โมเดล ธุรกิจ ( business model ) คือ การทำกำไรจากการเติบโตและขยายตัวได้ ของ สินค้า/บริการ
โมเดล ธุรกิจ ( business model ) คือ การทำกำไรจากการเติบโตและขยายตัวได้ ของ สินค้า/บริการ
โมเดล ธุรกิจ
โมเดล ธุรกิจ ของคุณจำเป็นต้องถูกบ่มเพาะและขัดเกลาอยู่เสมอ เพราะการเติบโตของธุรกิจไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มัน คือ ผลจากการทำงานร่วมกันอย่างแข็งขัน ถึงเวลาแล้ว ที่คุณจะต้องสังเกตว่า ลูกค้าจ่ายเงินให้คุณมากน้อยแค่ไหน? ลูกค้าจะใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณต่อหรือไม่? ลูกค้าใช้แล้วบอกหรือเปล่า? คุณต้องตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกค้าพูด แล้วเก็บมาคิด วิเคราะห์ ว่า คุณควรทุ่มธุรกิจนี้ต่อหรือไม่ และถ้า “ใช่” โมเดล ธุรกิจ ( business model ) ของคุณ คือ อะไร?
คุณต้อง ปั้นธุรกิจให้ทำกำไร ให้คุณด้วย สิ่งนี้ คือ เรื่องพื้นฐานการทำธุรกิจไม่อย่างนั้นคงไปไหนไม่ได้ไกลนัก คุณจำเป็นต้องใช้เวลากับเรื่องนี้อย่างจริงจัง การมี สินค้า/บริการ และลูกค้าก็ดีอยู่ แต่ไม่ว่าธุรกิจไหนก็เติบโตหรืออยู่ไม่ได้ ถ้ามันไม่ทำกำไร หลังจากเวลาผ่านไป ไอเดียเจ๋งๆ และการมีลูกค้าตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัว ไม่ได้การันตีว่า ธุรกิจจะเติบโต หรือ อยู่รอด
เพื่อให้ ธุรกิจส่วนตัว ของคุณเติบโต อย่างต่อเนื่อง คุณต้องมี โมเดลธุรกิจที่สมบูรณ์ลงตัว เหตุผลที่เรื่องนี้ตามติด ต่อจากเรื่องการเปิดตัวธุรกิจ เพราะ โมเดล ธุรกิจ ของคุณควรปรับปรุงมาจากสิ่งที่ลูกค้าติชม ตัวอย่างเช่น ธุรกิจบริการ ประเภทคิดค่าบริการต่อเนื่อง อาจต้องเปลี่ยนแผนในภายหลัง เพราะลูกค้าไม่อยากจ่ายค่าบริการซ้ำๆให้กับบางบริการของคุณ
เมื่อคุณรับมือกับข้อเสนอแนะของลูกค้าตรงจุดนี้ได้แล้ว คุณก็สามารถวางแผนให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ การหาลูกค้าคนแรกให้ได้โดยเร็วก็มีความสำคัญมาก และยากมากอยู่แล้ว แต่คุณหยุดแค่ตรงนั้นไม่ได้ บางธุรกิจนั้นไม่สามารถขยายตัวได้ ส่วนอีกพวกหนึ่งก็การันตีการขยายตัวได้แน่ ราวกับมียีนการเติบโตฝังอยู่ในดีเอ็นเอของธุรกิจ
ถ้าทำธุรกิจที่เติบโตไม่ได้ ไม่สามารถขยายตัว ก็ไม่สามารถเดินหน้าต่อและ
ทำกำไรให้คุณได้ คุณอาจตกใจ ถ้ารู้ว่ามีธุรกิจจำนวนมาก ไม่ทำกำไร มันเป็นผลจาก โมเดล ธุรกิจ ที่ผิด ธุรกิจเลยไม่เติบโต ตัวเลขต่างๆทางบัญชี ก็ไม่เคยถึงเป้า
มาดู ตัวอย่าง โมเดลธุรกิจ business model ที่เติบโตยากและไม่ขยายตัว กันว่าเป็นยังไง ( ตัวอย่างโมเดลธุรกิจ ดิจิทัลเอเจนซี่ แห่งหนึ่ง )
1. ต้องหาลูกค้าให้ได้มากขึ้น เอเจนซี่นี้มักจะได้ลูกค้าจากการพบปะกันตัวต่อตัวและจากคอนเทนต์ จึงต้องจ้างพนักงานขายและคนทำคอนเทนต์ แค่เงินที่ต้องจ่ายจ้าง 2 ตำแหน่งนี้ ก็ทำให้ไม่อาจเหลือกำไร การจ้างคนเพิ่มไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่
เกิดขึ้นในทุกระยะของธุรกิจ
2. เพิ่มค่าบริการของงานแต่ละโปรเจกต์ให้สูงขึ้น ซึ่งมันก็อาจจะช่วยในเรื่องของกำไรในระยะสั้นๆ แต่มันยากที่ธุรกิจจะขยายตัวได้ถ้าต้นทุนในการสร้างสรรค์งาน หรือ การสร้างผลิตภัณฑ์สูง ผลิตออกมาได้น้อย ธุรกิจคงต้องเน้นไปที่พนักงานขาย เทคนิคการขายเป็นพิเศษ และ อาจต้องใช้พนักงานขายเพิ่ม ซึ่งหมายความว่ากำไรจะหดลงแน่นอน
3. ถ้ามีลูกค้าเยอะ เจ้าของอาจจะไม่สามารถทำคนเดียวได้อีกต่อไป ต้องจ้างคนมาช่วยบริหารแทน ลูกค้าคุ้นเคยกับบริการตัวต่อตัว ได้พูดคุยกับคนคุ้นเคย ฉะนั้นคนที่ต้องจ้างก็ต้องอยู่ประจำ ซึ่งเสี่ยงมากๆถ้ามีการลาออก และอย่างที่บอก การจ้างคนทำให้อัตรากำไรลดลง และ ทีนี้จะจ้างต่อไปก็ไม่ได้
4. ต้องจัดการกับจำนวนงานที่เยอะขึ้นและงานก็ซับซ้อนมากขึ้น ดิจิทัลเอเจนซี่นี้มีคนทำคอนเทนต์ โปรแกรมเมอร์ นักออกแบบ ผู้จัดการโปรเจกต์ และ คนพัฒนาเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนกูเกิ้ล (SEO Search Engine Optimization) เจ้าของเองก็อาจจะต้องทำงานเองด้วย เช่น เขียนคำโฆษณา ดูแลการซื้อ การตอบอีเมล การเข้าชมเว็บไซต์ และอื่นๆ
บางงานสามารถเอ้าท์ซอร์ส Outsource (ทำสัญญาจ้างเป็นจ็อบๆ) ได้โดยที่ค่าจ้างไม่สูง แต่บางงานก็ทำแบบนั้นไม่ได้ บางทีก็จะต้องใช้ความสามารถของผู้จัดการโปรเจกต์หลายคน ซึ่งถ้าจะจ้างคนในตำแหน่งนี้เพิ่ม บริษัทเองคงไม่มีเงินพอที่จะจ่ายและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้คงทำให้ธุรกิจไม่เหลือกำไร
ประเด็นปัญหาพวกนี้ ไม่ว่าจะเดินไปถึงจุดไหน พยายามทำทุกวิธีที่คิดหาทางออก แต่ธุรกิจก็ทำกำไรไม่ได้ ถ้ารายได้สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายและความเครียดก็จะสูงตาม โดยที่กำไรคงที่ไม่ขยับไปไหน สุดท้ายคงต้องโยนธุรกิจนี้ทิ้งไป แล้วเริ่มใหม่หมด
ดังนั้น รูปแบบโมเดลธุรกิจ (Type of business model) และ สิ่งที่คุณจะสร้างนั้น ส่งผลกระทบถึงความเป็นไปได้ที่จะเติบโตของธุรกิจนั้นโดยตรง จงสร้าง โมเดลธุรกิจ ที่เติบโตได้และขยายตัวได้ราวกับอยู่ในดีเอ็นเอ
5 เกณฑ์มาตรฐานใน โมเดลธุรกิจ business model ที่ขยายตัวและเติบโตได้ดี
1. ตลาดที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ (Big Enough Market Size)
การขายสินค้าหรือให้บริการให้กับคนกลุ่มเล็กๆเฉพาะเจาะจง (niche) ก็ดี แต่ถ้าอยากรู้สึกมั่นใจ ว่า ธุรกิจที่ทำอยู่จะกลายเป็น ธุรกิจมูลค่า 10 ล้านบาท (หรือมากกว่านั้น) ในเวลา 2 – 3 ปี ต้องคิดถึงตลาดที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ ถ้าคุณอยากทำธุรกิจที่เติบโตได้ ธุรกิจนั้นจะต้องมีที่ให้มันขยายตัว ข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขัดเกลาโมเดลธุรกิจ ดูให้ดีว่าตลาดที่คุณเลือกมีศักยภาพมากพอที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างต่อเนื่อง
2. อัตรากำไร (Profit rate)
ลองคิดดูว่าธุรกิจของคุณมีอัตรากำไรเท่าไร อย่างน้อยก็คาดคะเนตัวเลขไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่นๆ จินตนาการคร่าวๆว่า ถ้าคุณไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ และคนที่
จัดการทุกอย่างคือ ทีมงานทีมหนึ่ง หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ คุณคิดว่าธุรกิจต้อง
ใช้ทุนเท่าไหร่เพื่อรักษาลูกค้าและจะทำเงินได้เท่าไหร่ เปอร์เซ็นต์อัตรากำไร ( % of profit rate) ต้องออกมาน่าพอใจ
แต่ตัวเลขนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ยังไงก็ตามคุณต้องทำเงินให้ได้มากกว่าต้นทุนที่ใช้ในการผลิตหรือบริการลูกค้าแต่ละคน สำหรับ สตาร์ทอัพประเภทบริการ ตัวเลขอัตรากำไรที่นำพอใจ ควรจะต้องมี 50% ขึ้นไป หมายความว่า ครึ่งหนึ่งของเงินที่
ทำได้ต้องเท่ากับต้นทุน และอีกครึ่งหนึ่งคือ กำไร
ถ้าต้องใช้เงิน 50,000 บาทต่อเดือนเพื่อบริการลูกค้าหนึ่งโปรเจค ค่าบริการควรเท่ากับ 100,000 บาท
นี่คือตัวเลขคร่าวๆ แต่จากที่เห็นโดยทั่วไป สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก อัตรากำไรของอาจจะไม่สูงถึง 50% ต้องลองปรับบริการใหม่ หรือ ลองเลือกที่จะเสนอเฉพาะสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจของคุณทำได้ยอดเยี่ยม วิธีนี้จะช่วยให้มีอัตรากำไรอยู่ที่ประมาณ 50% ได้อย่างน่าพอใจ คุณอาจจะทำไม่ตามนี้ก็ได้ อาจจะเพิ่มค่าสินค้า/บริการให้สูงขึ้น แต่ต้องระวังเพราะการคิดค่าสินค้า/บริการสูงๆ มันก็เหมือนกับการพักภาระ หรือ ลดต้นทุน คุณอาจจะทำไปได้ซักพักหนึ่งเท่านั้น ถ้าอัตรากำไรสมเหตุสมผลอยู่แล้ว ก็ไม่ควรขึ้นราคาเพื่อจะได้รักษาลูกค้าไว้ ถ้าธุรกิจของคุณอยู่ในตลาดขนาดใหญ่ วิธีนี้จะทำให้ธรุกิจเติบโตได้ดี
3. การสร้างสินทรัพย์ (ACQUISITION OF ASSET)
เว็บไซต์และลูกค้าแบบจ่ายประจำเป็นสินทรัพย์ที่โยกย้ายได้
ดังนั้นจงคิดเสมอว่าตอนที่คุณได้ลูกค้าใหม่เข้ามา คุณกำลังสร้างสินทรัพย์อยู่หรือเปล่า
มี สินทรัพย์ (Asset) อะไรบ้างที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติขณะที่คุณกำลังทำ
ธุรกิจ สินทรัพย์นั้นจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตและทำให้ธุรกิจมี “มูลค่า” เวลาที่คุณคิดจะขายหรือเปล่า ทรัพย์สินทางปัญญา ถือเป็นตัวอย่างสินทรัพย์ที่ดี แต่ก็ไม่ใช่ทุกธุรกิจ
ที่จะมีสิ่งนี้
วันนี้…คุณกำลังทำสิ่งที่ช่วยให้ ธุรกิจอยู่รอด ได้ใน…วันพรุ่งนี้ อยู่หรือเปล่า?
4. รายรับต่อเดือน (Monthly Income)
การมี “วิธีคำนวณรายรับต่อเดือน” ที่ไม่ยุ่งยาก จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น และประโยชน์ที่ตามมา ได้แก่ รายรับที่สามารถคาดการณ์ได้ ตัวชี้วัดที่เข้าใจง่าย ติดตามการเติบโตได้สะดวก ระดมทุนได้ง่าย ขยายธุรกิจได้ดี และ ยิ่งจะทำให้มีแรงจูงใจในการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง คุณสามารถทำบัญชีอัพเดตรายรับต่อเดือนได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากนักบัญชี
สำหรับธรุกิจประเภทคิดค่าบริการรายเดือน ช่วงที่โหดร้าย คือ ช่วงที่ธุรกิจโตช้า ธุรกิจประเภทนี้ไม่ค่อยมีช่วงขาขึ้นแบบสุดๆ หรือ ช่วงขาลงที่ซบเซาสุดขีด เหมือนธุรกิจประเภทอื่น คุณจะรู้สึกสนุกในการวางเป้ารายรับเดือนถัดไปให้สูงขึ้น โมเดลรายรับต่อเดือนที่ไม่ยุ่งยากนั้น มีคุณสมบัติที่ดีต่อการเติบโต แค่ทำให้จำนวนคนที่สมัครสมาชิกใหม่มากกว่าจำนวนคนที่ยกเลิกบริการ ธุรกิจของคุณก็จะโตเอง
โมเดลจ่ายประจำนี้ อาจไม่เหมาะกับธุรกิจ สินค้า/บริการ ทุกชนิด ฉะนั้นคุณอาจจะลองคิดถึงวิธีอื่นๆ ที่จะทำให้คุณมีรายรับที่คาดการณ์ได้ง่ายและชัดเจนหรือง่ายกว่านั้น ลองคิดเรื่องการเพิ่มบริการแบบจ่ายประจำในธุรกิจของคุณดู บริการแบบนี้ อาจจะทำให้จำนวนลูกค้าลดลง แต่ในทางกลับกัน ลูกค้าที่เข้ามาซื้อแบบครั้งเดียวจบนั้นไม่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาวแน่นอน คุณอาจจะไม่ต้องการลูกค้าประเภทนี้มากขนาดนั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณคิดว่าบริการจ่ายประจำไม่น่าจะได้ผลสำหรับธุรกิจคุณ ก็ไม่เป็นไร คุณยังมีงานอื่นๆเหลืออีกเป็นตั้ง แต่ยังไงก็ตามจงกลับมาสนใจเรื่อง
การทำให้รายได้ของคุณคาดการณ์ได้ดีกว่า
5. โมเดลธุรกิจ ต้อง “ง่าย” (Simple Business Model)
การมีสินค้าหรือบริการที่เรียบง่าย หรือ มีข้อเสนอทางธุรกิจที่เรียบง่าย จะทำให้อย่างอื่นง่ายไปหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโน้มน้าวใจคนในเวลาสั้นๆ การติดตามและมีวิธีวัดผลการเติบโตของธุรกิจ การจ้างพนักงาน ยิ่งโมเดลของคุณซับซ้อน การติดตามผลก็จะยิ่งยาก และถ้าคุณไม่สามารถวัดผลได้ คุณก็ไม่สามารถบริหารได้ และ คุณก็จะไม่รู้ว่าการเติบโตเป็นยังไงได้เลย ธุรกิจที่มีสินค้าชิ้นเดียวอย่าง บางครั้ง มีโอกาสเติบโตสูงมาก ถ้าคุณต้องการ โมเดลธุรกิจที่ขยายตัวได้ คุณควรทุ่มให้กับสินค้าชิ้นเดียวมากกว่า 50 ชิ้น จงโฟกัสการทำธุรกิจให้มีกำไร อย่าวอกแวก
ส่งท้ายเรื่องของ โมเดล ธุรกิจ ( business model ) คือ การทำกำไรจากการเติบโตและขยายตัวได้ ของ สินค้า/บริการ คุณสามารถแสดงความคิดเห็นไว้ด้วยการคอมเมนต์ด้านล่างนี้ หรือ ไลน์มาพูดคุยกันได้ที่ ไลน์ไอดี @brandingchamp