่เสียงดนตรีเข้าไปจะทำให้ผู้คนจดจำดีมากขึ้น
3. สโลแกนที่มีการเน้นย้ำบ่อยๆ จะทำให้ผู้คนจดจำได้ดีขึ้น
แน่นอนว่าการคิดตั้งสโลแกนให้ติดหูผู้บริโภคนั้นย่อมไม่ง่าย ไม่ใช่เรื่องที่ใครๆสามารถทำได้ดีในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่สโลแกนที่ดีและฟังลื่นหู จะช่วยให้ธุรกิจ และการค้าขายของคุณทั้งในรูปแบบปกติ และการขายแบบออนไลน์ที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง
ดังนั้น คุณในฐานะเจ้าของธุรกิจ จึงควรศึกษาข้อมูลจาก สโลแกนของสินค้า แบรนด์อื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ในเวลาเวลาอันรวดเร็ว แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงลึกดูก่อนว่า พวกเขามีกลยุทธ์การตลาด หรือ เทคนิควิธีอย่างไร แล้วค่อยนำมาประยุกต์ปรับใช้ให้เข้ากับแบรนด์ของคุณ
พร้อมกับ คุณสามารถที่จะนำเทคนิคในบทความนี้ เพื่อนำไปพัฒนาให้สโลแกนของคุณจดจำได้ง่าย น่าดึงดูดใจ และเป็นที่ชื่นชอบต่อลูกค้าของคุณ รวมทั้ง ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณด้วย
และนี่ก็คือ ความสำคัญในการตั้งสโลแกน ที่เราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับท่านผู้ประกอบการไม่มากก็น้อย หากคุณยังมีข้อสงสัย หรือ ต้องการปรึกษา พูดคุย เรื่องกลยุทธ์การตลาด สามารถ ทักไลน์มาได้โดยตรง ที่ Line ID: @brandingchamp (*** ไม่รับตั้งสโลแกนให้นะครับ )
นี่ไง เจอแล้ว
ยินดีครับ
อ่านง่ายดี
ขอบคุณครับ
Slogan is the great direction of company
Thanks Lucas. BTW, are you reading Thai?
Zilingo กล้าที่จะแต่งกล้าที่จะต่าง
ใช่ครับ นี่ก็ สโลแกน
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
ครับ
ถ้าไม่มีลูกค้า ก็ไม่มีเซเว่น ใช่สโลแกนไหมคะ(ถามเพื่อความรู้หน่อยค้าบ)
พอได้นะครับ แต่อาจจะเอาเชื่อมที่ไม่จำเป็นออก (เช่น ที่, ซึ่ง, ก็, …)
แต่เนื้อหาความหมายในสโลแกนนี้ อาจจะกำกวมไปนิดนึง
ได้ไอเดียเยอะเลยค่ะ
ดีใจที่เนื้อหาเป็นประโยชน์ครับ